วิศวกรโรงพยาบาล


ท่านผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งได้สอนผมในวงประชุมแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับงานระบบวิศวกรรมของโรงพยาบาล

 

ท่านบอกว่า ถึงแม้วิศวกรมิใช่แพทย์ แต่วิศวกรจะช่วยสนับสนุนงานของโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้แพทย์ทำงานได้ คนที่เป็นวิศวกรของโรงพยาบาลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในวงจรการรักษาพยาบาล และเป็นงานบุญ

 

งานของวิศวะมี ๔ ประเภทคือ

งานออกแบบ

งานติดตั้ง

งานดูแลรักษา

และงานซ่อม

 

ท่านสอนให้คิดว่า งานออกแบบระบบใหญ่ๆที่มีความซับซ้อนนั้น อาจจะไม่ใช่ความถนัดหลักของวิศวกรที่ทำงานในโรงพยาบาลแบบเราๆ งานเช่นนี้ควรยกให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ระบบ security คนที่ทำงานในระบบนี้เก่งกว่าเรา เราต้องยกหน้าที่งานออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยให้เขาทำ เป็นต้น

ส่วนงานติดตั้งนั้นมีความสำคัญและมีความเชื่อมโยงกับงานออกแบบครับ เพราะหากเราไม่ได้ออกแบบโครงสร้างเอง แต่เราต้องจัดการเรื่องแบบของการเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล งานนี้คนอื่นไม่ได้เก่งเท่าคนของเรา ดังนั้น การออกแบบในช่วงสอง (คือส่วนเชื่อมต่อ) และงานติดตั้งระบบต้องเป็นงานของเรา ตัวอย่างต่อจากเรื่องแรก คือเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อบริษัทผู้รับจ้างได้ออกแบบระบบมาแล้ว วิศวกรต้องเป็นผู้ตรวจสอบการเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล การเข้าได้กับโครงสร้างอาคารและระบบไฟฟ้า เป็นต้น

งานดูแลรักษา หรือ total preventive maintenance เป็นงานของเรา เป็นความรับผิดชอบของเรา แต่อาจจะพิจารณาเรื่อง outsourcing ได้ หากงานนั้นมีความซับซ้อนมาก (แต่ก็ยังเป็นหน้าที่หลักของเราอยู่นะครับ การควบคุมน่ะ) ระบบของงานมี ๓ แบบ คือระบบหลักที่วิศวกรต้องดูแลเท่านั้น เช่น เครื่องผลิตไฟฟ้า ระบบไอน้ำ ระบบทำความเย็น ต่อมาคือระบบที่วิศวะต้องดูแลร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น ระบบ central supply ระบบซักรีด งานโภชนาการ เป็นต้น ต่อมาคือระบบย่อยที่ยังเป็นความรับผิดชอบของส่วนกลาง (หมายถึงงานวิศวะนั่นแหละ) เช่น แอร์ ไฟ ประปา อันสุดท้ายก็คือ งานซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งในกรณีนี้ โรงพยาบาลของเรามีหน่วยงานที่ไม่ใช่วิศวกรดูแลอยู่แล้ว

งานสุดท้ายคืองานซ่อม อันนี้เป็นส่วนงานช่างที่วิศวกรต้องดูแลแน่ๆอีกเรื่องหนึ่ง

 

ขอบคุณนะครับ ที่กรุณาอบรม

หมายเลขบันทึก: 556798เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2013 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท