เทคนิคการลดปริมาณรังสีในการตรวจซีที : โปรแกรมปรับค่า mA อัตโนมัติ ภาค 2


ลดปริมาณรังสี เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากรังสีแก่ผู้รับบริการ

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเทคนิคการลดปริมาณรังสีในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกี่ยวกับการลดปริมาณรังสีด้วยการปรับค่ากระแสไฟฟ้า (mA ; mili-ampere) ที่สัมพันธ์กับความหนาของร่างกาย ซึ่งได้นำเสนอไปแล้ว

 

วันนี้ มีภาพสวยจากการตรวจวินิจฉัย มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ เห็นแนวทางการลดปริมาณรังสีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

 

ภาพนนี้ แสดงการวางแผนการตรวจ ที่เป็นภาพด้านข้างของลำตัวขึ้นไปถึงปลายศีรษะ (Lateral view)

ส่วนแถบสีเขียว (ซ้ายมือ) ของภาพ คือ ส่วนที่บ่งบอกว่า... มีการใช้ปริมาณรังสีมาก หรือ ปริมาณรังสีน้อย ที่สอดคล้องกับขนาดหรือความหนาของอวัยวะที่รังสีทะลุผ่าน 

 

ในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่นเก่าใช้ค่าพารามิเตอร์ ที่กำหนดการให้ปริมาณรังสีแบบคงที่ ( คือ ใช้ค่า kV หรือ mA เดียว) ตลอดการตรวจวินิจฉัย แต่เมื่อมีการพัฒนาโปรแกรม ที่ทำให้สามารถปรับค่า mA ได้ตลอดเวลาทำให้ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจ ลดลงจากการตรวจเดิม ประมาณ 10-30% 

 

 

 

 

 

 

ภาพการตรวจบริเวณช่วงหัวไหล่ ใช้ mA = 670 แถบสีเขียวมีความสูงมากที่สุด (ลูกศรสีส้ม)

สาเหตุที่เครื่องกำหนดให้ใช้ปริมาณรังสีในปริมาณที่มาก

เนื่องจากตำแหน่งของหัวไหล่ เป็นอวัยวะมีความหนามาก (เมื่อรังสีผ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวาของผู้ป่วย)

 

 

 

ภาพการตรวจบริเวณช่วงฐานกะโหลก ใช้ mA = 365 แถบสีเขียวมีความสูงที่ปานกลาง (ลูกศรสีฟ้า)

สาเหตุที่เครื่องกำหนดให้ใช้ปริมาณรังสีในปริมาณปานกลาง

เนื่องจากตำแหน่งของฐานกะโหลก เป็นอวัยวะมีความหนาไม่มาก (เมื่อรังสีผ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา บนและล่างของผู้ป่วย)

 

 

 

 

ภาพการตรวจบริเวณช่วงยอดกะโหลก ใช้ mA = 347 แถบสีเขียวมีความต่ำ (ลูกศรสีชมพู)

สาเหตุที่เครื่องกำหนดให้ใช้ปริมาณรังสีในปริมาณน้อย

เนื่องจากตำแหน่งของยอดกะโหลก เป็นอวัยวะมีความหนาไม่มาก (เมื่อรังสีผ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา บนและล่างของผู้ป่วย)

 

การลดปริมาณรังสีด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยน ค่า mA ที่สอดคล้องกับความหนาของร่างกาย เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับระหว่างการตรวจวินิจฉัย

 

บริษัทผู้ผลิตแต่ละราย มักจะตั้งชื่อเรียกโปรแกรมที่ใช้ในการลดปริมาณรังสีด้วยวิธีนี้ แตกต่างกัน

 

เมื่อลดค่าปริมาณรังสีในการตรวจ อาจจะมีผลต่อคุณภาพของภาพที่ปรากฏ

เพื่อให้ภาพมีคุณภาพดี ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องให้เทคนิคอื่นมาช่วย เช่น การปรับปรุงภาพ การปรับ Window width or window level มาใช้ เพื่อทำให้คุณภาพของภาพดีขึ้นต่อไป   

 

การลดปริมาณรังสีในการตรวจวินิจฉัย ช่วยลดความเสี่ยงภัยจากรังสีให้แก่ผู้รับบริการได้

การลด ละ เลิก ความโลภ โกรธ หลง ช่วยนำไปสู่ หนทางแห่งความสุขได้

 

หมายเลขบันทึก: 554520เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ละเอียดมากเลยครับอาจารย์

ขอบคุณมากๆ

อาจารย์สบายดีไหมครับ

ไม่ค่อยได้ข่าวเลย

เรียน อ.ขจิต

มีความสุข เพราะ ได้ทำงานที่ชอบ ที่ท้าทาย ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

มาแสดงความยินดี กับ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ที่เกิดจาก ความความเพียร และ แรงสนับสนุนจาก ครอบครัว ที่สำเร็จในวันนี้ครับ

ขอแสดงความยินดีกับดุษฎีบัณฑิตด้วยครับ

ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆกับการทำงานและปีใหม่นี้ครับ

ขอแชร์นะครับ อาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท