หินแร่ภูเขาไฟ ใช้จับตรึงสารพิษและแก้ปัญหาดินเสื่อมจากแร่ธาตุฟอสฟอรัส


ธาตุอาหารพืชที่จำเป็นและมีความสำคัญค่อนข้างมากก็คือ ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่กล่าวมาอย่างนี้ใช่ว่าธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม และธาตุพิเศษ จะไม่จำเป็นนะครับ เพียงแต่จะพูดในเรื่องของความสำคัญหรือปริมาณที่พืชต้องการนำแร่ธาตุสารอาหารต่างๆเหล่านี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบให้แก่เซลล์  เพื่อช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างสมดุลเป็นไปตามการปรุงแต่งของธรรมชาติที่คำจุนเกื้อหนุนได้อย่างเหมาะสม เพราะถ้าขาดธาตุอาหารหลัก (N P K ) เหล่านี้ พืชจะแคระ แกร็น ชะงักงัน ชะลอการเจริญเติบโต สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน เมื่อเห็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่ดินแน่น ดินแข็ง หรือดินทรายจัด กับพืชที่อยู่ในแหล่งของน้ำไหลทรายมูล ดินดำน้ำชุ่ม การเจริญเติบโตก็จะแตกต่างกันอย่างแน่นอน

เมื่อเป็นธาตุอาหารหลัก ช่วยสร้างการเจริญเติบโตให้แก่พืชเป็นหลัก และต้องมีสะสมอยู่ในดินมากกว่าแร่ธาตุสารอาหารตัวอื่น ๆ เป็นหลัก  อีกทั้งพืชก็จะดูดกิแร่ธาตุสารอหารเหล่านี้เป็นอาหารหลัก  จึงทำให้ดินสูญเสียหดหายไปอย่างรวดเร็ว   เราจึงเห็นแต่พี่น้องเกษตรกรมักจะซื้อปุ๋ยเคมีที่มีแร่ธาตุอาหารเพียงหนึ่ง สอง หรือสามตัวอย่างเช่น 15-15-15, 16-20-0, 46-0-0 เป็นหลักเท่านั้นในการเพิ่มเติมเสริมลงไปในดิน ก็เนื่องด้วยเหตุเหล่านี้นี่เอง ต่อมามีการพัฒนาองค์ความรู้จนมีขีดความสามารถมากขึ้น  มีการใช้กลุ่มของหินปูนที่มีองค์ประกอบของ ธาตุหลัก ธาตุรอง มาใช้แทนปุ๋ยเคมีอยู่บ้าง ซึ่งนั่นก็คือ ปูนมาร์ล, ปูนเปลือกหอย, ปูนบด (แคลเซียมคาร์บอเนต [ca (co3) 2], โดโลไมท์ (แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์บอเนต [Ca mg (co3)2] )  หรือ ฟอสเฟต [Ca3 (Po4)] ซึ่งแร่ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเซียมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แร่ธาตุฟอสฟอรัส เมื่อสะสมอยู่ในดินนานเข้าก็ทำให้ดินเสื่อม ดินเสีย เนื่องจากฟอสฟอรัสเมื่อสะสมอยู่ในดินมากเข้า ก็จะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเนื่องจากการทำปฏิกริยากับแคลเซียมแร่ธาตุต่างๆ จากดิน ทำให้เกิดการแยกย้ายสลายตัวของฟอสฟอรัสหรือแร่ธาตุสารอาหารต่างในดินออกไปเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ยากขึ้น ละลายยาก ไม่ละลาย  บางครั้งกรดฟอสฟอรัสก็ทำปฏิกิริยาให้ดินเหนียวปล่อยประจุพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีส ออกมาจนเป็นพิษต่อพืช

อย่างไรก็ตาม มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องอิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารของข้าว ข้าวโพดในชุดดินเปรี้ยวจัด ชุดรังสิตกรดจัด  โดย. รัตนชาติ ช่วยบุดดา, จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข,พจนีย์  มอญเจริญ, เอ็จ  สโรบล ว่าเมื่อมีการใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ ซีโอไลท์ (Zeolite) ลงไปในดิน สามารถที่จะช่วยทำให้ดิน มีคุณภาพที่ดีขึ้นจากเดิม โดยทำให้ฟอสฟอรัสปรับสภาพตัวเองและแร่ธาตุสารอาหารอื่นๆ ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดกินขึ้นไปใช้ได้มากขึ้น จึงช่วยเพิ่มผลผลิต เร่งการเจริญเติบโต โดยเฉพาะกับพืชที่ใช้ทดสอบในงานวิจัยครั้งนี้นั่นก็คือ ข้าวและข้าวโพด ถือว่ามีการเจริญเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญอีกทั้งช่วยลดปริมาณเมล็ดข้าวผอมข้าวลีบลงไป โดยมีความแตกต่างจากดินที่ไม่มีการใช้หินแร่ภูเขาไฟร่วมด้วยอย่างชัดเจน  นอกจากหินแร่ภูเขาไฟจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีรายงานที่เกี่ยวกับเรื่องการจับตรึงสารพิษในดิน (toxin binder) ได้ดีอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นดินที่มีการฉีดพ่นยาคุมฆ่าหญ้าหรือ ยาฆ่าแมลงสารเคมีกำจัดศัตรูที่ร่วงหล่นตกลงไปสะสมในดินมายาวนาน หินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วยให้ดินสะอาดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชมากขึ้น

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555681เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท