การดู "ผิวไฟ" พระดินดิบ


เมื่อวานไปตลาดพระ เห็นพระศิลปะลำพูนองค์หนุึ่งเป็นเนื้อกำแพงชัดๆ มีคราบต่างๆแบบดินดิบครบ แต่ไม่เป็นลำดับชั้น ฯลฯ

เห็นแล้วตกใจมาก เพราะการพัฒนาฝีมือช่างทำได้ดีกว่าที่คิด

กลับบ้านจึงรีบไปหาพระกำแพงที่มีลักษณะของน้ำว่านและผิวไฟมาให้ศึกษา

เกรงว่าปล่อยไว้นานละก็ หลายท่านอาจจะ "โดน" พระระดับนี้ก็ได้ครับ น่ากลัวจริงๆ 

 

ลักษณะ "ผิวไฟ" ของพระกำแพงนั้น จะต้องมี

1. ความหลากหลายของสีเนื้อ 
2. ความหลากหลายของสีคราบน้ำยางที่ไหม้ไฟ ตามระดับการโดนเปลวไฟ
3. ความสอดคล้องกันของสี "ดำ-แดง" ของคราบยางที่ไหม้ (ดำ) และ เนื้อดินสุก (แดง)
4. ไล่โทนสีทั้งดำและแดง ไม่ขัดแย้งกันรอบองค์

และต้องดูตามหลัก 357 ของการดูพระเก่า ประกอบไปด้วย กันพลาดครับ

หมายเลขบันทึก: 556342เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ระวังเรื่องการเอาดินเก่าตามวัดร้างหรือเอาเก๊เก่ามาตบแต่งด้วยครับ เพราะช่วงนี้เห็นของฝีมือดีๆออกมามากมาย ประกอบกับมีช่างฝีมือมาขอซื้อพระเก๊เก่า โดยไม่ทราบวัตถุประสงค์ ก็ยิ่งทำความหนักใจให้กับผู้เล่นทั้งหลาย หลักวิชาต่างๆคงพอช่วยได้บ้าง แต่ก็ช่วยได้เฉพาะผู้ทีมีประสบการณ์ค่อนข้างสูง ผู้เล่นหน้าใหม่อาจจะโดนมากหน่อยกว่าจะเรียนรู้ได้สำเร็จ หวังว่าคงไม่ท้อและตั้งใจศึกษาให้เชี่ยวชาญ โชคดีมีพระแท้ใช้ทุกท่าน...สวัสดี

ขอบคุณครับ

หลักการดูพัฒนาการของเนื้อและผิวจะสามารถก้าวข้ามประเด็นเอาดินเก่ามาทำๆได้ครับ

เพราะยังไงผิวก็ต้องทำใหม่อยู่ดีครับ

ขอโทษครับไม่ใช่ดินเก่าครับ แต่เป็นอิฐมอญหรือกำแพงเมืองเก่า แล้วนำมาแกะ เพราะเคยเห็นนั่งแกะอยู่คนหนึ่งครับ เพียงแต่ว่าไม่ได้สนใจก็เลยไม่รู้รายละเอียดมากนัก ประกอบกับไม่ได้เล่นสายนี้โดยตรงก็เลยไม่สามารถออกความเห็นอะไรได้มากนัก

นั่นแหละครับ ยังไงก็ต้องทำผิวให้เก่า เนียน ฉ่ำ และงอก ที่ดูไม่ยากครับ อิอิอิอิอิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท