ผลิตผลจากหินแร่ภูเขาไฟที่ใช้ในการเกษตร


วัตถุต่างๆ ที่ปะทุออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็น หินชั้นในลักษณะต่างๆ  ลาวา  ก๊าซและไอน้ำ  นอกจากจะดูเหมือนว่าก่อให้เกิดอันตรายจากการกำเนิดเกิดขึ้นของภูเขาไฟ แต่ในอีกมุมมองหนึ่งก็สามารถนำไปประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้มากอยู่พอสมควร  ก๊าซและไอน้ำ ก็จะอาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ อาบน้ำแร่แช่น้ำอุ่น กันไปตามเรื่องตามราว  ส่วนหินชั้นภูเขาไฟ และลาวา นั้นก็สามารถนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง, ใช้ในการประดับประดาตกแต่งบ้าน, ใช้ในการขัดผิว บำรุงเส้นผม และในอีกภาคส่วนหนึ่งคือการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร เพื่อทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืช

ส่วนใหญ่เราจะเรียกผลิตผลจากลาวาหรือหินแร่ภูเขาไฟกันว่า หินซีโอไลท์ (Zeolite) ซีโอ = เดือด, ไลท์ มาจาก Lithose = หิน เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า หินเดือด, หินลาวา ซึ่งมีมากมายหลายชนิดในโลกนี้ แต่แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ 1. เท็กโตซิลิเกต (Tektosilicates Tectosilicate Zeolite group true zeolites) แบ่งออกเป็น 8 ชนิดหลักๆ คือ 1. Analcime  2. Chabazite 3. Gismondine 4. Heulandite  5. Natrolite  6. Mordenite 7. Brewsterite  8. Unclassified  และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ เท็กโตซิลิเกต (Tektosilicates Tectosilicate Zeolite group related species)  ซึ่งหินแร่ภูเขาที่ใช้การเกษตรของประเทศ ก็จะมีอยู่ในกลุ่มของ เท็กโตซิลิเกตเช่นกัน และก็อยู่ในหมวดหมู่ย่อยลงอีกคือกลุ่มของ โมเดนไนท์ และ บริวสเตอไรท์ ซึ่งก็คือกลุ่ม พัมมิช, สเม็คไทต์, ม้อนท์โมริลโลไนท์ และไคลน็อพติโลไลท์  

ส่วนประกอบของหินแร่ภูเขาไฟส่วนใหญ่มี ซิลิก้า  (Sio2)  = 69.77%, อลูมิมินา (Al2O3)  = 14.69%, เฟอริกออกไซด์ (Fe2O3) = 1.22 %, แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) = 0.28 %, แคลเซียมออกไซด์ (Cao) = 1.08%, โพแทสเซียมออกไซด์ (K2O)  = 4.77%,  ฟอสฟอรัสเพนออกไซด์ (P2O5) = 0.03%, ส่วนที่หายไปหลังการเผา (Ig.loss) = 4.72, ความชื้น (H2O  = 0.58 กำมะถัน(S)  = nil, โบรอน (B)  = 300 ppm, แมงกานีส (Mn) = 300 ppm, ทองแดง  (Cu) = 4 ppm, โมลิบดินัม (Mo) < 6 ppm, สังกะสี (Zn)             = 30  ppm จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงมีการนำไปใช้ในภาคการเกษตรต่างๆมากมาย มีทั้งการนำไปผสมกับปุ๋ยเพื่อให้ปุ๋ยที่ละลายและสูญเสียเร็วกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า, การนำหินแร่ภูเขาไฟที่ผ่านการบดเพื่อให้แตกป่นละเอียดแล้วนำไปโรยรอบทรงพุ่มใต้โคนต้นเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเร่งการเจริญเติบโตให้แก่พืช ช่วยลดการเข้าทำลายของโรคแมลงเพลี้ยหนอน รา และไร  ในกรณีนี้ช่วยทำให้เกษตรกรลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารพิษที่เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลงลงไปได้มาก และหินแร่ภูเขาไฟที่มีคุณสมบัติพิเศษมากๆ คือมีค่าความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง ๆ (C.E.C. = Cation Exchange Capacity) ก็สามารถนำไปใช้ในงานปศุสัตว์และประมงสัตว์น้ำ เช่นการลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ เล้าไก่ โรงเรือนเลี้ยงหมู เป็ด โค กระบือ หรือฟาร์มสัตว์เลี้ยงต่างๆ อย่างสุนัข แมว กระต่าย หนู ฯลฯ หรือใช้ในการจับก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และมีเธน ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ อย่างเต่า ตะพาบ เป็นต้น

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555680เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท