"เทวดา พรหม อยู่ไหน"


                                           

                                                         ภาพจาก www.dek-d.com

                ในยุคปัจจุบันเด็กยุคใหม่คงได้เห็น ภาพนางฟ้า เทวดา มาจากสื่อ ละคร โบสถ์ (คริสต์) บ้าง ข้อมูลตามมาคือ อำนาจ พลังวิเศษ ของเทวดาว่า ย่อมสามารถเสกของได้ หายตัวได้ เป็นภาพพจน์เชิงอุดมคติของเด็กยุคใหม่ แล้วพวกเขาก็พากันอยากเป็นเช่นนั้น จะได้มีพลังวิเศษเหมือนซูเปอร์แมนหรือพ่อมด หมอผี ไปโน่น ซึ่งทั้งหมดนี้กลายเป็นเรื่อง จินตนาการ ที่สร้างให้เด็กคิดถึงอุดมคติแห่งเทวโลก

๑) เทวดาในศาสนา

               มีตำนานเรื่องเล่าตามคำสอนทางศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ ในทุกศาสนา และหลายเประเทศ เสมือนเป็นจุดหมายปลายฝัน ให้กับคนทำดี แล้วจะได้ไปเกิดเป็นเทพบนสวรรค์ ตามคัมภีร์ต่างๆ เทวดา เป็นเพียงความเชื่อในการบอกเล่ากันมา ไม่มีใครสามารถพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้ เนื่องจากเป็นมโนทัศน์ของมนุษย์ ซึ่งมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนา สังคม จิต และพลังอำนาจ

                 จึงเชื่อว่าเทวดาเป็นกลุ่มเทพที่อยู่บนชั้นสวรรค์ต่างๆมากมาย เป็นเทวสถาน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาฮินดู เป็นแดนแห่งอุดมคติเหมือนที่เพลโตจินตนาการไว้ (ไม่รู้ได้แรงดลใจมาจากฮินดูหรือไม่) ที่มีความสวยงาม มนุษย์จึงรังสรรค์เมืองเทวนคร บนสวรรค์มาสู่มนุษยโลก แล้วสร้างจำลองเหมือนสวรรค์ให้อยู่บนดิน แล้วก็เรียกชื่อตามชั้นต่างๆ กัน

                 สถานที่สร้างที่จำลองจากสวรรค์เช่น วัดวา อารามต่างๆ ล้วนเป็นชื่อสวรรค์ทั้งนั้น วัง เมืองต่างๆ อย่างกรุงเทพมหานคร คือ เมืองเทวดา หรือเมืองออสแองจิลลิส คือ เมืองสวรรค์ ทำไมมนุษย์จึงสะท้อนเช่นนี้ เนื่องจากเมืองแห่งอุดมคตินั้น เป็นแรงบันดาลให้เมืองที่อยู่ของตนเป็นดั่งสวรรค์ แต่เอาเข้าจริงๆ เมืองมนุษย์มิใช่เป็นเมืองเทวดาหรือเมืองสวรรค์ดั่งที่ตั้งชื่อเลย

                 ความจริงพระพุทธศาสนาเองก็มิได้มองเทวดาเป็นเทพที่เหนือกว่ามนุษย์ ในการเป็นเทวดานั้น มาจากการได้ทำบุญมาดี จึงได้เกิดไปเสวยผลบุญของตน ด้วยมีบริวารนางฟ้ามหาศาล นั่นคือ การเสพกาม เสพสุขในเทวสถาน แต่ไม่มีรูปกายเท่านั้น เทวดาบางกลุ่มก็คิดร้าย คิดเลวได้ โดยเฉพาะสถานที่เสวยสุขนั้นคือ เป็นแดนกามภพหรือแดนทุกข์อยู่ดี เรียกว่า กามาวจร คือ ยังวุ่นวายในกามอยู่ 

                 เนื่องจากว่า เมืองมนุษย์เต็มไปด้วยความหลากหลายด้านมิติต่างๆ ที่ครอบคลุมมนุษย์ให้เผชิญกับแรงเสียดทานมากมาย เช่น ความทุกข์อันเกิดจากกาย สังขาร เป็นสาเหตุหนุนให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา ตามมา จึงต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้ ประจำ มนุษย์จึงไม่อยากเกิดมาเผชิญอีก ศาสนาจึงเสนอแนวทางให้ไปสู่สวรรค์สิจึงจะมีแต่ความสุข

                  คติแนวคิดนี้ เป็นทั้งผลดีและผลเสีย คือ มนุษย์ไม่รู้จักมนุษยภาวะหรือศักยภาพตนเองดี จึงไปมองอนาคต (สวรรค์) เป็นธงชัยแห่งชีวิตในโลกนี้ จึงทำให้พลาดในการเรียนรู้ชีวิตที่เป็นแก่นแท้ไป กลับไปให้ความสำคัญในโลกหน้าแทน หวังไปตายดาบหน้า ซึ่งมันสิ่งที่ไม่แน่นอนเลย ดังนั้น แก่นแท้คำว่า เทวดา จึงมิใช่อยู่ที่สวรรค์ แต่อยู่ในตัวมนุษย์

๒) เทวดาในโลกมนุษย์

                  เทวดาที่อยู่บนโลก คือ พระราชา พระอริยสงฆ์ ลูกน้อย เพราะบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ต้องทำงานหนัก จนเหงื่อไหลไคลย้อย ตามคำว่า "เทวดา" แต่ด้วยความรัก ความเมตตา ความบริสุทธิ์ของบุคคลเหล่านี้จึงเกิดเป็นที่ดึงดูดผู้คนให้เข้ามา จากนั้นท่านก็ประทานงานให้ ช่วยเหลือเรา เช่น ในหลวงทำงานเพื่อประเทศชาติ พระสงฆ์ (ในอุดมคติ) ทำงานเพื่อศาสนิกชนให้รับรู้แสงธรรม ส่วนลูกน้อย คือ แก้วตาดวงใจของพ่อแม่และพี่น้อง นี่คือ ศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของครอบครัว

๓) พระพรหมคือ ใคร

                 ส่วน "พรหม" เป็นเทพที่อยู่สูงกว่าเทวดาขึ้นไปอีก มีสองกลุ่มคือ รูปพรหมโลก (มีรูป) มี ๑๖ ชั้น และอรูปพรหมโลก (ไม่มีรูป) มี ๔ ชั้น คำว่า "พรหม" แปลว่า กว้างใหญ่ แผ่ขยาย เจริญ รักษา ผู้ที่จะเกิดเป็นพรหม คือ ผู้เป็นมนุษย์ที่ได้ฌานสมาบัติแล้ว พอถึงตรงนี้ เด็กอาจจะนึกไม่ออกว่า พรหม มีภาพพจน์อย่างไร ส่วนมากเราจะเห็นเป็นพรหม ๔ หน้า เรียกว่า พระพรหม แปลว่า ผู้รักษา ผู้เป็นใหญ่ทั้งปวง

                 ระดับนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ เนื่องจากว่า ต้องอาศัยการปฏิบัติ จนจิตบรรลุถึงฌานได้ ซึ่งก็ยากพอสมควรสำหรับยุคนี้ หากจะโน้มเอาเรื่องนี้มาไว้ในโลกให้เป็นรูปธรรม ก็พอได้นั่นคือ ผู้ใหญ่ ผู้นำ เช่น พระราชา ประธานาธิบดี นายก ฯ ผู้ว่าฯ นายอำเภอฯ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำครอบครัว พระสงฆ์ ผู้เฒ่า ผู้แก่ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ คือ ผู้นำมวลชนในกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ด้วยการมีคุณธรรมประจำตัวคือ พรหมวิหาร ๔ คือ ความรัก การช่วยเหลือกัน ความยินดีอนุโมทนา และการรู้จักนิ่งเป็น

๔) พระพรหมและเทวดา

                  ในครอบครัวมีพรหมอาศัยคือ พ่อแม่ นั่นคือ พรหมของบุตร ที่ควรเคารพกราบไหว้ เพราะท่านมีความรัก ที่เผื่อขยายให้ลูกทุกคน แต่อนิจจา! พระพรหมกำลังจะถูกเทวดา (ลูก) ทิ้ง เพราะสังคมยุคใหม่ ไม่ได้สนใจเรื่องบุญคุณของพระพรหมเลย เนื่องจากไปหลงค่านิยมเทพไอแพค ไอโฟนแทน ทำอย่างไรจะให้เทวดาในบ้านเราเคารพพระพรหมในฐานะผู้สร้างชีวิตพวกเขา ผู้เขียนคิดว่า ทั้งสองควรศึกษาปัญหาร่วมกัน คือ พ่อแม่ บกพร่องอะไร จะเติมเต็มอะไร จะตักอะไรออกจากพวกเขา เด็กต้องได้รับการชี้แนะแนวทาง ที่เหมาะสม และไม่เหมาะสม อย่าปล่อยให้เสรีภาพเกินขอบเขต จนคุมไม่ได้

                  ในขณะเทวดาเด็กก็กำลังได้อภิสิทธิ์สูงกว่าเทวดาสมัยก่อน สังคมกำลังยกให้เด็กเป็นเทดาจริงๆ คือ ไม่ทำงาน ไม่ให้มีเหงื่อ โดยมีพระพรหมเป็นผู้เอื้ออำนวยให้แสดงออก หน้าที่ของเทวดาน้อยคือ เรียนหนังสือ เล่น กิน เที่ยว (มีบางกลุ่มเริ่มทำงานหาเงินแล้ว เทวดาดารา) สิ่งที่เทวดาน้อยเหล่านี้ พึงกระทำให้ซ้ำๆ เพื่อให้เกิดความจำฝังใจ ยึดมั่นจำได้คือตัญญู รู้คุณพ่อแม่ พี่น้อง มีน้ำใจ มีคุณธรรม และมีจิตสาธารณะ ที่สำคัญที่เทวดายุคใหม่ต้องมีคือ ความเคารพผู้ใหญ่ อ่อนน้อมถ่อมตัว เพราะนี่คือ เสน่ห์ของเทวดาน้อยในเมืองมนุษย์นั่นเอง

--------------------<>---------------------

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 558734เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2014 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2014 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สงสัยจะต้องให้ "พี่ภัคร" มาขอความรู้บ้างแล้วนะคะ เพราะชอบเขียนแนวเดียวกันกับพี่ภัครเลยค่ะ :):)

ถึงผู้ใช้นิรนาม (มโนสำนึกอยู่ไหน)

ที่คอมเม้นต์มานะ คุณพูดรื่องอะไร อ้างพระเจ้าของคุณนะ มันเป็นของคน มิใช่พระเจ้า เป็นเรื่องของผู้เขียน หากคอมเม้นต์ควรพูดให้ตรงประเด็น มิใช่เหมือนเพ้อหรือเข้าทรง..ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องลบไป ขออภัยหากข้อเขียนนี้ มันโดนใจคุณ แต่กรุณาออกมาถกเถียงกันเชิงเหตุผล อย่าเล่นอ้างของสูงที่เราไม่รู้และอย่าเล่นแบบอีแอบ ซ่อนตัว คอยแต่ตีหัวคนอื่นท่าเดียว เปิดเผยตัวดีกว่า..ที่นี่สาธารณะมิใช่เวทีเล่นแอบ หากจะเขียนเปิดชื่อมาสิ... อย่ามาพูดเเพ้อไม่อยู่โลกแห่งความจริง..ขอบคุณครับที่คอมเม้นต์ แต่ขอให้เป็นประเด็น อย่าเหมาทั้งเข่ง ยอมรับว่า "งง" ข้อเขียนคุณ

เรียน คุณส.รตนภักดิ์

กัลยาณมิตรในโกทูโนหลายท่านรวมถึงผมด้วย โดนuser IP: xxx.87.76.30 นี้ คอมเม้นท์ด้วยข้อความประมาณนี้มาตลอด โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับศาสนา

และเคยแจ้งให้ อ. จันทวรรณ ช่วยลบ แต่ก็ยังไม่เลิกลา

ทุกวันนี้ก็ได้แต่ขอบคุณที่เขาเข้ามาติดตามอ่าน ไม่ตอบ ไม่โต้ โดยหวังว่าสักวันเขาคงจะซึมซาบรับเอาปรัชญาและคำสอนของพุทธศาสนาไปได้บ้าง

ขอให้ คุณส.รตนภักดิ์ ใจเย็นๆนะครับ

และเชื่อเลยว่าหลังคอมเมนท์ของผมนี้เขาก็อาจจะเข้ามาโต้ตอบผมอีก

ขอบคุณครับ

พ.แจ่มจำรัส

เป็นกำลังใจให้ค่ะ เขียนต่อไปนะคะ พี่ก็เคยโดนเช่นกัน ถ้าไม่ชอบใจเราก็ลบซะ ก็เท่านั้น...คนเราคิดต่าง แต่จะให้เหมือนกับเราก็คงยาก อย่านำมาใส่ใจ เพราะเราก็คือ เรา ความคิดของเรา ความเชื่อของเรา...คนเราเกิดมาต้องมีเหตุมีผลค่ะ :):)

พอรู้บ้างไหมว่า "จิตหยาบ" กับ "จิตละเอียด" เป็นอย่างไร? เขียนให้พี่รู้บ้างนะคะ อยากรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ :):)

ขอบคุณคุณพ. แจ่มจำรัส และพี่บุษครับ..ผมก็ถูกคอมเมนต์หลายครั้ง ซึ่งเขาเขียนลอยๆ เหมือนเพ้ออยู่บนหอคอย..ไม่อยากโต้ แต่บ่อยเข้าเหมือนก่อกวนนะ เพราะไม่ยกประเด็นหรือหยิบประเด็นขึ้นมาถก..วันนี้ผมรู้แล้วว่าใคร พี่น้องต่างศาสนาซึ่งอาจมีอคติกับพุทธอยู่นี่เอง.. ครับผมยืนยัน ผมมีสิทธิลบ หากคอมเม้นต์นั้นไม่ตรงประเด็นและไม่สร้างสรรค์ใดๆ ต้องขออภัยด้วย

เรียนรู้กันและกัน และยอมรับความต่างกัน.. ควรเคารพกัน..อย่าใช้พื้นที่เป็นเวทีวาทะนะครับ

เราเป็นเจ้าของบันทึก สามารถลบได้ค่ะ ถ้าไม่สร้างสรรค์ พี่เคยลบไปหลายครั้งแล้ว...ใช่ค่ะ สังเกตจากที่นำเรื่องธรรมะมาโพสต์ก็จะมีแบบนี้มาคอมเม้นต์ค่ะ ส่วนมากพี่จะลบไป ขนาดพี่ไปเลือกผู้ที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นแล้วก็ตาม แต่เขาเป็นสมาชิกในนี้ก็สามารถคอมเม้นต์ได้เช่นกัน ไม่มีทางใดที่จะแก้ ก็คือ เราต้องตามลบ เท่านั้นเอง...คงเป็นพวกต่างศาสนากับพุทธเช่นว่านั่นแหล่ะค่ะ

อธิบายย่อๆนะครับ..คำว่า "จิตหยาบ" หมายถึง จิตมนุษย์ที่เป็นปุถุชน ที่จิตเจือไปด้วยรากเหง้าเค้ามูลกิเลส เช่น ผู้คนทั่วไปที่มิใช่อริยบุคคล และรวมไปถึงสัตว์ด้วย ที่ถูกครอบเคลือบด้วยชอกโกแลตหรือคาราเมลแห่งอกุศล จนจิตเองก็หลงตัวเองไปว่า "ตนเอง" (กิเลส) จึงไม่สามารถฝึกนตนเองได้ ขัดเกลาตัวเองมิได้ จึงกลายเป็นจิตหยาบ ซึ่งมีลักษณะที่เราเห็นได้ทั่วไป ในสังคมปัจจุบัน ส่วนจะพัฒนาจิตหยาบให้หายได้ ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ ในเบื้องต้นก่อน ผลที่ได้คือ ฌาน ๔ หรือ ๘ โดยมีลักษณาการของ วิตก (ทบทวน) วิจารณ์ (ไตร่ตรอง) ปีติ (อิ่มเอิบ) สุข (สบายใจ) เอกกัคตา (มีอารมณ์ที่เน้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) แทรกอยู่ ยิ่งขั้นสูงอารมณ์เหล่านี้จะน้อยลงดังนี้

วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกกคตา =ปฐมฌาน

ปีติ สุข เอกกัคตา =ทุติยฌาน

สุข เอกกัคตา = ตติยฌาน

                                                    อุเบกขา เอกกัคตา     = จุตถฌาน<p>ส่วน "จิตละเอียด" คือ สภาวะของพระอริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปถึงอรหันต์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันตามขั้น โดยมีสังโยชน์ (เครื่องร้อยรัด) เป็นพื้นฐานละเอียดน้อยไปหามากคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีและพระอรหันต์ ส่วนผลของระดับนี้คือ ถึงกระแสอริยธรรม และหลุดพ้น</p><p>ดังนั้น "จิตหยาบ" จึงหมายถึง จิตมนุษย์ปุถุชน "จิตละเอียด" หมายถึง จิตพระอริยบุคคล ครับ ทั้งนี้อาจมีความต่างจากพระอริยสงฆ์ไทยที่อธิบายไว้ตามสภาวะของแต่ละรูป</p><p>ขอบคุณครับ                                      </p>

"ชอบ"..ข้อเขียน..คุณ..ณัฐนพ มนู อินทาภิรัตน...กับคำว่า..มโนสำนึก...เจ้าค่ะ....

"ชอบ"..ข้อเขียน..ของคุณ ส.รัตนภักดิ์..เช่นกัน...(โลกแห่งจินตนาการ..นั้น..กว้างใหญ่..ความคิดฝันเปรียบ..เป็นเฉกเช่น..ก้อนเมฆ...ที่มีรูปแตกต่างดังแรงลม..พลานุภาพ..อาจอันตรายดังสายฟ้าแลบ..สวรรค์..หายสลายกลายเป็นฝน..หล่นสูงแดนดิน...พรหมหลายหน้า..ฟ้า..ลิลิต...ชีวิตให้คิดไป...(เมื่อเด็กๆชอบพูดเล่นว่า...มนุษย์(..)เหม็น..ชอบเคี่ยวเข็ญเทวดา).....เห็นจะเป็นเพราะ..หมด"ปัญญา"..อิอิ....สุดท้าย..คงเป็น..แค่.."ชั่งหัวมัน"..อ้ะะ...

"ขอให้มีความสุข..สงบ..ว่าง..วาง..สบายกายสบายใจ..ตลอดไป"เจ้าค่ะ....

โห...หัวใจคุณยายเนี่ยะ.....ใช้รถอะไรลากมา....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท