พระซุ้มกอ แก่ดิน (อ่อนน้ำว่าน อ่อนไฟ) เนื้อครู แบบ "ดูง่าย"


เมื่อวานมีลูกศิษย์มาคุยทางโทรศัพท์ แสดงอาการสับสนในการดูพระกำแพงซุ้มกอ และพระดินดิบต่างๆ

ว่าจะดูได้ขาด มั่นใจ ได้อย่างไร

ผมก็ลองทดสอบความรู้แล้ว ยังฟังแล้วสับสนระหว่างลักษณะพระแท้ และพระเก๊

เลยนำภาพชัดๆ ของพระแก่ดิน หรือ อ่อนน้ำว่าน อ่อนไฟ มาให้เรียนรู้ เป็นตัวอย่าง แบบที่ดูชัดๆ ง่ายๆ 

โดยรวม ผิวพระจะดูเก่า และสะอาด ไม่เลอะเทอะ ที่ผิวจะมีคราบน้ำว่านเกาะอยู่กับคราบฝุ่นละออง หรือ ดิน ที่วงการเรียกว่า "คราบกรุ"

คราบกรุเหล่านี้จะคลุมอยู่แทบทุกส่วน ที่เคยเป็นผิวนอกในสมัยที่พระยังอยู่ในกรุ

แต่จะไม่มีในจุดที่ผิวเดิมกร่อนหายไปหลังจากออกมาจากกรุ

นี่คือหลักการดูเบื้องต้น ข้อที่ 1

ต่อไปก็ดูคราบน้ำยางไม้ที่เคลือบนอกสุดขององค์พระ

ที่จะมีความหนาให้เห็น ถ้าเป็นคราบบางๆนั้น น่าจะเป็นคราบน้ำว่านที่งอกมาภายหลัง

คราบน้ำยางนี้จะต้องประกฏในทุกจุดที่ยังไม่มีการกร่อน โดยเฉพาะในหลุมต่างๆ รอบองค์พระ แบบไม่มีข้อยกเว้น

คราบยางไม้นี้มักจะมี "คราบกรุ" เกาะอยู่ด้านนอกเสมอ

และมักจะมี "คราบปูน" นวลๆ แทรกปะปนอยู่ทุกระดับ เพราะมักจะเกิดได้ทุกอายุ

พระที่ล้างใหม่ๆ ไม่นานก็จะมีคราบปูนเกิดขึ้นมาได้อีก จึงต้องเห็นคราบปูนเสมอๆ

ใต้คราบปูนก็จะมีคราบน้ำว่านใหม่ ออกสีตามสีของน้ำว่านเดิม ตั้งแต่เหลืองอ่อนจนถึงแดงเข้ม

(ในองค์นี้เป็นเหลืองอ่อน)

ภาพนี้จะแสดงให้เห็นคราบน้ำว่านต่างอายุ จะต่างลักษณะ ต่างสีกัน ที่จะประกฏที่ผิวพระโดนสัมผัสจนกร่อน

ถ้าดูจากในหลุมด้านล่างของภาพ จะเห็นโทนสีจากเทาไปจนถึงแดง และนวลทุกจุด

คราบน้ำว่านจะปะปนกับคราบปูน และบางทีก็งอกมาทับคราบยางไม้

จึงต้องแยกให้ออก อย่าสับสน

ตามซอกมักจะมีก้อนน้ำว่านงอกให้เห็นเสมอ แม้จะอ่อนน้ำว่านก็ยังงอกประปราย

จะงอกจัดมากในพระแก่น้ำว่าน

การกร่อนของผิวและเม็ดแร่ต้องชัดเจน

ทำให้ดูเหี่ยวไปทั้งระบบ รวมทั้งเม็ดทราย เม็ดแร่ก็ต้องเหี่ยว

 
สำหรับพระแก่ไฟ แก่น้ำว่าน ได้เคยนำเสนอแล้ว แต่ถ้ายังสับสน จะถ่ายเน้นใหม่อีกรอบก็ได้

เพราะพระดูยากใตลาดล่างก็จะมีเนื้อไม่มาตรฐาน และค่อนข้างดูยากเป็นปกติอยู่แล้ว

การจับหลัก อ่านเนื้อ อ่านประวัติเท่านั้นจึงจะรอ

จึงนำพระที่หลากแบบมาลง จะได้เข้าใจและเลิกหลงทางเสียที 

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 556891เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2013 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2013 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ อาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้ตลอดมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท