เราควรต่อสู้อย่างไรกับระบอบทักษิณ...


ผมเขียนสิ่งที่ได้ฟังและเรียนรู้จากการเรียนภาคสนาม (หน้าจอคอมฯ) จากอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ขึ้นปราศัยในวันรัฐธรรมนูญ ไว้ที่นี่  ปรากฎว่ามีเพื่อนๆ เข้ามาให้ความเห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย  แม้ผมจะเขียนเน้นย้ำในตอนหนึ่งว่า....

  ....ระบอบทักษิณทำลาย "การฟังเอาความ" "ฟังเอาเรื่อง" "ฟังเอาเหตุและผล" ทำลายการอธิปรายแบบตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ ดิสเครดิตและทำลายความน่าเชื่อถือของคนพูดโดยไม่ได้คำนึงว่าผู้พูดๆ เรื่องอะไร ด้วยเหตุและผลอะไรอย่างไร  จึงเป็นระบอบที่ตัดสินคน ส่งเสริมการดูถูกคน ทำให้ประชาชนแบ่งชนชั้นแและขัดแย้งกันมากขึ้นๆ ....  

ท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นท่านหนึ่งยังเป็นแบบคนในระบอบทักษิณ คือ ไม่ได้ "ฟัง(อ่าน)เอาความ" จึงอาจทำให้อภิปรายไม่ตรงประเด็น.... ผู้แสดงความเห็นท่านหนึ่งเห็นด้วยกับผม ดังข้อความเห็นว่า


....แล้ววันนี้ บนบอร์ดนี้ ก็ยังพบผู้ใช้วิธีการเช่นเดียวกัน คือ ยกความผิดผู้อื่น กลบเกลื่อนผิดตนเอง หรือผู้ที่ตนพึงใจ แล้วเช่นนี้ ความรู้ของเด็กไทยที่รู่ว่าสิ่งใดผิดพลาดนั้น เอาไว้ใช้กลบเกลื่อนยามตนผิดกระนั้นหรือ...

พฤติกรรมแบบนี้มีมาก่อนระบอบทักษิณ อดีตนายกบรรหาร ศิลปอาชา ถูกถล่มกลางสภาว่าไม่ใช่เชื้อสายไทย อดีตนายกอภิสิทธ์ เวชาชีวะ ถูกมุ่งถล่มว่าหนีทหาร ฯลฯ

การอภิปรายโต้ตอบกันแบบ "ไม่ตรงประเด็น" คือปัญหาใหญ่ที่นักการเมืองไทยทำจนวิบากกรรม ทำให้คำว่า "นักการเมือง" มีคุณค่าตกต่ำอย่างวันนี้ ท่านอาจมองว่านี่ไม่ได้เกิดเพราะระบอบทักษิณ เพราะเกิดมานานแล้ว แต่ผมคิดว่าพฤติกรรมแบบนี้ ระบาดอย่างรุนแรงตอนที่แกนนำเสื้อแดงนำมาใช้....

ไม่เฉพาะคน "โนเนม" อย่างเราเท่านั้นครับ ระดับประเทศก็ตกร่อง "หลงประเด็น" เหมือนกัน ไม่เชื่อ ลองดูรายการเจาะข่าวเด่นของวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ นาทีที่ ๗๐ เป็นต้นไป (ที่นี่) สรยุทธ เชิญ ศ.ดร.สุรพล (อดีตอธิการธรรมศาสตร์) กับ นายจาตุรนค์ (รักษาการ รมต. ศึกษาธิการ) มาคุยกันเรื่องข้อกฏหมาย จะเห็นว่ามาเถียงกันเรื่องที่ไม่ตรงประเด็นกับปัญหา แม้ทั้งสองท่านคุยตรงประเด็นของพิธิกร แต่พิธีกรเชิญคุยไม่ตรงประเด็นกับปัญหา ..... แสดงว่าปัญหาคือ "สื่อ" 

ประเด็นสำคัญคือ 
๑) ระบอบทักษิณ ที่ทำลายและโกงกินบ้านเมือง
๒) เราต้องการแก้ไขไม่ให้มีระบอบทักษิณ
๓) เห็นด้วยหรือไม่กับข้อ ๑) และ ข้อ ๒)  ถ้าเห็นด้วย จะช่วยกันอย่างไร

หากนักวิชาการทั้งสองยังไม่เห็นตรงกันใน ๓) ต้องไปคุยประเด็น ๒) ซึ่งต้องเห็นตรงกันก่อนในประเด็นที่ ๑)  ไม่ใช่ให้มาคุยว่า ใครผิดใครถูกตามข้อกฏหมายว่า การลาออกจากรักษาการนายกทำได้หรือไม่.....  ผลก็เลยกลายเป็นการส่งเสริมความขัดแย้งกันต่อไป....

ดังนั้นก่อนจะไปปฏิรูปประเทศ หรือสร้างระบอบใหม่ที่คนไทยได้ สมานฉัน เสมอภาค รู้และเคารพสิทธิ อีกทั้งยังเป็นระบอบที่ผดุงรักษาคุณธรรม ต้องมาร่วมกันทำกติกาในการสนทนาง่ายๆ และกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน จึงขอเสนอและชักชวนให้ปฏิบัติดังนี้

๑) "ตรงประเด็น" สนทนาอภิปรายให้ตรงประเด็นกับปัญหาหลักเสมอ เน้นเนื้อความสารว่าเรื่องอะไรด้วยเหตุผล/หลักฐานอะไร มากกว่าให้ความสำคัญกับแหล่งใดใครพูด
๒) "เห็นคุณค่า" สนทนาอย่างเห็นคุณค่าและประโยชน์จากการคุย แลกเปลี่ยนด้วยความเชื่อมั่นว่าต้องมีทางออก และที่สำคัญเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ไม่ดูถูกตัดสินว่าพูดอย่างนี้เพราะอยู่สีนี้ๆ
๓) "กล้าแสดงจุดยืน" ทุกคนต้องกล้าแสดงจุดยืนหรือความเห็นของตนเอง ไม่เป็น "ไทยเฉย" ต้องตัดสินใจและแสดงออกว่าตนเองคิดว่าอะไรถูก อะไรไม่ถูก แจ้งเหตุผลว่าทำไมคิดอย่างนั้นๆ

ผมเชื่อนักวิชาการอย่างจาตุรนค์ ฉายแสง ไม่ใช่ไม่รู้ว่ากำลังคุยอยู่แบบไม่รู้ว่ากำลังอยู่ประเด็นใด แต่เพราะเห็นว่าไม่ต้องแก้ไขระบอบทักษิณ และสิ่งที่อยู่ในใจของเขาขณะนี้มีดีกว่าแก้ระบบทักษิณ ผมไม่คิดว่าจาตุรนค์จะเป็น "ทหาร" หรือเครื่องมือของทักษิณ...เพื่อนที่ผมเคารพท่านหนึ่งบอกว่า....จาตุรนค์ กับสหายสมัยตุลา ๑๙ เหล่าซ้ายจัด อาจจะกำลังใช้ระบอบทักษิณเป็นเครื่องมือ.....

สุดท้ายสรุปว่า  เราจะ เขียน/คุยแบบ "ตรงประเด็น เห็นคุณค่า และกล้าแสดงจุดยืน".....

ผมจิตนาการว่า หากนักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่เป็น "ไทยเฉย" ออกมาแสดงจุดยืนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งทุกคน จะเกิดพลังมวลชนอีกชนิดหนึ่งที่ส่งให้การปฏิรูปประเทศไทย สำเร็จได้จริงๆ

๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔

ขอเสนอให้ครู อาจารย์ และข้าราชการทุกคน ใช้โอกาสนี้ในการ สร้างกระบวนการเรียนรู้การเมืองให้มากที่สุด หากมีบรรยกาศแบบนี้แบบที่เรา "ตรงประเด็น เห็นคุณค่า และกล้าแสดงจุดยืน" จะทำให้ปัญญาประเทืองเฟื่องฟูทีเดียว......


คำสำคัญ (Tags): #ระบอบทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 556198เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2013 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สู้อย่างอหิงสา

เเละสัตตยาเคราะห์ครับ...

การต่อสู้นั้น มันมีสัญชาตญาณนำ. ส่วนการรับมือนั้น มีปัญญญาณนำ

ท่านจะเลือก ต่อสู้ หรือ เลือกรับมือดีเล่า

ท่านทราบไหมว่า ปรัชญาอิสลาม สอนเรื่องการเมืองไว้ครบถ้วนแล้ว อย่างครบวงจร ปรัชญาอิสลามไม่สนับสนุนการทำลายล้าง แม้แต่ความชั่ว ยุยงให้รับมือให้มั่น ด้วยองค์แห่งธรรมที่มีทั้งหมด. จากนั้น ทำสิ่งดี สิ่งชั่วให่เกิดความจีรัง (อย่าพยากรณ์ว่าจะดับไปแบบไร้คุณค่า) จากนั้น นำสู่ลูกหลานด้วยวิทยะปัญญา(อิคมะห์) (วิทยาศาสตร์+ปัญญา). เพื่อผลที่มุ่งหวังคือ ลูกหลาน จะไม่ตีองย้อนมาลองผิด ลองถูก อีก แบบ เกิด-ดับ เกิด-ดับ วนไปวนมาไงล่ะ

ปรัชญาอิสลาม สอนให้รักษา ใจและ ปาก ให้สะอาด ไม่พิพากษาใครว่าผิด หรือ ถูก (แต่สอนให้เตือนว่า หวาดเสียว) ปรัชญาอิสลาม สอนให้เคารพในบัญชีใคร บัญชีมัน ( มีผู้สอบสวน อนุมัติ มีวันพิพากษาแท้จริงจากผู้พิพากษาสูงสุด ที่เป็นกลางชัวร์ ไม่รับสินบน ไม่ต่องเสพสิ่งใดจากสินบนนั้น )

แต่ทำเช่นไร ที่ มนุษย์6500 กว่าล้านคน จะอยู่ในโอวาท ผู้สร้างมนุษย์ผู้เดียวได้ล่ะ เปิดกว้าง ไม่ปิดกั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท