"ผิดพิมพ์" แปลว่าอะไรได้บ้าง


มีนักส่องมือใหม่มาถามเรื่อง "ทำไมเซียนจึงบอกว่าพระผิดพิมพ์????" รู้ได้อย่างไร

ผมก็เลยต้องอธิบายยาววววววววววววว ว่า.......................

คนที่ส่องพระมานานจนคุ้นเคยนั้น จะจำหน้า จำแววตา จำลวดลาย จำความโค้ง จำจุดหัก จุดตำหนิต่างๆได้หมด และจำได้หลายพิมพ์ซะด้วย

แบบเดียวกับการจำหน้าคนต่างๆ ที่ "เราคุ้นเคย" ได้เป็นร้อยๆคน แค่เห็นรูปก็รู้ว่าใช่

ทั้งๆที่คนในโลกนี้มีเป็นหลายหมื่นล้านคน เรายังไม่หลงไปเรียกคนอื่นว่า "แม่" ตัวเอง 
ทำไมครับ ตอบง่ายๆ ก็เพราะเราจำแม่เราได้ เห็นแค่มือ หรือข้างหลังก็ยังจำได้เลย

แต่งตัวมาอย่างไร ก็จำได้

และแม้แต่รูปแม่เก่าๆ สมัยยังสาว สมัยเป็นนักเรียนมัธยมภาพหมู่ก่อนจบ ม. ปลาย หรือสมัยเด็กๆ ถ่ายกับป้ากับน้าของเรา เราก็ยังรู้ว่า คนนี้แหละ เป็นแม่เราแน่ๆ 

เพราะเรา "จำพิมพ์" ได้ 

ผมจึงหวังว่าเขาจะพอเข้าใจจาก "อุปมา" นี้ นะครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

ที่นี้เพื่อความชัดเจน ผมจึงขอขยายความเพิ่มเติมในหลักการศึกษา "พิมพ์พระ" ตามหลักวิชาการ

ผมจึงขอขยายความสำหรับ "นักเรียน" พอเป็นแนวทางในการเรียนขั้นต่อไ

ที่จริงคำว่า "พิมพ์" นี้กินความกว้างไกลจาก "พุทธศิลป์" "ศิลปะ" "ตระกูลช่าง" "พ่อพิมพ์" "แม่พิมพ์" ""บล็อก" และสุดท้ายแม้กระทั่งการผิดเพี้ยนของแต่ละบล็อก หรือแม้แต่บล็อกเดียวกันที่ต่างอายุการใช้งาน ที่เรียกว่า "ตำหนิ"

ดังนั้นที่เซียนเขาจำไว้ จึงมีทั้งหมด 7 ระดับของความหมาย ที่มักจะถูกรวบมาพูดเป็นคำเดียวว่า "พิมพ์"

ที่ทำให้นักส่องมือใหม่ที่ยังไม่เข้าใจ หรือไม่คุ้นเคย หรือ ยังไม่ศึกษา จะงง ว่า มันอะไรกันแน่

ฟังแล้วงงไปหมด

จะไม่งงได้อย่างไรละครับ ก็ 7 ประเด็นใหญ่ๆ มารวบอยู่ในคำเดียว

ถ้าไม่อยากงง ก็ต้องไปศึกษาทีละข้อ

1. พุทธศิลป์

คือ ท่าทาง อริยาบท องค์ประกอบของศิลปะ รูปปั้น หรือภาพของพระพุทธเจ้า ปางต่างๆ ที่กำหนดขึ้น เขียนขึ้นในระดับงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ที่แฝงไว้ทั้งในเชิงของ "ปริศนาธรรม" และคำสอนต่างๆ ที่ถอดมาจาก "พุทธประวัติ" แบบ artistic impression

คนที่ถ่ายทอดต่อๆมาก็จะพยายามรักษารูปลักษณ์ และองค์ประกอบของ "พุทธศิลป์" ต่างๆ ไว้ ถ้าเราเข้าใจหลักต่างๆเหล่านี้ แสดงว่าเราเข้าใจ "พุทธศิลป์" ในแต่ละจุด แต่ละเส้น แต่ละองค์ประกอบ ว่าทำไมต้องมี หรือต้องไม่มี ถ้ามีต้องมีรูปลักษณ์และที่ตั้งอย่างไรบ้าง ที่ต้องเข้าใจ และจำให้ได้ ถือว่า เข้าใจ "พุทธศิลป์" แล้ว

2. ศิลปะ

คือ ลักษณะชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาตามความถนัดของแต่ละคน ที่มีรูปแบบแตกต่างกันไป ที่มีทั้งในกลุ่มชนชาติ และยุคสมัย ที่ทำให้มีลักษณะของศิลปะที่พัฒนาการและแตกต่างกันไปเรื่อยๆ ไม่มีซ้ำแบบ และมักเลียนแบบกันยาก

3. ตระกูลช่าง

คือ ภาพรวมของงานศิลปะ ที่มีลักษณะ เอกลักษณ์ต่างๆ คล้ายคลึงกัน เป็นเมือง เป็นยุค เป็นสมัย ที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน เรียกว่า "ตระกูลช่าง" เดียวกัน

4. พ่อพิมพ์

คือ องค์พระต้นแบบที่สร้างและตกแต่งอย่างดี ด้วยศิลปะ และตระกูลช่างที่เป็นที่เห็นชอบและยอมรับของคนทั่วไป ก่อนที่จะนำไปถอดแบบเป็น แม่พิมพ์ เพื่อสร้างพระจำนวนมาก จากพ่อพิมพ์เดียวกัน โดยการ "ถอดพิมพ์" ออกมาเป็น "แม่พิมพ์" เสียก่อน แล้วจึงนำแม่พิมพ์ ไปสร้างพระอีกทีหนึ่ง

5. แม่พิมพ์

คือ พิมพ์ที่แกะขึ้น หรือ ถอดแบบ มาจากพ่อพิมพ์ แล้วแต่กรณี แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นการ "ถอดแบบ" เพื่อป้องกันและลดปัญหาโอกาสผิดพลาดในการแกะแม่พิมพ์ โดยเฉพาะงานที่ต้องการความละเอียด ประณีต มักอาศัยการ "ถอดแบบ" มากกว่าการ "แกะใหม่" 

6. บล็อก

คือ แม่พิมพ์ที่ถอดแบบมาจากพ่อพิมพ์ แต่ละครั้งมักจะแตกต่างกัน และบางครั้งก็มีการใช้พระที่สร้างขึ้นมาใหม่แทนพ่อพิมพ์ที่แตกหักไป ทำให้เกิดการเพี้ยนของแม่พิมพ์ได้มากขึ้น ที่วงการเรียกว่า "คนละบล็อก" กัน หรือถ้าเพี้ยนมากๆ ก็เรียกว่า "คนละพิมพ์" ไปเลย ทั้งๆที่ พิมพ์เดียวกันแต่คนละบล็อกเท่านั้น

7. ตำหนิ

คือ ลักษณะที่พบในแต่ละบล็อก ที่มีมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ละบล็อกที่ทำขึ้นมา และอายุการใช้งานของบล็อก ที่จะเพี้ยนไปเรื่อยๆ ตามความเก่าของบล็อก

ทั้ง 7 ข้อนี้ พวกเซียนเก่าๆ จะไม่ค่อยอธิบาย แต่จะพูดรวมๆไว้ใน "พิมพ์" ถ้าผิดข้อใดข้อหนึ่งก็จะเรียกว่า "ผิดพิมพ์" เหมารวมไปทั้งหมด

ดังนั้น พอเขาว่า "ผิดพิมพ์"  ก็หมายถึง ผิดลักษณะในข้อใดข้อหนึ่ง นั่นแหละครับ

มาแบบนักเรียน ต้องพยายามศึกษา แล้วจะเข้าใจไปเองแหละครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 555326เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

บทความนี้ยิ่งชัดเจนคร้บสำหรับนักเรียนอย่างผมขอบคุณครับ

กระจ่างครับอาจารย์ คงต้องทำการบ้านมากๆครับ ขอบคุณครับ

ประชาชนบนโลกนี้ประมาณ 7000 กว่าล้านเองนะขอรับอาจารย์ ประเมินเอาหลายหมื่นล้านเชียวกระนั้นฤาขอรับ? ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท