เมื่อฉันเจอผู้ป่วยตัวจริง เสียงจริง


      เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ดิฉันได้เรียนวิชาจิตเวชเป็นคาบสุดท้าย อาจารย์ได้ให้พวกเราได้เจอกับกรณีศึกษาจริงหรือผู้ป่วยจิตเวชจริงๆนั่นเอง ตื่นเต้นมากๆเลยค่ะ พี่เขาดูเป็นคนสดใสมากๆ^______^

 กรณีศึกษานี้ขออนุญาติเรียกว่า พี่เสือ(นามสมมุติ) อายุ38ปี ทำงานฝ่ายการศึกษานะคะ

เป็นผู้ป่วยวิตกกังวล(Anxiety disorder)แต่อาจารย์เฉลยตอนท้ายคาบนะคะ

จากการที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบถามประวัติพี่เสือ  ได้ข้อมูลดังนี้ค่ะ

-เคยไปพบแพทย์มาก่อน

-เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาก่อน

-รับประทานยาแก้เครียด มีผลทำให้ง่วงนอน

-น้ำหนักลดลง

-คิดว่าข้อดีของตนเองคือ เป็นคนยิ้มง่าย

-รู้สึกว่าอยู่กับปัจจุบันไม่ได้ กลัววันพรุ่งนี้ แต่ไม่มีอาการหวาดระแวง

-หงุดหงิดง่าย ซึ่งมีอาการนี้2เดือนแล้ว

-รู้สึกสับสนกับตัวเอง

-รู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำงาน เพราะเบื่อสภาพเดิมๆที่ต้องเจอ

-มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานน้อยลง

-เห็นคนอื่นมีความสุขแล้วรู้สึกอิจฉา

-กิจกรรมยามว่างชอบดูทีวี อ่านหนังสือ

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ทำการบำบัดรักษาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ

อาจารย์ถามพี่เสือว่าตอนนี้อยากพัฒนาอะไร และอยากพัฒนาอะไรมากที่สุด (โดยให้หลับตาทำสมาธิ) เมื่อพร้อมแล้วให้เขียนออกมาเป็นข้อๆ หลังจากนั้นให้เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยพบว่า

  1. อยากอยู่กับปัจจุบันให้ได้
  2. ไม่อยากเบื่องาน
  3. อยากคิดเป็นเหตุเป็นผลให้มากกว่านี้
  4. อยากอยู่กับครอบครัวแล้วมีความสุข
  5. อยากมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและเพื่อนร่วมงานอย่างมีความสุข
  6. อยากรับโทรศัพท์แบบมีความสุข
  7. อยากเล่นinternetอย่างมีความสุข

อาจารย์ได้ดูสิ่งที่พี่เสือให้ความสำคัญ ซึ่งkeywordของพี่เสือก็คือ”ความสุข”

หลังจากนั้นให้คะแนนความสุข จาก0ถึง10 พบว่าก่อนทำกิจกรรมพี่เสือให้คะแนน 5คะแนน

 

อาจารย์ได้ให้พี่เสือวาดรูป แต่พบว่าพี่ไม่เสือไม่อยากวาด ถ้าวาดจะวาดแค่วงกลม1วงเท่านั้น

 

กิจกรรมต่อไปเป็นกิจกรรมปั้นดินน้ำมัน โดยปั้นให้เป็นงาน คิดว่านี่คืองาน ให้เป็นเหตุเป็นผลกันแล้วสะท้อนออกมา

ซึ่งเราจะดูว่าการที่เขาปั้นคน เขาปั้นใคร ตัวเขา พ่อ แม่ ซึ่งถ้าปั้นใครก็ไม่รู้แปลว่าความคิดของเขาล่องลอย

หลังจากนั้นได้ให้พี่เสือเล่าเรื่องราวอธิบายการปั้น พบว่าปั้นสถานที่ ที่กำลังจะไปพักผ่อนกับครอบครัวในสุดสัปดาห์

หลังจากนั้นถามความรู้สึก พี่เสือบอกว่ารู้สึกมีสมาธิ รู้สึกว่าบางครั้งอยู่แต่อนาคต คิดแต่เรื่องไปเที่ยว

 

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ถามถึงประเด็นที่ว่า อยากรับโทรศัพท์แบบมีความสุข คือแบบไหน

พี่เสือตอบว่าไม่อยากคุยกับใคร แต่เมื่อก่อนเคยชอบรับโทรศัพท์

บางครั้งโทรศัพท์ดังก็ต้องรับด้วยหน้าที่ บางครั้งก็ให้คนอื่นรับแทน

อาจารย์ได้ให้พี่เสือคิดบทสทนาที่จะคุยกันแบบมีความสุข โดยให้ตัวแทนนักศึกษา2คนเป็นผู้แสดงบทบาท

คำแนะนำหลังจากแสดงบทบาทเสร็จแล้ว

-ไม่พูดคำว่า”อย่าเครียดนะ”เพราะมันทำให้คนฟังรู้สึกว่าเรากำลังเครียดอยู่

-ถ้าตัดบทได้ให้ตัดบทเลย

-เมื่อยืนยันคำตอบแล้ว ไม่ควรถามกลับ เช่น พอเป็นไปได้มั๊ย?

-หากรู้สึกอึดอัดให้บอกคนฟังว่าอีกสักพักจะโทรกลับไปใหม่ เพื่อหยุดเรียบเรียงความคิด

 

กิจกรรมต่อไปเป็นกิจกรรมที่ให้คิดสิ่งที่เราชอบ แล้วเดาว่าคนข้างๆจะคิดเหมือนเรา แล้วสร้างปฎิสัมพันธ์กับเค้า เช่น เราชอบฟังเพลง ให้ถามคนข้างๆว่า คุณชอบฟังเพลงใช่มั๊ย

ทำกิจกรรมที่ชื่อว่ากระดาษรักกัน โดยมีกระดาษสี3สี ะกรรไกร และกาว ทำยังไงก็ได้ให้ตรงกับหัวข้อกระดาษรักกันโดยทำร่วมกับตัวแทนนักศึกษา2คน(ไม่ใช่2คนแรก) อาจารย์ดูการapproachกลุ่มของเขา

 

กระดาษรักกันทำออกมาคล้ายแบบนี้นะคะ เป็นกระดาษคล้องกันคล้ายโซ่ค่ะ

เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วมีการประเมินซ้ำ โดยทบทวนว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง ได้ข้อคิด คำแนะนำอะไรบ้าง จะเอาไปใช้ต่ออย่างไร บทสนทนาที่ทำไปทำยงไงถึงจะโอเค กิจกรรมช่วยอะไร จำได้มั๊ย

หลังจากนั้นให้คะแนนความสุขหลังทำกิจกรรม โดยการหลับตาเหมือนเดิม พบว่าพี่เสือให้คะแนน 7คะแนน

และก่อนจากกันอาจารย์ได้ให้Home programกับพี่เสือ โดยให้ผู้รับบริการวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัว หากคิดว่าทำได้ก็ลงมือทำเลยค่ะ^^

 

ต่อไปเราจะมากล่าวถึงกระบวนการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดกันนะคะ ว่ากิจกรรมที่อาจารย์ได้บำบัดรักษาเป็นตัวอย่างใช้Modelอะไร มีกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดอะไรบ้าง และถ้าเราจะรักษา จะรักษาอะไร ติดตามได้ในหัวข้อถัดไป ในลิ้งค์นี้เลยค่>>>>>>

http://www.gotoknow.org/posts/556757

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 556756เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท