ปัจจัยที่ 11 "การเลี่ยม" และ "การใส่กรอบ" ที่ทำให้เนื้อพระเนื้อผงพัฒนาแตกต่างกัน


ผมคยไล่เลียงให้ท่านที่สนใจศึกษาพระเนื้อผงได้ทราบว่า.....

ความเป็นไปได้ (Probablility) ของรูปแบบของผิวที่ปรากฏของพระเนื้อผงนั้น มีมากมาย เป็นล้านๆแบบ

ด้วยปัจจัย 10 ประการคือ

1. ระดับปูนสุก 2. ระดับปูนดิบ 3. ระดับตังอิ้ว 4. ความหยาบละเอียดของการบดมวลสาร 5. ความชื้นของพระขณะกดพิมพ์ 6. ความหนาของเนื้อ 7. การลงรักแบบต่างๆ  8. สภาพความชื้นแวดล้อมที่พระอยู่ 9. สภาพการใช้บ่อย/ไม่บ่อย 10. การล้าง/ไม่ล้างพระ

 

วันนี้ขอเสนอเพิ่มอีกข้อหนึ่ง คือ การเลี่ยม และใส่ตลับแบบต่างๆ เป็นข้อที่ 11

ที่พบว่าพระที่เลี่ยมเปิดหน้าปิดหลัง จะฉ่ำด้านหลังและกร่อนด้านหน้า

และพระที่เลี่ยมเปิดหลังจะกลับกัน คือ ฉ่ำด้านหน้า กร่อนด้านหลัง

และถ้าเลี่ยมพลาสติก ปิดสนิท เนื้อก็จะ "หยุดนิ่ง"

หรือ ถ้าใส่กรอบธรรมดาแล้วใช้ตลอด ก็จะฉ่ำทั้งหน้าและหลัง เป็นต้น

 

ดังนั้น ทั้ง 11 ปัจจัย ถ้ากำหนดหยาบๆว่าแต่ละปัจจัยมี แค่ 10 ระดับ ก็จะมีความเป็นไปได้ แสนล้านแบบ

จากที่เคยเสนอไว้เดิม หมื่นล้านแบบ วันนี้ขอเพิ่มอีกปัจจัยหนึ่งครับ

 

หมายเลขบันทึก: 556514เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท