๑๐๐๔ “รู้จักบารากู่ไฟฟ้า ตอนที่๒”


 “รู้จักบารากู่ไฟฟ้า ตอนที่๒”

 

 

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ [email protected] เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ศ.นพ.ประกิตวาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าว การที่ผู้ขายเรียกชื่อสินค้าใหม่นี้ว่า บารากู่ไฟฟ้าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เนื่องจากบารากู่ต้นตำรับเป็นการหมักยาเส้นกับกากผลไม้ต่างๆทำให้เวลาสูบบารากู่มีกลิ่นผลไม้ แต่บารากู่ไฟฟ้านั้น กลิ่นผลไม้มาจากสารเคมีสังเคราะห์ให้เกิดกลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆอาจจะเรียก บารากู่ไฟฟ้าว่า บุหรี่ไฟฟ้าชูรส ก็คงจะไม่ผิด ศ.นพ.ประกิต จึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับบารากู่ไฟฟ้าเพิ่มเติม

บารากู่ไฟฟ้าเหมือนหรือต่างจากบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไร

  • การทำงานของแท่งบารากู่ไฟฟ้าเหมือนกับบุหรี่ไฟฟ้า เพียงแต่แท่งบารากู่ไฟฟ้า แบตเตอรี่และน้ำยาใช้หมดในแต่ละมวน ไม่มีการเติมน้ำยาใหม่ หรือชาร์ตแบตเตอรี่ใหม่
  • น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นนิโคตินเหลว สารนิโคตินไม่มีกลิ่น แต่นิโคตินเหลวที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้ามีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จากการเติมสารเคมี 10-20 ชนิด รวมถึงสารเคมีที่ทำให้น้ำนิโคตินเหลวระเหยเป็นละอองไอน้ำง่ายขึ้น  เพื่อทำให้เวลาสูบแล้วพ่นออกมาเห็นเป็นควันเหมือนการสูบบุหรี่
  • ในขณะที่บารากู่ไฟฟ้า น้ำยาที่อยู่ภายในแท่งบารากู่ไฟฟ้า อยู่ในรูปที่ชุบอยู่กับใยสังเคราะห์ น้ำยาดังกล่าวเป็นสารเคมีที่สังเคราะห์ให้เกิดกลิ่นผลไม้ชนิดต่าง ๆ
  • โดยสรุปก็คือบารากู่ไฟฟ้ากับบุหรี่ไฟฟ้า มีอุปกรณ์การสูบที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่น้ำยาที่ใช้แตกต่างกัน
  • ถ้าหากน้ำยาที่ใช้กับบารากู่ไฟฟ้า มีสารนิโคตินผสมอยู่ด้วย ก็อาจจะเรียกไว้ว่าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าชูรส คือเป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่ปรุงแต่งให้เกิดกลิ่นรสชนิดต่าง ๆ โดนส่วนใหญ่เป็นรสผลไม้

บารากู่ไฟฟ้าแตกต่างจากบารากู่ธรรมดาอย่างไร

  • บารากู่ธรรมดา สิ่งที่ใช้เผาให้เกิดควันสำหรับสูบประกอบด้วย ยาเส้นหมักกับกากผลไม้และน้ำตาล สูบจากอุปกรณ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายแจกัน
  • บารากู่ไฟฟ้า น้ำยาที่ทำให้เกิดควันไอน้ำเวลาสูบ ประกอบด้วยสารเคมีสังเคราะห์ที่มีกลิ่นผลไม้ชนิดต่าง ๆ สูบด้วยแท่งโลหะที่มีแบตเตอรี่บรรจุอยู่ภายใน
  • ทั้งบารากู่ธรรมดาและบารากู่ไฟฟ้ามีการอ้างว่าไม่มีสารนิโคติน ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้

อนาคตของบารากู่ไฟฟ้า

คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อเนื่องก็เพราะมีสารนิโคติน การสูบบุหรี่ธรรมดา การสูบบารากู่

หรือการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเพียงวิธีการนำสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดเข้าสู่ร่างกาย

ถ้าหากบารากู่ไฟฟ้าไม่มีการผสมสารนิโคตินจริง การสูบบารากู่ไฟฟ้าน่าจะเป็นเพียงแฟชั่นชั่วระยะเวลาหนึ่ง

เมื่อผู้คนรู้ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายคนก็จะเลิกใช้  จึงมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า

ผู้ผลิตบารากู่ไฟฟ้าจะเติมสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการเสพติด เพื่อไม่ให้คนเลิกสูบ

 

เว็บไซต์ที่เผยแพร่

http://trc.or.th/th/2012-05-08-16-55-50/553-2013-12-22-07-14-52.html

http://www.dailynews.co.th/Content/crime/203267/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87

ศจย.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 560551เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2014 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2014 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...ต้องขอโทษด้วยนะคะที่เข้าใจว่าอ.ยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ...ที่ถูกคือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งมีข่าวได้ออกมาระบุว่าการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและบารากุไฟฟ้า ถือเป็นสินค้าที่เข้าข่ายยาเสพติด ...ที่มีให้เห็นคือนำออกมาขายโดยการลับลอบนำเข้า แต่มีการโฆษณาขายอย่างเปิดเผยทางอินเตอร์เน็ตนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท