จะปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย ให้สำเร็จได้อย่างไร โดย อ.วันชัย พรหมภา


นายทุน เวลานี้ส่วนสำคัญนอกจากจะเป็นพลังการเมืองอิสระแล้ว ยังเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตย 2 องค์กร คือสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี ซึ่งหมายความว่าอำนาจอธิปไตยอยู่กับนายทุน อันเป็นหัวใจของระบอบเผด็จการ ผู้แทนของนายทุนคือพรรคการเมืองต่างๆ ที่กุมสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี แม้ว่าจะมีหลายพรรคหลายนโยบาย และมีพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน นโยบายพื้นฐานของพรรคเหล่านี้ก็ตรงกันทั้งสิ้น คือรักษาผลประโยชน์ของนายทุน ฉะนั้นถึงจะมีหลายพรรคก็เหมือนพรรคเดียว การแบ่งเป็นหลายพรรคและมีนโยบายปลีกย่อยแตกต่างกัน ก็เพราะนายทุนมีหลายพวกซึ่งมีผลประโยชน์รายละเอียดแตกต่างกันบ้าง แต่ละพวกจึงต้องตั้งพรรคขึ้นเป็นผู้แทนชิงผลประโยชน์ระหว่างกัน การต่อสู้ระหว่างพรรคต่างๆที่กุมองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยอยู่ ก็คือการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างนายทุนพวกต่างๆ กลุ่มต่างๆนั่นเอง นโยบายของพรรคการเมืองเหล่านั้นก็คือนโยบายของนายทุน ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วก็คือนโยบายกดขี่ขูดรีดประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ของนายทุนให้มากที่สุด กรรมกร เวลานี้เป็นพลังการเมืองอิสระเช่นเดียวกับนายทุน แต่ไม่มีส่วนในการกุมองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยทางคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร นอกจากทางวุฒิสภาเพียงเล็กน้อยในบางครั้ง โดยมีผู้แทนกรรมกรเป็นสมาชิกวุฒิสภาอยู่ไม่กี่คน เปรียบเทียบกันไม่ได้กับผู้แทนนายทุนในวุฒิสภา และเมื่อสมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่มีผู้แทนกรรมกรอีกเลย กลายเป็นสภาผัวสภาเมียของนายทุนฝ่ายเดียว ผูกขาดทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง นโยบายของกรรมกรตรงข้ามกับนโยบายของนายทุน คือแนวทางแก้ปัญหาของชาติของกรรมกรซึ่งกล่าวข้างต้นนั้น เป็นนโยบายรักษาผลประโยชน์ของกรรมกรและประชาชนทั่วไป ตลอดถึงประเทศชาติ จึงเป็นนโยบายประชาธิปไตยที่แท้จริง ถ้าการบริหารประเทศได้เป็นไปตามนโยบายของกรรมกรแล้ว การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยก็จะสำเร็จ ทหาร ไม่สามารถเป็นพลังการเมืองอิสระ เพราะทหารไม่ใช่กลุ่มคนที่ประกอบการผลิตในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ ผู้ประกอบการผลิตทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติคือ นายทุนและกรรมกร นายทุนประกอบการผลิตในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กรรมกรประกอบการผลิตในฐานะพลังผลิต ทหารไม่ได้เป็นทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิตและพลังผลิต จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการผลิตทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ ชนกลุ่มใดก็ตามที่ไม่เป็นผู้ประกอบการผลิตในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ เช่นนักวิชาการ นักศึกษา ข้าราชการ เป็นต้น ย่อมไม่สามารถเป็นพลังการเมืองอิสระในสังคมทุนนิยม ทหารเป็นกลุ่มชนประเภทหนึ่ง กลุ่มชนที่ไม่เป็นพลังการเมืองอิสระนั้น ย่อมไม่มีนโยบายของตนเอง หากแต่ต้องรับนโยบายของพลังการเมืองอิสระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะคือของนายทุนและกรรมกร กลุ่มอื่นๆ ถ้าไม่รับนโยบายของนายทุน ก็รับนโยบายของกรรมกร และนโยบายของกรรมกรนั้น นอกจากจะรักษาผลประโยชน์ของกรรมกรเองแล้ว ยังรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติพร้อมกันไปด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่า ในสภาพที่การรวมศูนย์ทุนขึ้นสู่ระดับสูง ทำให้การผูกขาดเป็นไปอย่างรุนแรง ประชาชนทั่วไปถูกกดขี่ทางการเมืองและถูกขูดรีดทางเศรษฐกิจจากนายทุนหนักขึ้น ทหารมีความเห็นใจประชาชนและห่วงใยต่อประเทศชาติมากขึ้น และเริ่มจะเห็นถึงความหายนะของชาติบ้านเมือง จึงยิ่งรับเอานโยบายของกรรมกร ซึ่งเป็นเพียงนโยบายเดียวที่จะรักษา ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติได้ดังนี้ ทหารส่วนใหญ่กระทั่งถึงระดับสูง จึงเปลี่ยนแปลงจากการอยู่ฝ่ายนายทุน มาเป็นอยู่ฝ่ายกรรมกรและประชาชน เปลี่ยนแปลงจากการสนับสนุนระบอบเผด็จการ มาสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย กองทัพมีนโยบาย 66/23 ซึ่งเป็นนโยบายประชาธิปไตย ที่โดยสาระสำคัญเป็นอย่างเดียวกับนโยบายกรรมกร เมื่อนำเอาชน 3 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันดังนี้แล้ว จะเห็นได้ว่านายทุนกับกรรมกรเท่านั้นเป็นพลังการเมืองอิสระ ซึ่งต่างฝ่ายมีนโยบายของตนเอง แต่เป็นนโยบายที่ตรงกันข้ามกัน คือนโยบายของนายทุนรักษาผลประโยชน์ของนายทุนนโยบายของกรรมกรรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและของประเทศชาติ นโยบายของนายทุนจึงเป็นนโยบายเผด็จการ นโยบายของกรรมกรเป็นนโยบายประชาธิปไตย นายทุนกับกรรมกรจึงขัดแย้งกันและต่อสู้กันด้วยนโยบายเผด็จการกับนโยบายประชาธิปไตยดังนี้ กระบวนการทางการเมืองทั้งหมด จึงหมุนไปรอบๆแกนของความขัดแย้ง และการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับกรรมกรดังนี้

เนื่องด้วย บ้านเมืองอันเป็นที่รักของเรา ซึ่งมีความร่มเย็นเป็นสุขมานานเกือบ 800 ปี แต่บัดนี้ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง นอกจากจะหาทางออกไม่ได้แล้ว การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน ยังส่งผลให้เพื่อนกรรมกรทั้งหลาย และพี่น้องประชาชนอันเป็นที่รัก เกิดความสับสนในปัญหา 2 ประการ คือ
1. คู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้ของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ อำมาตย์ใช่หรือไม่
2. การเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น เป็นทางออกของประเทศไทยใช่หรือไม่
ในสังคมทุนนิยม ไม่ว่าของประเทศใดๆ เมื่อจะหาคู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้กับกลุ่มทุนหรือนายทุน กล่าวโดยเฉพาะเราก็จะเห็นชนกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจนคือ “กรรมกร” กรรมกร คือคู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้โดยเฉพาะของทุนใน “สังคมทุนนิยม” ใครก็ตามที่ไปจับเอาชนกลุ่มอื่น มาเป็นคู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้ของนายทุนเป็นผู้ไม่เข้าใจสังคมทุนนิยม

นายทุนกับกรรมกร หรือทุนกับแรงงาน เป็นคู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้ในองค์เอกภาพของ “ ระบบทุนนิยม ” นายทุนกับกรรมกรแยกกันไม่ออก ถ้าไม่มีนายทุนก็จะไม่มีกรรมกร และถ้าไม่มีกรรมกรก็จะไม่มีนายทุน ในสังคมที่ไม่มีนายทุนคือ “ สังคมสังคมนิยม ” และในสังคมสังคมนิยมก็ไม่มีกรรมกร มีผู้เข้าใจผิดว่า ในสหรัฐอเมริกาและในสหภาพโซเวียตต่างก็มีกรรมกร ความจริงแล้วในสหรัฐมีกรรมกร ในสหภาพโซเวียตไม่มีกรรมกร เพราะในสหรัฐมีนายทุนจึงมีกรรมกร ในสหภาพโซเวียตไม่มีนายทุน จึงไม่มีกรรมกร ในสหรัฐอเมริกามีกรรมกร (LABOURER) ในสหภาพโซเวียตไม่มีกรรมกร มีแต่คนทำงาน ( WORKING PEOPLE) ในสังคมทุนนิยมมีนายทุนกับกรรมกร ในสังคมสังคมนิยม ไม่มีนายทุนและไม่มีกรรมกร มีแต่คนทำงาน 

บ้านเราเป็นสังคมทุนนิยม จึงมีนายทุนและกรรมกร เป็นเอกภาพอันอย่างแยกกันไม่ออก แต่ก็ขัดแย้งกันและต่อสู้กัน นี่คือข้อเท็จจริงที่เหมือนกันกับในประเทศทุนนิยมอื่นๆ 

ข้อเท็จจริงนี้สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ( INDUSTRIAL REVOLUTION ) ซึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษก่อนในปลายศตวรรษที่ 18 แล้วขยายไปสู่ภาคพื้นยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเครื่องจักรจากพลังงานธรรมชาติ คือแรงลมและแรงน้ำ มาเป็นพลังงานประดิษฐ์คิดค้นคือไอน้ำ ทำให้การผลิตทุนนิยมเปลี่ยนแปลงจากโรงงานหัตถกรรมเล็กๆ มาเป็นโรงงานสมัยใหม่ขนาดใหญ่ 

หัตถกรรมที่ทำงานกระจัดกระจายอยู่ในโรงงานหัตถกรรมค่อยๆเข้ามารวมกันอยู่ในโรงงานที่ใหญ่ขึ้นทุกที เกิดการก่อตัวขึ้นของคนชนิดใหม่ คือ กรรมกรสมัยใหม่ คู่กับ คนอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น คือ นายทุน ในขณะเดียวกันนายทุนก็เข้ากุมอำนาจการปกครองหรืออำนาจอธิปไตย แทนเจ้าศักดินาแห่งสมัยกลาง นั่นคือการสถาปนาขึ้นของ “ สังคมทุนนิยม ” ซึ่งค่อยๆขยายจากยุโรปมาสู่เอเชีย และทวีป อื่นรวมทั้งประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ ในสังคมทุนนิยมคู่ขัดแย้งของประชาชน คือ นายทุน ไม่ใช่ อำมาตย์

ประเทศทุนนิยมวิวัฒนาการจากด้อยพัฒนา ( UNDER DEVELOPED ) เป็นกำลังพัฒนา ( DEVELOPING ) และเป็นพัฒนา (DEVELOPED ) ในขณะที่ทุนนิยมยังอยู่ในภาวะด้อยพัฒนา การขูดรีดของนายทุนต่อกรรมกรเป็นไปอย่างหนักหน่วง นายทุนต้องการกำไรให้มากที่สุด กรรมกรต้องการมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น จึงเกิดการต่อสู้ระหว่างกรรมกรกับนายทุนในประเทศทุนนิยมต่างๆเรื่อยมา ยังผลให้ระบบทุนนิยมพัฒนาขึ้นโดยลำดับในทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยขึ้นโดยลำดับ ในทางเศรษฐกิจผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และการเฉลี่ยรายได้แห่งชาติเป็นธรรมขึ้นเป็นลำดับ ในประเทศที่ทุนนิยมพัฒนาถึงระดับสูงทั้งทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ มีการประกันสังคมมากขึ้น เรียกกันว่าเป็นรัฐสวัสดิการ กรรมกรมีความพอใจในสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานการครองชีพ การต่อสู้ระหว่างกรรมกรกับนายทุนจึงลดลง เช่นในประเทศต่างๆ ในสแกนดิเนเวีย

ในประเทศทุนนิยมที่ยังอยู่ในภาวะด้อยพัฒนา กรรมกรถูกขูดรีดและถูกกดขี่อย่างหนัก รายได้แห่งชาติไปกองอยู่กับนายทุนฝ่ายเดียว กรรมกรมีรายได้ไม่พอกิน และถูกตัดเสรีภาพอย่างรุนแรง จึงมีการต่อสู้มากระหว่างกรรมกรกับนายทุน ทั้งการต่อสู้ทางเศรษฐกิจและการต่อสู้ทางการเมือง

ในประเทศไทยแม้ว่าจะย่างเข้าสู่ระบบทุนนิยมมานานแล้ว แต่จนบัดนี้ก็ยังอยู่ในภาวะ ทุนนิยมด้อยพัฒนา และมีการรวมศูนย์ทุนในระดับสูง ทำให้เกิดการผูกขาดในระดับสูงทั้งในด้านเศรษฐกิจและทางการเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ของกรรมกรทั่วไปจึงทุกข์ยากมาก ประเทศไทยเป็นประเทศทุนนิยมด้อยพัฒนาเพียงใด อย่างน้อยจะเห็นได้จากการเป็นทุนนิยมที่ปราศจากการประกันสังคมอย่างเพียงพอ ซึ่งนับว่าหาได้ยากในบรรดาประเทศทุนนิยมด้อยพัฒนาด้วยกัน ประเทศไทยจึงมีเงื่อนไขของการต่อสู้ระหว่างกรรมกรกับนายทุนมาก และการต่อสู้จะมีมากขึ้นเรื่อยไปตามอัตราเพิ่มขึ้นของทุนผูกขาด โดยอาศัยพรรคการเมืองของนายทุนเป็นเครื่องมือสำคัญ

ในสภาวการณ์เช่นนี้ ไม่เพียงแต่กรรมกรเท่านั้นที่ถูกขูดรีดและกดขี่อย่างหนักจากนายทุนผูกขาด แต่ประชาชนทั่วไปก็ถูกขูดรีดและกดขี่อย่างหนักด้วย แม้แต่นายทุนเองเวลานี้ นายทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็ถูกนายทุนผูกขาดขูดรีดจนจะอยู่ไม่ไหวไปตามๆกัน กล่าวได้ว่าในปัจจุบันไม่มีกลุ่มชนิดใดๆในประเทศไทยที่จะไม่ถูกขูดรีดอย่างหนัก จากนายทุนผูกขาดหรือนายทุนใหญ่

ฉะนั้น ในสถานการณ์ทุนนิยม ปัจจุบันของไทย เมื่อกล่าวโดยเฉพาะแล้ว คู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้ก็เช่นเดียวกับในประเทศทุนนิยมอื่นๆ คือ นายทุนกับกรรมกร แต่ถ้ากล่าวโดยทั่วไป คู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้ ก็คือนายทุนกับประชาชน

ฉะนั้น ถ้าจะจัดคู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้ในประเทศไทยปัจจุบันให้ถูกต้อง จะต้องถือเอาระหว่าง นายทุนกับกรรมกรโดยเฉพาะ และระหว่างนายทุนกับประชาชน โดยทั่วไป

ทหารส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ในระดับเดียวกับประชาชนทั่วไป เพราะเขาตกอยู่ในภาวะถูกขูดรีด จากนายทุนใหญ่หรือนายทุนผูกขาดเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป เรารู้อยู่แล้วว่าข้าราชการส่วนใหญ่ทุกประเภทมีความเดือดร้อนอย่างไร ทหารก็เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง เขาจึงตกอยู่ในความเดือดร้อนเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น

แต่ถึงแม้ทหารจะถูกกระทบกระเทือนจากการขูดรีดของนายทุน ทหารก็ไม่ใช่กรรมกร ทหารเป็นส่วนหนึ่งของประชาชนที่เป็นคู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้โดยทั่วไปของนายทุน ซึ่งไม่อาจจะเปลี่ยนฐานะเป็นคู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้โดยเฉพาะของนายทุนแทนกรรมกรได้ กรรมกรย่อมเป็นคู่ขัดแย้งและต่อสู้ของนายทุนโดยเฉพาะเสมอไป เช่นเดียวกับชนประเภทอื่นที่ไม่ใช่กรรมกร เช่นชาวนา ปัญญาชน นายทุนขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งถูกกระทบกระเทือนจากการขูดรีดของนายทุนใหญ่หรือนายทุนผูกขาด เขามิใช่คู่ขัดแย้งหรือคู่ต่อสู้โดยเฉพาะของนายทุน กรรมกรเท่านั้นที่เป็นคู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้โดยเฉพาะของนายทุน เพราะนายทุนกับกรรมกรเป็นคู่กันที่แยกกันไม่ออกของการผลิตแบบทุนนิยม ถ้าแยกนายทุนกับกรรมกรออกจากกัน การผลิตแบบทุนนิยมก็มีไม่ได้และระบบทุนนิยมก็จะไม่มี

จึงเห็นได้ว่า การที่นักวิชาการไปจับเอาคนประเภทอื่นที่ไม่ใช่กรรมกร มาเป็นคู่ขัดแย้ง หรือคู่ต่อสู้กับนายทุน จึงผิดจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะไปจับเอาชาวนา จับเอาปัญญาชน จับเอาข้าราชการพลเรือน จับเอาตำรวจ จับเอาทหาร จับเอาคนจนประเภทใดประเภทหนึ่ง มาเป็นคู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้กับนายทุนโดยเฉพาะ ล้วนแต่ผิดจากความเป็นจริงทั้งสิ้น คู่ขัดแย้งและคู่ต่อสู้โดยเฉพาะของนายทุนคือกรรมกร คนประเภทอื่นเป็นเพียงผู้ร่วมกับกรรมกรในการขัดแย้งและต่อสู้กับนายทุนเท่านั้น ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในบรรดาประชาชนประเภทต่างๆ ที่ขัดแย้งและต่อสู้กับนายทุนนั้น มีกรรมกรเป็นหลัก คนประเภทอื่นเป็นผู้สนับสนุนกรรมกรในการขัดแย้งและต่อสู้กับนายทุน

เมื่อพูดถึงทหาร ถ้าเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตามธรรมดาย่อมอยู่ข้างนายทุน นายทหารระดับล่างและพลทหาร ซึ่งมีความเป็นอยู่เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป ย่อมอยู่ข้างกรรมกร แต่ในบางกรณีโดยเฉพาะในยุคสมัยที่ประชาชนถูกกดขี่ขูดรีดได้รับความทุกข์ยากอย่างหนัก แม้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ก็อาจเห็นใจประชาชน และหันมาอยู่ข้างประชาชนได้ ในกรณีเช่นนี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ก็อาจสนับสนุนประชาชนและกรรมกรในการต่อสู้กับนายทุน แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า ทหารเป็นหลักในการต่อสู้กับนายทุน ผู้เป็นหลักก็ยังคงเป็นกรรมกร

ในประเทศไทยที่แล้วมา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ส่วนมากอยู่ข้างนายทุน แต่ปัจจุบันมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เห็นใจประชาชนและกรรมกรมากขึ้น หันมาอยู่ข้างประชาชนต่อสู้กับนายทุน จนทำให้หลายคนจัดให้ทหารเป็นคู่ต่อสู้ของนายทุน ซึ่งความจริงแล้วกรรมกรยังคงเป็นคู่ต่อสู้ของนายทุนอยู่อย่างเดิม ทหารเหล่านั้นเป็นเพียงผู้สนับสนุนประชาชนและกรรมกร ในการต่อสู้กับนายทุนเท่านั้น

ในระยะแรกของการถือกำเนิดของกรรมกรสมัยใหม่ นายทุนยังมีความก้าวหน้า นายทุนจึงดำเนินการเพื่อระบอบประชาธิปไตย เช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยในอังกฤษ ปี 1648 การปฏิวัติประชาธิปไตยในอเมริกา ปี 1776 การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศส ปี 1789 และการปฏิวัติประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรปในช่วงกลางศตวรรษ ที่ 19 ในช่วงที่นายทุนมีความก้าวหน้าและสนับสนุน ระบอบประชาธิปไตยนั้น กรรมกรทั้งๆที่ต่อสู้ กับนายทุนก็สนับสนุนนายทุนในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยด้วย

แต่ต่อมานายทุนเริ่มล้าหลังและขัดขวางระบอบประชาธิปไตย กรรมกรจึงเข้ารับภาระเป็นหลักในการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย การที่ระบอบประชาธิปไตยในยุโรปและอเมริกาสถาปนาขึ้นสำเร็จ ก็เพราะมีกรรมกรเป็นหลักในการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย เช่นขบวนการ ชาร์ติสต์ ( CHARTIST) ของอังกฤษใน ปี 1837 ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ ได้กำหนด “ กฎบัตรของประชาชน ” หรือ “ ญัตติ 6 ประการ ” ว่าด้วยการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย มีกรรมกรเข้าร่วมเป็นเรือนล้าน และหลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลายาวนาน “ กฎบัตรของประชาชน ” ก็ได้รับการปฏิบัติ ทำให้อังกฤษเป็นประเทศแม่แบบของระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงปัจจุบัน ในฝรั่งเศส การต่อสู้ของกรรมกรปารีสใน ปี 1848 และ 1871 ผลักดันให้ระบอบประชาธิปไตยของฝรั่งได้รับผลสำเร็จ รวมความว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยในยุโรป ที่ได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จดังที่เป็นมาจนถึงปัจจุบันนั้น เกิดจากการต่อสู้ของกรรมกร ถ้าไม่ได้อาศัยการต่อสู้ของกรรมกรแล้ว ระบอบประชาธิปไตยในยุโรปก็ไม่อาจสถาปนาขึ้นได้ เพราะนายทุนซึ่งเป็นเจ้าของลัทธิประชาธิปไตยมาแต่เดิมนั้น กลายเป็นล้าหลังและต่อต้านประชาธิปไตยเสียแล้ว

ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ทีแรกนายทุนมีความก้าวหน้า จึงมีการเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตย เมื่อ ร.ศ. 130 ซึ่งประกอบด้วยนายทหารหนุ่มเป็นส่วนใหญ่นั้น ก็คือการเคลื่อนไหวที่เป็นผู้แทนของนายทุนในประเทศไทย เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตย และหลังจากการเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะ ร.ศ. 130 ล้มเหลวแล้ว 20 ปี ก็เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยของคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยทหารหนุ่มเป็นส่วนใหญ่ และเป็นผู้แทนของนายทุนเช่นเดียวกับคณะ ร.ศ. 130 การปฏิวัติของคณะราษฎรสำเร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่หลังจากนั้นไม่นานนายทุนและคณะราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนของเขา ก็เริ่มล้าหลังและขัดขวางระบอบประชาธิปไตย เหลือนายทุนที่ก้าวหน้าและสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยอยู่เพียงส่วนน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยได้ การปกครองของประเทศไทยภายหลัง 24 มิถุนายน เพียงเล็กน้อย จึงเป็นระบอบเผด็จการตลอดมา ในรูประบอบเผด็จการรัฐสภาบ้าง ระบอบเผด็จการรัฐประหารบ้าง ขณะนี้เป็นระบอบเผด็จการรัฐสภา ( ระบอบประชาธิปไตย คืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ระบอบเผด็จการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของนายทุน จะต้องไม่ปะปนระบอบประชาธิปไตย กับวิธีการประชาธิปไตยหรือวิถีทางประชาธิปไตย และไม่ปะปนระบอบเผด็จการกับวิธีการเผด็จการหรือวิถีทางเผด็จการ มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ ดังที่ปรากฏแก่นักวิชาการบ้านเราส่วนมาก)

เมื่อนายทุนเปลี่ยนจากก้าวหน้าเป็นล้าหลัง เปลี่ยนจากสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเป็นสนับสนุนระบอบเผด็จการ ทหารส่วนใหญ่โดยเฉพาะระดับบน ก็สนับสนุนระบอบเผด็จการด้วย แต่ต้องเข้าใจว่า ผู้เป็นเจ้าของระบอบเผด็จการคือนายทุนไม่ใช่ทหาร ทหารเป็นผู้สนับสนุนหรือเครื่องมือในฐานะผู้ถืออาวุธของนายทุนเท่านั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ กรรมกรจึงเป็นความหวังอย่างเดียวของระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับในยุโรปซึ่งเมื่อนายทุนกลายเป็นล้าหลังแล้ว กรรมกรก็เป็นผู้ผลักดันระบอบประชาธิปไตยต่อไป เช่นขบวนการชาติสต์ของอังกฤษที่เกิดขึ้นใน ปี 1837 และได้ผลักดันระบอบประชาธิปไตยอังกฤษไปสู่ความสำเร็จ เช่นเดียวกับกรรมกรฝรั่งเศสใน ปี 1871 เป็นปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตยฝรั่งเศสเป็นต้น แต่กรรมกรไทยตกเป็นเครื่องพ่วงของนายทุนมาเป็นเวลานาน เหตุสำคัญเนื่องมาจากความหลอกลวงของคณะราษฎร ที่เอารัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภามาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้สร้างความสับสนทางความคิดอย่างร้ายแรงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เฉพาะแต่กรรมกรเพิ่งจะมาเมื่อ พ.ศ. 2518 กรรมกรไทยจึงเริ่มแสดงบทบาท เป็นพลังการเมืองอิสระ ที่คว้าธงประชาธิปไตยจากนายทุนที่ยังก้าวหน้า วิ่งนำหน้าต่อไป กล่าวคือ ตั้งแต่กรรมกรเริ่มตื่นตัวทางการเมืองในแนวทางที่ถูกต้องมาระยะหนึ่ง เมื่อถึงวันที่ 26 กันยายน 2518 จึงได้มีการเปิดประชุมผู้แทนกรรมกรทั่วประเทศ ณ ลุมพินีสถาน อภิปรายปัญหาต่างๆในการแก้ปัญหาของชาติ และได้สรุปขึ้นเป็น “ แนวทางแก้ปัญหาของชาติของกรรมกรไทย ” ประกอบด้วยปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน

ตั้งแต่มีการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ยังไม่ปรากฏนโยบายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย “ แนวทางการแก้ปัญหาของชาติของกรรมกรไทย ” ประกอบด้วยนโยบายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ทุกปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมากรรมกรไทยก็ไม่เป็นแต่เพียง พลังการเมืองอิสระ เท่านั้น หากยังเป็นพลังผลักดันแถวหน้าสุดของ การปฏิวัติประชาธิปไตย ในประเทศไทย เช่นเดียวกับกรรมกรในยุโรป ในสมัยการปฏิวัติประชาธิปไตยอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้นอีกด้วย แต่ข้อเท็จจริงนี้คนทั่วไปยังมองไม่ใคร่เห็น เพราะถูกครอบงำด้วยอคติที่เห็นกรรมกรเป็นคนชั้นต่ำ โดยไม่เข้าใจว่า กรรมกรเป็นประชากรที่ก้าวหน้าที่สุด ในสังคมสมัยใหม่อย่างไร

นโยบายประชาธิปไตย ที่ถูกต้องและสมบูรณ์สำหรับประเทศไทย ซึ่งเสนอโดยกรรมกรไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 นี้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางและฝ่ายต่างๆ เริ่มรับเอาเป็นลำดับ โดยเฉพาะคือนายทุนที่ก้าวหน้าและทหารที่เห็นใจประชาชนและห่วงใยประเทศชาติ

จนถึง พ.ศ. 2523 จึงได้เกิดมีนโยบายของกองทัพขึ้นคือ “ นโยบาย 66/23 ” ซึ่งโดยสาระสำคัญก็ตรงกับ “แนวทางแก้ปัญหาของชาติของกรรมกรไทย” นั่นเอง

กรรมกรมีนโยบายของตน และนโยบายของกองทัพซึ่งตรงกับนโยบายของกรรมกรนั้น เกิดขึ้นภายหลังนโยบายของกรรมกรถึง 6 ปี ฉะนั้น คนที่กล่าวว่า “ กรรมกรรับใช้ทหาร ” ถ้าไม่ใช่เป็นคนโง่ที่สุด ก็เป็นคนบิดเบือนอย่างเลวร้ายที่สุด

จากข้อเท็จจริงนี้จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันกรรมกรไทยไม่แต่เพียงแต่เป็นพลังการเมืองอิสระ โดยมีนโยบายของตนเองเท่านั้น หากยังเป็นพลังหลักที่จะนำการปฏิวัติประชาธิปไตยไปสู่ความสำเร็จอีกด้วย

และจากข้อเท็จจริงนี้ลองเปรียบเทียบคน 3 ประเภทดู คือ นายทุน กรรมกร ( รวมประชาชน ) และทหาร 

นายทุน เวลานี้ส่วนสำคัญนอกจากจะเป็นพลังการเมืองอิสระแล้ว ยังเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตย 2 องค์กร คือสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี ซึ่งหมายความว่าอำนาจอธิปไตยอยู่กับนายทุน อันเป็นหัวใจของระบอบเผด็จการ ผู้แทนของนายทุนคือพรรคการเมืองต่างๆ ที่กุมสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี แม้ว่าจะมีหลายพรรคหลายนโยบาย และมีพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน นโยบายพื้นฐานของพรรคเหล่านี้ก็ตรงกันทั้งสิ้น คือรักษาผลประโยชน์ของนายทุน ฉะนั้นถึงจะมีหลายพรรคก็เหมือนพรรคเดียว การแบ่งเป็นหลายพรรคและมีนโยบายปลีกย่อยแตกต่างกัน ก็เพราะนายทุนมีหลายพวกซึ่งมีผลประโยชน์รายละเอียดแตกต่างกันบ้าง แต่ละพวกจึงต้องตั้งพรรคขึ้นเป็นผู้แทนชิงผลประโยชน์ระหว่างกัน การต่อสู้ระหว่างพรรคต่างๆที่กุมองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยอยู่ ก็คือการแย่งชิงผลประโยชน์ระหว่างนายทุนพวกต่างๆ กลุ่มต่างๆนั่นเอง นโยบายของพรรคการเมืองเหล่านั้นก็คือนโยบายของนายทุน ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้วก็คือนโยบายกดขี่ขูดรีดประชาชนโดยทั่วไป เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ของนายทุนให้มากที่สุด

กรรมกร เวลานี้เป็นพลังการเมืองอิสระเช่นเดียวกับนายทุน แต่ไม่มีส่วนในการกุมองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยทางคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร นอกจากทางวุฒิสภาเพียงเล็กน้อยในบางครั้ง โดยมีผู้แทนกรรมกรเป็นสมาชิกวุฒิสภาอยู่ไม่กี่คน เปรียบเทียบกันไม่ได้กับผู้แทนนายทุนในวุฒิสภา และเมื่อสมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่มีผู้แทนกรรมกรอีกเลย กลายเป็นสภาผัวสภาเมียของนายทุนฝ่ายเดียว ผูกขาดทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง นโยบายของกรรมกรตรงข้ามกับนโยบายของนายทุน คือแนวทางแก้ปัญหาของชาติของกรรมกรซึ่งกล่าวข้างต้นนั้น เป็นนโยบายรักษาผลประโยชน์ของกรรมกรและประชาชนทั่วไป ตลอดถึงประเทศชาติ จึงเป็นนโยบายประชาธิปไตยที่แท้จริง ถ้าการบริหารประเทศได้เป็นไปตามนโยบายของกรรมกรแล้ว การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยก็จะสำเร็จ

ทหาร ไม่สามารถเป็นพลังการเมืองอิสระ เพราะทหารไม่ใช่กลุ่มคนที่ประกอบการผลิตในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ ผู้ประกอบการผลิตทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติคือ นายทุนและกรรมกร นายทุนประกอบการผลิตในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กรรมกรประกอบการผลิตในฐานะพลังผลิต ทหารไม่ได้เป็นทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิตและพลังผลิต จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการผลิตทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ ชนกลุ่มใดก็ตามที่ไม่เป็นผู้ประกอบการผลิตในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ เช่นนักวิชาการ นักศึกษา ข้าราชการ เป็นต้น ย่อมไม่สามารถเป็นพลังการเมืองอิสระในสังคมทุนนิยม ทหารเป็นกลุ่มชนประเภทหนึ่ง กลุ่มชนที่ไม่เป็นพลังการเมืองอิสระนั้น ย่อมไม่มีนโยบายของตนเอง หากแต่ต้องรับนโยบายของพลังการเมืองอิสระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะคือของนายทุนและกรรมกร กลุ่มอื่นๆ ถ้าไม่รับนโยบายของนายทุน ก็รับนโยบายของกรรมกร และนโยบายของกรรมกรนั้น นอกจากจะรักษาผลประโยชน์ของกรรมกรเองแล้ว ยังรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติพร้อมกันไปด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่า ในสภาพที่การรวมศูนย์ทุนขึ้นสู่ระดับสูง ทำให้การผูกขาดเป็นไปอย่างรุนแรง ประชาชนทั่วไปถูกกดขี่ทางการเมืองและถูกขูดรีดทางเศรษฐกิจจากนายทุนหนักขึ้น ทหารมีความเห็นใจประชาชนและห่วงใยต่อประเทศชาติมากขึ้น และเริ่มจะเห็นถึงความหายนะของชาติบ้านเมือง จึงยิ่งรับเอานโยบายของกรรมกร ซึ่งเป็นเพียงนโยบายเดียวที่จะรักษา ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติได้ดังนี้ ทหารส่วนใหญ่กระทั่งถึงระดับสูง จึงเปลี่ยนแปลงจากการอยู่ฝ่ายนายทุน มาเป็นอยู่ฝ่ายกรรมกรและประชาชน เปลี่ยนแปลงจากการสนับสนุนระบอบเผด็จการ มาสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย กองทัพมีนโยบาย 66/23 ซึ่งเป็นนโยบายประชาธิปไตย ที่โดยสาระสำคัญเป็นอย่างเดียวกับนโยบายกรรมกร

เมื่อนำเอาชน 3 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันดังนี้แล้ว จะเห็นได้ว่านายทุนกับกรรมกรเท่านั้นเป็นพลังการเมืองอิสระ ซึ่งต่างฝ่ายมีนโยบายของตนเอง แต่เป็นนโยบายที่ตรงกันข้ามกัน คือนโยบายของนายทุนรักษาผลประโยชน์ของนายทุนนโยบายของกรรมกรรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและของประเทศชาติ นโยบายของนายทุนจึงเป็นนโยบายเผด็จการ นโยบายของกรรมกรเป็นนโยบายประชาธิปไตย นายทุนกับกรรมกรจึงขัดแย้งกันและต่อสู้กันด้วยนโยบายเผด็จการกับนโยบายประชาธิปไตยดังนี้ กระบวนการทางการเมืองทั้งหมด จึงหมุนไปรอบๆแกนของความขัดแย้ง และการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับกรรมกรดังนี้

กลุ่มชนอื่นๆรวมทั้งทหาร เป็นเพียงผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมมือ หรือผู้รับใช้ระหว่างนายทุนกับกรรมกรเท่านั้น นัยหนึ่ง ระหว่างนายทุนกับประชาชนเท่านั้น 

ปัจจุบันทหารส่วนใหญ่กระทั่งถึงระดับสูงเห็นใจประชาชน และห่วงใยประเทศชาติมากขึ้นจึงหันมาอยู่ข้างประชาชน และไม่ยอมทำร้ายประชาชนในการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย จะมีก็แต่ทหารระดับสูงที่เป็นเครื่องมือของนายทุน

ในสมัยเมื่อทหารส่วนใหญ่โดยเฉพาะทหารระดับสูง อยู่ข้างนายทุนนั้น นายทุนและผู้แทนของเขา เช่นพรรคการเมือง นักการเมือง และนักวิชาการ ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาจึงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในปัจจุบันเมื่อทหารหันมาอยู่ข้างประชาชนมากขึ้น

คัดลอกจากบทความของ อ.วันชัย พรหมภา ใน facebook https://www.facebook.com/RevolutionThailand

หมายเลขบันทึก: 560881เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2014 01:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2014 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ระบบ..ทุนนิยม..คือ..ระ..บบ"..กินตัว.".ระหว่าง..นายทุนกับ..กรรมกร.....๕๕๕๕....ปัจจุบัน..มีละคร"ลิง"เล่นกันให้ดู...บทสำคัญของ..ละคร...โบราณ..เชาเรียกกันว่า..."ลิงหลอกเจ้า"...อ้้ะะะะะะ.....

อยากทราบว่าตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมา และตั้งแต่มีพรรคการเมืองมา จนถึงปัจจุบัน เคยมีพรรคการเมืองใดบ้างที่ทำเพื่อประชาชนจริงๆ เคยมีบ้างไหม การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เปลี่ยนระบบ เปลี่ยนแต่ตัวบุคคล ผลัดเปลี่ยนกันมากินเมือง จากบุคลหนึ่งหรือคณะหนึ่งเพื่อแย่งอำนาจกันเข้ามากินเมืองเหมือนในอดีตกาล เขาทำเพื่อพวกเขาเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขาเ่ทานั้น สิ่งที่ประชาชนได้รับบ้างก็แค่เศษๆเสี้ยวๆเท่านั้นเพื่อเอาใจหลอกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันนี้ การกินเมืองก็โจ่งแจ้งมากขึ้น โกงเงินภาษีของประชาชนมากขึ้น ผูกขาดทุรกิจให้กับกลุ่มตัวเองมากขึ้น การต่อสู้ในปัจจุบันก็เป็นการต่อสู้ของกลุ่มนายทุนด้วยกันเพื่อแย่งกันกินเมืองเช่นเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท