SI ในกิจกรรมบำบัด


ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดิฉันและเพื่อนๆได้เรียนวิชาการสังเกตและการให้เหตุผลทางคลินิกพื้นฐานกับอาจารย์ป๊อปเช่นเคย และอาจารย์ป๊อปได้ให้การบ้านโดยให้เขียนบล๊อกจาก5หัวข้อที่อาจารย์ให้มา และหนึงในนั้นก็คือหัวข้อ "คำว่าSI ในกิกรรมบำบัดทำอย่างไร"

การบูรณาการการรับความรู้สึกคืออะไร

การบูรณาการการรับความรู้สึก (Sensory Integration) เป็นกระบวนการทางระบบประสาทที่มีมาตั้งแต่กำเนิดส่งผลต่อการรับความรู้สึก การประมวลผล และการแปลผลข้อมูลของสมอง ซึ่งได้จากการกระตุ้นจากสอ่งแวดล้อม ความผิดปกติของการประมวลผลการรับความรู้สึก เป็นความผิดปกติที่ข้อมูลการรับความรู้สึกต่างๆที่สมองรับเข้าไป ไม่ได้ประมวลผลหรือไม่ได้เกิดการจัดระเบียบอย่างเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่หลากหลายในด้านพันาการและพฤติกรรม

Sensory Integration ให้ความสนใจกับระบบการรับความรู้สึกพื้นฐาน 3 ระบบ คือ ระบบการทรงตัว(Vestibular System) การรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ(Proprioceptive System) และระบบการรับสัมผัส(Tactile System)

การบำบัดปัญหาด้าน Sensory Integration ในกิจกรรมบำบัด

เป้าประสงค์ของการบำบัดคือ การจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเพื่อพัฒนา การจัดระเบียบหรือการประมวลผลการรับความรู้สึกของระบบต่างๆเพื่อป้อนข้อมูลการรับความรู้สึกของระบบต่างๆ ให้เกิดการประมวลผลและการจัดระเบียบของสมอง ซึ่งจมีผลถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาโดยตรง

หลังจากนักกิจกรรมบำบัดได้ให้การประเมินเรียบร้อยแล้ว จะทำการจัดกิจกรรมเฉพาะรายบุคคลโดยผ่านการเล่นกับอุปกรณ์เฉพาะทาง เพื่อกระตุ้นระบบที่มีปัญหาให้พัฒนาดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เด็กมีภาวะไวต่อการับสัมผัสมากเกินไป นักกิจกรรมบำบัดจะจัดกิจกรรมในลักษณะที่ให้เด็กมีโอกาสสัมผัสกับวัตถุหลากหลายพื้นผิว การให้แรงกดเชิงลึก กิจกรรมที่มีแรงดันแรงดึงต่อกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ

 หลักการบำบัดด้วยSIนั้น นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือ พยายามกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเองให้มากที่สุด นักกิจกรรมบำบัดจะคอยสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อกิจกรรม และปรับกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กระตุ้นสมองให้เกิดการสร้างโปรแกรมพัฒนาความสามารถที่สูงขึ้น และมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างเหมาะสม(ข้อมูลจาก:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=304164)

    

คำสำคัญ (Tags): #si#กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 559023เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2014 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2014 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...เด็กลักษณะใดที่ควรจะได้รับการบำบัด...เพราะโดยปกติเด็กจะมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านไปตามวัยอยู่แล้ว...มองจากรูปภาพมีทั้งเด็กอยู่ตามลำพังกับอุปกรณ์ และมีนักกิจกรรมบำบัดที่ใช้อุปกรณ์กับเด็ก...อุปกรณ์บางอย่าง...หากเด็กใช้กระตุ้นถูกจุดที่พึงพอใจทำให้เด็กติดอุปกรณ์จะเกิดผลเสียหรือไม่...

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อจากเพื่อนนะคะ ส่วนใหญ่การประเมิน SI หรือการใช้ SI เข้ามาบำบัดในคนไข้ฝ่ายเด็กนั้น มีความสำคัญทางกิจกรรมบำบัดเพราะ มีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า วัยเด็กถือเป็นรากฐานและช่วงสำคัญของชีวิต หากในช่วงวัยเด็กมีการบูรณาการของประสาทความรู้สึกที่ดีนั้น จะส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านการใช้กล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหวของเด็กอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการพัฒนาการทางด้านภาษา อารมณ์ การรู้คิด (cognitive) รวมทั้งทักษะในการเข้าสังคม (social skill)

สรุปคือ ถ้ามี SI ที่ดีและเหมาะสมตามวัยแล้วนั้นจะทำให้มีความสามารถ ดังนี้

1. ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ เช่น เล่น เรียนหนังสือ ทำกิจวัตรประจำวัน

2. มีบุคลิกภาพเฉพาะตัว คือ รู้ว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งใดได้

3. สามารถสร้างทักษะทางสังคมได้

4. ควบคุมตนเอง และปรับสภาพอารมณ์ต่อสถานการณ์ต่างๆได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท