รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลจาก การเรียนรู้ในหน่วย โคลงสุภาษิต


กิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยนี้นักเรียนจะเรียนรู้และทำกิจกรรม

โดยสังเขปดังนี้

    ๑. เรียนรู้คำประพันธ์ และที่มา

   ๒. เรียนรู้เนื้อหา จากสื่อที่ครูทำ  

          โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ tipsolostriyang.pps 

          โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ  tipnarutum56.pps

    ๓. แสดงบทบาทสมมุติให้สอดคล้องกับคำสอน

    ๔. เล่นปริศนาอักษรไขว้ 

    ๕. กิจกรรมใครเอ่ย

 

       ซึ่งกิจกรรมใครเอ่ยนี้  เป็นกิจกรรมที่ครูภาทิพเพิ่งเริ่มใช้เป็นครั้งแรกกับการเรียนเรื่องนี้  โดยมีรูปแบบดังนี้

      ๑. ครูแจกกระดาษแผ่นเล็ก ๆ สำหรับเขียนชื่อตนเอง และชื่อเพื่อน   คนละ ๕ แผ่น

      ๒. ให้นักเรียนเขียนชื่อตนเองที่มุมบนด้านขวาทั้ง ๕ แผ่น

      ๓. ครูนำชื่อโคลงสุภาษิตมาเขียนบนกระดาน ๕ บท

          ๑)  เพราะความดีทั่วไป    ใครเอ่ยดีกับทุกๆ คน ปฏิบัติกับทุกคนเหมือนๆกัน

               นักเรียนเขียนชื่อเพื่อนคนนั้น  ครูรวบรวมคำตอบตั้งไว้ แล้วเขียนคำถามข้อต่อไป  เก็บคำตอบ ทำเช่นนี้กับทุกข้อ

          ๒) เพราะไม่พูดร้ายต่อใครเลย  ใครเอ่ยไม่อิจฉา ไม่นินทาเพื่อน

          ๓) เพราะถามฟังความก่อนตัดสิน  ใครเอ่ยไม่เชื่อคนง่าย  มีเหตุผล

          ๔) เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน  ใครเอ่ยมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ

          ๕) เพราะอดกลั้นต่อผู้อื่น   ใครเอ่ยอดทนไม่โต้ตอบไม่โกรธเมื่อเพื่อนหยอกล้อหรือกลั่นแกล้ง

 

         เมื่อได้คำตอบครบทั้ง ๕ ข้อ  ครูนำคำตอบข้อที่ ๑ มาเขียนชื่อ

ผู้ที่ได้รับการเสนอ

        ข้อที่ ๑ ห้อง ม.๒/๑๒ (๓๕ คน)  นักเรียนเสนอชื่อ มา ๘ คน  คนที่ได้คะแนนสูงสุด ๑๒ คะแนน และ ๑๐ คะแนนตามลำดับ ต่ำสุดคือ ๓ คะแนน

        ข้อที่ ๒ นักเรียนเสนอชื่อมา ๙ คน คะแนนสูงสุด  ๑๐ คะแนน และ ๗ คะแนน ต่ำสุด  ๒ คะแนน

        ข้อที่ ๓ นักเรียนเสนอชื่อมา ๗ คน คะแนนสูงสุด ๑๓ และ๙ คะแนน ต่ำสุด ๒ คะแนน

        ข้อที่ ๔  นักเรียนเสนอชื่อมา ๙ คน คะแนนสูงสุด ๑๒ และ ๑๐ ตามลำดับ

        ข้อที่ ๕ นักเรียนเสนอชื่อมา ๗ คน คะแนนสูงสุด ๑๕ และ ๘ คะแนนตามลำดับ

 

        ข้อสังเกต

        นักเรียน ๕-๖ คน จะได้รับการเสนอชื่อซ้ำในทุกๆ ข้อ

        นักเรียน ๑ คน ได้รับคะแนนสูงสุด ใน ๓ หัวข้อ

        นักเรียน ๒ คน ได้รับคะแนนสูงสุด ใน ๒ หัวข้อ

 

      บรรยากาศการเรียนรู้

        - มีความสนุกสนานมาก  ขณะที่ขานคะแนนแต่ละครั้งจะได้ยินเสียงเชียร์ เสียงปรบมือมิขาดสาย  เป็นเสียงที่ทุกคนชื่นชมต่อผลที่ปรากฏ  เป็นเสียงของการยอมรับ  สร้างความปลาบปลื้มให้กับผู้ที่ได้รับการชื่นชม

 

      ข้อควรระวัง

        การทำกิจกรรมนี้ควรทำแบบไม่ให้นักเรียนได้ทันตั้งตัว  ไม่ควรจะบอกหรือชี้นำให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้น  ก่อนหน้าห้องเรียนนี้ ผู้สอนเขียนคำถาม ให้นักเรียนตอบทีละข้อ  และ ขานคะแนนทีละข้อ  พอมาถึงข้อหลัง ๆ นักเรียนจะสงสารเพื่อนช่วยเขียนชื่อเพื่อน  ทำให้เกิดการกระจายมาก  ไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง       

หมายเลขบันทึก: 555453เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น่าสนใจมากเลยครับ

เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง

ตอนนี้กำลังทดสอบการใช้กลอนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาอยู่ครับ

แต่งกลอนกันสนุกมากๆๆ

สวัสดีค่ะ ถ้าเมืองกาญจน์หรือสุพรรณนี่มันอยู่ในสายเลือดเด็กนะคะ

ไปช่วยออกค่ายที่ไหนอีกล่ะคะนี่ ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

"ครูภาทิพ หยิบยก บอกเรื่องราว

เอามาเล่า เรื่องรู้จัก กับนักเรียน

กิจกรรมนำเรียนรู้ เอามาเขียน

ลุงวอเวียน แวะมาอ่าน ขอขอบคุณ

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท