ประวัติศาสตร์ของวาทกรรมประชาธิปไตย ตอนที่ 5


3. ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับวิกฤติการเมืองไทย พ.ศ.2547-2556

 

จากกระบวนการการใส่วาทกรรมให้กับการรับรู้ แนวคิดทางการเมืองที่กล่าวไปเกี่ยวกับความจำกัดของระบอบประชาธิปไตย และความสำคัญของ “ความเป็นไทย” เมล็ดพันธุ์ความคิดในทำนองนี้ได้ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกสังคมการเมือง ค่อยๆ เติบโตทวีความเข้มแข็งขึ้นจนผลักดันรูปธรรมออกมากลายเป็นรูปแบบลักษณะการเมืองการปกครองที่ชื่อว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งในปัจจุบันความรับรู้ความเข้าใจทางการเมืองที่ถูกใส่วาทกรรมมานี้ ยังคงช่วยหนุนเสริม ปกป้องระบอบการเมืองดังกล่าว ทั้งนี้ความรับรู้ที่ช่วยค้ำจุนระบอบการเมืองที่ชื่อว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มีลักษณะพอประมวลได้ดังนี้ 

 

1. คนไทยที่รู้จักวาทกรรมแบบประชาธิปไตยแบไทยๆ ย่อมต้องเกลียดนักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงเข้ามาในรัฐสภา ก็คือต้นตอปัญหาในระบอบการเมือง เพราะนักการเมืองได้อำนาจมาจากการซื้อเสียง เมื่อเข้ามาแล้วก็ทุจริตคอรัปชั่น สร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ ทำลายประเทศ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า “วาทกรรมนักเลือกตั้ง”

2. คนไทยที่รู้จักวาทกรรมแบบประชาธิปไตยแบไทยๆย่อมรังเกียจการเลือกตั้ง เพราะเป็นที่มาของนักการเมืองเลวๆ และรู้สึกอึดอัดที่คนซึ่งสูงต่ำไม่เท่ากันจะมามีหนึ่งเสียงเท่ากันเมื่อเข้าคูหาเลือกตั้ง (One man one Vote) เพราะรับรู้ว่าประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนชนบทซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่นั้นขาดการศึกษา ขายสิทธิ์ขายเสียง ไม่รู้จักพอเพียง

3. คนไทยที่รู้จักวาทกรรมแบบประชาธิปไตยแบไทยๆเรียกร้องผู้นำที่มีศีลธรรมสูงส่งและมีความเป็นไทยมากกว่าผู้นำที่รับผิดชอบเชื่อมโยงกับประชาชน (เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่โง่ จน เจ็บ) และเรียกร้องความสามัคคีภายใต้ผู้นำที่มีศีลธรรมมากกว่าการต่อรองทางผลประโยชน์

4. คนไทยที่รู้จักวาทกรรมแบบประชาธิปไตยแบไทยๆ ต้องรับรู้ร่วมกันว่าแม้ประเทศไทยจะมีแต่นักการเมืองเลวๆ และประชาชนที่ไม่พร้อม แต่ก็ยังโชคดีที่ยังมีพระบารมีช่วยคุ้มครอง รักษาประเทศไทยให้สงบสุขร่วมเย็น เป็นเสาหลักให้แก่แผ่นดิน

5. คนไทยที่รู้จักวาทกรรมแบบประชาธิปไตยแบไทยๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกระบวนการป้องกันตัวเองของจิตใต้สำนึกทางสังคม ด้วยการกำจัดศัตรูผู้เห็นต่างว่า “ไม่ใช่คนไทย” เช่น เป็นคนไทยรึเปล่า  และไม่เข้าใจเอกลักษณ์เฉพาะของชาติจึงควรขับไล่ออกจากแผ่นดิน เช่น ถ้าไม่รักพ่อ ก็ขอให้ออกจากที่นี่ไปซะ เพราะที่นี่เป็นแผ่นดินของพ่อ รวมถึงการที่สังคมมักมีอาการหวาดวิตกว่าความเป็นไทยกำลังถูกคุกคามจากวัฒนธรรมต่างชาติอยู่เสมอ (อันเป็นที่มาของมาตรการเซ็นเซอร์ต่างๆ) การทำงานของจิตใต้สำนึกทางสังคม และลักษณะความรับรู้ทางการเมืองเหล่านี้ทำงานกันอย่างหนักหน่วงตลอดระยะความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา มีรูปธรรมให้เห็นเช่นคำอธิบายทางวิชาการ คำปราศรัยบนเวทีชุมนุม คำตักเตือนของผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้การทวีความสำคัญของหลักการเนื้อหาบางประการของ “ประชาธิปไตย”

 

 

หนังสืออ้างอิง

Cr. ตะวัน มานะกุล. The Inception: ว่าด้วยการตัดต่อ “ประชาธิปไตย” ไทย. http://www.echoyouth.org/post/80/inception-democracy/

หมายเลขบันทึก: 558271เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2014 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2014 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท