อาสาสมัครเกษตรกับงานส่งเสริมการเกษตร


อาสาสสมัครเกษตรช่วยงานเกษตรได้อย่างไร

ความเป็นมาเป็นมาของอาสาสมัครเกษตร

ในอดีตท่ผ่านมาส่วนราชการต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้มีการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรในชุมชน  เช่น กรมส่งเสริมการเกษตรจะมีเกษตรกรผู้ทำ  มีเกษตรหมู่บ้าน  มีประธานกลุ่มต่าง ๆ กรมปศุสัตว์  จะมีปศุสัตว์อาสา  กรมพัฒนาที่ดิน  จะมีหมอดินอาสา  เป็นต้น  ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขเกี่ยวกับอาสาสมัครขึ้นเอง ทำให้เกิดความแตกต่างในเรื่องผลตอบแทนและสิ่งจูงใจ  ซึ่งไม่เหมือนกัน  ในปลายปี  2548  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้แก้ไขในเรื่องนี้  โดยได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการบริหารงานอาสาสมัครเกษตรและอาสาสมัครยุวเกษตร  พ.ศ. 2548  ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานเกี่ยวกับอาสาสมัครด้านเกษตร  เป็นไปในแนวทางเดียวกันมีเอกภาพมากขึ้น  โดยให้ สนง. เกษตรอำเภอ  สนง. เกาตรจังหวัด  เริ่มขึ้นทะเบียนอาสาสมัครเกษตรตั้งแต่เดือน ก.พ. 2549  เป็นต้นมา

อาสาสมัครช่วนงานเกษตรได้อย่างไร

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม  ได้เริ่มดำเนินการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครเกษตรฯ มาตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์  2549  โดยมีการสำรวจเบื้องต้นว่ามีอาสาสมัครเกษตรทั้งหมดในจังหวัดเท่าใด  ประชาสัมพันธ์ให้มาขึ้นทะเบียน  ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้า  ดังนี้ ( ตัดยอด  25  ตุลาคม  2549

ผลการสำรวจ

จำนวนอาสาสมัครที่มีอยู่เบื้องต้น (ราย)   ขึ้นทะเบียนแล้ว(ราย)     ผ่านการฝึกอบรม(ราย)

ครูบัญชีอาสา                              196            122           122

หมอดินอาสา                           1,109          279            279

อาสาสมัครเกษตรอินทรีย์          135             59              59

อาสาปศุสัตว์                              965          234            234

ประมงอาสา                               120          152             152

เกษตรกรผู้นำ                            019           854             702

ยุวเกษตรกร                                 85             18                18

อาสาสมัครสหกรณ์                     33              46               46

GAP อาสา                                 55               21               21

อาสาสมัครยางพารา                450             111             111

อาสาสมัคร สปก.                     105               46               46

อาสาสมัครชลประทาน            180               60              60

                   รวม                     6,392         2,002         1,850

จากการฝึกอบรมอาสาสมัครเกษตรที่ผ่านมา  1850 คน  ส่วนใหญ่จะช่วยงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้มาก  และทำมานานแล้วด้วยความสมัครใจ  โดยสรุปลักษณะที่ได้ปฏิบัติ คือ
1.  แจ้งข่าวร้าย
2.  กระจายข่าวดี
3.  มีโอกาสเรียนรู้
4.  ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกร

อาสาสมัครเกษตรต้องการอะไร

จากการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมของจังหวัดนครพนม  12  รุ่น  ได้เสนอความคิดเห็นปรากฎว่า  อาสาสมัครเกษตรจังหวัดนครพนม  มีความต้องการดังนี้
1.  ต้องการมีบัตรประจำตัวอาสาสมัครเกษตร
2.  อยากได้คู่มือการปฏิบัติงาน
3.  อยากได้สวัสดิการเหมือน  อสม. 
4.  ควรมีเบี้ยประชุมเหมือนคณะกรรมการบริหารศูนย์  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

นี่คือผลการดำเนินงานอาสาสมัครเกษตรจังวหัดนครพนม  ซึ่งคณะกรรมการบริหารงานอาสาสมัครเกษตรได้ประชุมครั้งล่าสุด  เมื่อวันที่  25  ตุลาคม  2549  ที่ผ่านมานี้  จึงนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย               

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 56036เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2006 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท