เทคนิคการหาเสียงเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตัวแทนคณาจารย์


 

          ผมได้แนวความคิดนี้จากการเสวนาในหลักสูตร ธรรมาภิบาลอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑๘ (UGP18) เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค. ๕๗   

          ประเด็นของการเสวนาแบบเปิดใจ มาอยู่ที่ประเด็นการทำหน้าที่กรรมการสภาในฐานะตัวแทนคณาจารย์    จะเสนอข้อคิดเห็นตามความต้องการของกลุ่มคนที่ตนเป็นตัวแทน   หรือตามเหตุตามผล หรือสามัญสำนึก ที่ตนเห็นว่าถูกต้อง     ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีคำตอบที่ถูก หรือผิด อย่างตรงไปตรงมา

          ผมชอบใจคำตอบของ ผศ. รัตนฤทธิ์ จันทรรังสี กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี จากคณาจารย์และข้าราชการ    ที่บอกว่า ตอนหาเสียงตนประกาศชัดเจน ว่าไม่เป็นฝ่ายค้าน    จะสนองความต้องการของคณาจารย์และข้าราชการไม่ทุกเรื่อง    จะเน้นทำงานเพื่อประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก    ซึ่งผมตีความว่า เป็นการประกาศว่า ตนจะทำหน้าที่กรรมการสภาฯ อย่างเป็นตัวของตัวเอง

          เมื่อหาเสียงแบบนี้แล้ว    หากได้รับเลือก ก็สบายใจได้ว่า สามารถแสดงความเห็นตามข้อมูล เหตุผล และสามัญสำนึกของตนได้เต็มที่    ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องของคณาจารย์และข้าราชการ  

          ผมบอกที่ประชุมว่า ตามหลักการทำหน้าที่ บอร์ด นั้น    ไม่ว่าสมาชิก บอร์ด จะมาจากทางใด    เมื่อมาทำหน้าที่บอร์ด ต้องทำเพื่อประโยชน์ขององค์กรในภาพรวม    ไม่ใช่มารักษาผลประโยชน์ ส่วนกลุ่มที่เลือกตนเข้าไป

          วิธีการหาเสียงของ ผศ. รัตนฤทธิ์  จึงจะช่วยให้ท่านทำหน้าที่ตามหลักการเป็นสมาชิก บอร์ด ได้อย่างสบายใจ

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ม.ค. ๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 561326เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท