ความหมายของวาทกรรมประชาธิปไตย ตอนที่ 7


4. การคืนความหมายให้กับวาทกรรมประชาธิปไตย

     วาทกรรมประชาธิปไตย เริ่มต้นในประเทศตะวันตกเมื่อครั้งศตวรรษที่ 18 ในยุคที่เริ่มยุครู้แจ้ง (Enlightenment) ในยุครู้แจ้งนั้นมีความเชื่อว่าวาทกรรมประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีแก่นสารอันเป็นสากล กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตัวหมายและตัวหมายถึงนั้นต้องทะลุตรงกันอย่างโปร่งใส  แต่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่างๆในตะวันตกเองนั้นก็หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่เป็นเรื่องของการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการต่างๆขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือไม่ก็เป็นการวางหมากการเมืองอย่างปุบปับฉุกละหุกเป็นไปตามเหตุการณ์ทางการเมืองเป็นครั้งคราว แต่พอทำซ้ำไปซ้ำมานานๆเข้า สิ่งประดิษฐ์, วิธีการ, การเดินหมากเหล่านี้ก็เข้าที่เข้าทาง สามารถใช้การได้ ผลประโยชน์ก็ลงตัวกับทุกคน จนกลายเป็นข้อปฏิบัติและระเบียบสถาบันที่อ้างอิงถึงกันและกันได้ขึ้นมาในทางการเมือง แต่เมื่อข้ามทะเลมาแล้ว วาทกรรมประชาธิปไตยก็เป็นไปอย่างที่ข้างต้น กล่าวคือ ไม่มีความหมายที่แท้จริง ทุกอย่างอยู่ในขั้นของการปรับเปลี่ยน นิยามใหม่ ปรับปรุงใหม่อยู่เสมอ

     อย่างไรก็ดี ความใฝ่ฝนเรื่องความหมายของวาทกรรมประชาธิปไตยที่เป็นสากลจับต้องได้นั้นยังสมควรที่จะมีอยู่ เพียงแต่ต้องเข้าใจความจริงด้วยว่าวาทกรรมประชาธิปไตยนั้น โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นตัวหมายที่ล่องลอย ไม่มีเนื้อแท้ในตัวมันเองอย่างแจ่มแจ้ง อย่างน้อยในขณะนี้ประชาชนจะต้องถือว่าวาทกรรมประชาธิปไตยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ เป็นการให้การศึกษาแก่ตนเอง ประชาชนต้องต่อสู้ คิดค้น ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ ทะเลาะ ประสบ แก่งแย่งช่วงชิงวาทกรรมประชาธิปไตยที่พวกเรายึดถืออยู่นี้ให้เป็นวาทกรรมประชาธิปไตยให้เป็นวาทกรรมหลักให้ได้ กระนั้นการทะเลาะ ช่วงชิงนี้อย่าใช้ความรุนแรง โดยที่ไม่ถือว่าวาทกรรมประชาธิปไตยของตนนั้นถูกแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นผิดหมด โปรดอย่าลืมตัวหมายที่ล่องลอยไว้ด้วย โดยเฉพาะแนวคิดวาทกรรมประชาธิปไตยของ กปสส. นั้น

     แต่ที่ผมหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาใน gotoknow นั้น เพราะเรามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยก็ 80 กว่า ปีแล้ว เราได้นิยาม ปรับปรุง ตกแต่งความหมายของวาทกรรมประชาธิปไตยมานานพอสมควรแล้ว วาทกรรมประชาธิปไตยสมควรจะต้องมีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคอยู่ในระบบด้วย กล่าวคือเป็นประชาธิปไตยที่ค่อนข้างจะเป็นสากล ถ้ามีโอกาสวันหลังผมจะมาเขียนเรื่องประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ ให้ฟัง

 

 

หนังสืออ้างอิง

เกษียร เตชะพีระ. การเมืองวัฒนธรรมว่าด้วยประชาธิปไตย : บทนำเปรียบเทียบเชิงทฤษฎี ในรััฐศาสตร์สาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2537

หมายเลขบันทึก: 557916เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2014 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2014 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออวยพรให้อาจารย์ต้นและครอบคัว ....มีช่วงเวลาที่ดี, สุขภาพที่ดี, กำลังใจที่ดี และมีความสุขมากๆ ในวันปีใหม่ 2557 นะคะ



ขอให้ Dr. Ple มีความสุข ความสดชื่น สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนา และมีสุขภาพแข็งแรงนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท