รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง ประสบการณ์ความขัดแย้งของคู่สมรสในเขตกรุงเทพมหานคร


 

คำถามการวิจัย

                  คำถามการวิจัยหลัก

                  เพื่อบรรยายและอธิบายประสบการณ์ความขัดแย้งของคู่สมรส  ในเขตกรุงเทพมหานคร

              คำถามการวิจัยรอง

                   1.  คู่สมรสให้ความหมายของความขัดแย้งในการใช้ชีวิตสมรสไว้อย่างไร

                   2.   เงื่อนไขอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของคู่สมรส

                   3.   คู่สมรสรับรู้ลักษณะของความขัดแย้งของคู่สมรสไว้อย่างไร

                   4.   ความขัดแย้งของคู่สมรสในแต่ละเรื่องราวมันจบลงอย่างไร

 

ขอบเขตของการศึกษา

                    การศึกษาครั้งนี้ยึดหลักการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา(Empirical Phenomenology) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เจาะลึกและถูกต้อง  สามารถเข้าใจข้อมูลได้ครอบคลุม  ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นสามี หรือภรรยา ที่อยู่กินกันมาตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป  ซึ่งผู้ให้ข้อมูลที่มีสถานภาพเป็นภรรยา จำนวน 2  คน  มีอาชีพแม่บ้าน (ทำความสะอาด)  และมีสถานภาพเป็นสามี  จำนวน 1 คน  มีอาชีพพ่อบ้าน (เจ้าหน้าที่ดูแลโรงกีฬา) ทำการศึกษาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน ถึงปลายเดือนกันยายน พ.ศ.2551

                    โดยอาศัยการเป็นอาจารย์ในการทำงานที่เดียวกัน หรือความใกล้ชิดสนิทสนมกับกลุ่มตัวอย่างในการพักอาศัยคอนโดเดียวกัน  เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด  จากนั้นจึงใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview)  สัมภาษณ์จนกว่าจะได้ข้อมูลไม่เปลี่ยนแปลงจึงหยุดสัมภาษณ์  แล้วจึงอาศัยกรอบแนวความคิดการครองชีวิตคู่  ความขัดแย้งและการปรับตัว  และทฤษฎีการปฏิสังสรรค์มาวิเคราะห์และตีความข้อมูล

 

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในระดับจุลภาค หรือข้อมูลในระดับบุคคลเป็นสำคัญ  โดยข้อมูลที่ได้เป็นมุมมองจากตัวสามี หรือภรรยาผู้ที่แสดงพฤติกรรมนั้นเองซึ่งเป็นการเปิดมุมมองใหม่  ดังนั้นงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชนต่อการทำความเข้าใจลักษณะของความขัดแย้งของสามี หรือภรรยาที่ใช้ชีวิตสมรส  และเป็นการหาทางแก้ไขหรือสามี หรือภรรยากลุ่มนี้อย่างตรงจุดเพื่อให้สถาบันครอบครัวมั่นคงและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป

นิยามศัพท์

              ประสบการณ์ความขัดแย้งของคู่สมรส   หมายถึง  กระบวนการทางความคิด หรือความรู้สึก หรือการแสดงออกที่เกี่ยวกับความขัดแย้งที่สามีและภรรยาเคยเผชิญ 

                  คู่สมรส   หมายถึง   ชายและหญิงที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือตามจารีตประเพณี  หรือตามพฤตินัย  มีความผูกพันกันและมีความสัมพันธ์ทางพฤตินัยในฐานะของคู่สมรส         

 

วิธีดำเนินการวิจัย

                  การศึกษาครั้งนี้ต้องการเข้าถึงความจริงทางสังคมในโลกเชิงประจักษ์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ความขัดแย้งในการใช้ชีวิตสมรสของสามีและภรรยา   จากมุมมองหรือประสบการณ์ของสามีและเหล่านั้นเอง   ซึ่งเป็นประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของบุคคล  และนักศึกษามีการตีความหมายจากสิ่งที่ประสบอย่างไร  อีกทั้งประสบการณ์ชนิดเดียวกันย่อมมีแก่นแท้ (essence)  ดังนั้นจึงเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงประจักษ์ (Empirical Phenomenology)  ซึ่ง Moustake & Clark.(1990)  กล่าวว่า เป็นการศึกษาแนวคิดและกระบวนการในด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  การสะท้อนความรู้สึก  ความคิด  และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา (ประสบการณ์ชีวิตกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน)  เพื่อการค้นหาพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาโดยตรง  และวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวของ Giorgi (1995.) 

ผลการศึกษา

                  ส่วนที่ ข้อมูลส่วนตัว

                        คู่ที่ 1   พี่ดา  อายุ  35 ปี  เพศหญิง อาชีพแม่บ้าน (ทำความสะอาด) สามีอายุ  36  ปี  แต่งงาน  16  ปี  มีลูกสาว 1 คน ลูกชาย 1 คน  

                   คู่ที่ 2   พี่ณี อายุ  46  ปี เพศหญิง อาชีพแม่บ้าน (ทำความสะอาด) สามีอายุ  55  ปี  แต่งงาน  22  ปี   มีลูกชาย 2 คน

                   คู่ที่ 3   พี่โชค อายุ 50 ปี  เพศชาย อาชีพเจ้าหน้าที่ดูแลโรงกีฬา  ภรรยาอายุ  43  ปี  แต่งงาน 25 ปี  มีลูกชาย  2  คน

              ส่วนที่ 2 ข้อมูลตอบคำถามการวิจัย

                   1.  สามีและภรรยาให้ความหมายของความขัดแย้งในการใช้ชีวิตสมรสคือ  การไม่เข้าใจกัน หรือคิดไม่ตรงกัน  หรือ การทำอะไรไม่ตรงตามความต้องการ  หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง

                   2    เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในการใช้ชีวิตสมรสของสามีและภรรยาได้แก่อะไร

                        2.1   เรื่องเงิน  ได้แก่  การดื่มสุรา  ครอบครัวเดิม

                        2.2   เรื่องความไม่ซื่อสัตย์  ได้แก่  การนอกใจ      การปิดบัง  การโกหก

                        2.3   เรื่องเวลา

                        2.4   เรื่องลูก

                        2.5   เรื่องครอบครัวเดิม

                   3   สามีและภรรยารับรู้ลักษณะของความขัดแย้งในการใช้ชีวิตสมรสคือ เป็นการเกิดขึ้นอย่างเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง  โดยเริ่มจากวงจร 1) ความขัดแย้ง  2) เกิดโมโห หรือโกรธ เกิดการตำหนิ   3) รู้สึกถูกรุกรานพยายามปกป้องตนเอง 4) ความไวในอารมณ์ และ 5) การโต้ตอบที่รุนแรงระหว่างกัน ได้แก่ การพูดที่ไม่ดีต่อกันการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม  การทำร้ายร่างกาย  

                   4.  ความขัดแย้งในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานของนักศึกษาในแต่ละเรื่องราวมันจบ

                        4.1   หลีกหนี

                        4.2   การร่วมมือกัน  หรือการปรับความเข้าใจ

                        4.3   การยอม                  

หมายเลขบันทึก: 561226เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

งานวิจัยนี้ทำเมื่อปี พ.ศ.2551 ทั้งนี้งานวิจัยนี้ค้นพบเกี่ยวกับ ความขัดแย้งลึกเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ด้วย แต่ด้วยความที่ยังอายุน้อยในตอนที่ศึกษา จึงไม่ได้รายงานผลในประเด็นนี้ สโคปของการวิจัย จึงรายงานเพียงเท่านี้

เรียนอาจารย์ งานวิจัย เรื่องครอบครัว เป็นเรื่องที่ผมสนใจ หาความรู้ เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือ พัฒนา ศพค.(ศูนย์พัฒนาครอบครัว)

จึงติดตามอ่านงานอาจารย์ เกือบทุกบันทึก

ด้วยความขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท