พระใหม่ ไม่ใช่ พระเก๊ และ พระเก๊ ก็ไม่ใช่ พระใหม่


มีเพื่อนหลายท่านยังดูเหมือนจะ "งง" ระหว่าง พระใหม่ กับ พระเก๊ 
และโพสต์ภาพพระที่ทำให้ "มือใหม่หัดส่อง" สับสนได้โดยง่าย เข้าขั้น "มุสาวาทะ" เลยละครับ
********************
โดยเฉพาะพระเนื้อผง
----------------------------------------
"พระใหม่" นั้นน่าจะตรงกันข้ามกับ "พระเก่า"

เมื่อเกิดใหม่ๆ จะมีเนื้อปูนดิบนวลๆ (ปูนสุก) คลุมองค์พระ 
(วงการเรียกว่า แป้งโรยพิมพ์)
พอได้สักสองสามปีก็จะเริ่มมีผดใสๆ (ปูนดิบ) ขึ้นบนสัน

ประมาณ 5 ปีขึ้นไปจะมีคราบน้ำมันตังอิ้ว

ทั้งสามองค์ประกอบ จะเกิดหนามากขึ้นๆๆๆๆเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆ

จนดูเหมือนมีความเหี่ยว ของผิวพระ และจะชัดมากเมื่ออายุเกิน 50 ปีขึ้นไป

เมื่อเกิน 100 ปี มักจะมีความพรุน ให้เห็นชัดเจน

และมีร่องรอยทั้งธรรมชาติและจากการสัมผัสมากมาย

ดังนั้น พระใหม่ จึงยังพัฒนาอยู่ในชั้นต้นๆ ชัดเจน 
(เรียบๆ แต่ นวล ฉ่ำ เหลืองนิดๆ ตามอายุ)

"พระเก่า" ที่่าจะตรงข้ามกับ "พระใหม่"

ก็จะพัฒนาในขั้นปลายๆ ชัดเจน
( เหี่ยว นวล พรุน กร่อน งอก ฯลฯ มากมาย หลากหลายแบบ "มีอายุ")

-------------------------------------------------------
แต่ "พระเก๊" ที่น่าจะตรงกันข้ามกับ "พระแท้"

จะไม่มีขั้นตอนดังกล่าว ไม่มีทั้งความใหม่ ความเก่า และร่องรอยการพัฒนาการ หรือการใช้
ทุกอย่างมีอายุเดียว ก็วันที่ช่างเขาทำนั่นแหละ

ผมจะใช้คำว่า "พระยังไม่ได้แจ้งเกิด" จึงไม่มีวัดเกิด และไม่มีอายุให้นับ

ประมาณนี้ครับ

ใครชอบก็เล่นตามชอบครับ ไม่ว่ากัน แต่อย่าพยายาม "ยัดกรุ" ตีเข้าวัดใดๆ 

เพราะ ก็แค่เป็นพระโรงงาน

โรงงานไหนนั้นไปสืบเอาเองครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 557565เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2013 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2013 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท