พระเนื้อผง (พระสมเด็จ) และ พระดินดิบ (พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระซุ้มกอ) มีหลักพัฒนาการแบบเดียวกัน


เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาพัฒนาการของพระเนื้อต่างๆ

ผมจึงขอนำพระสมเด็จเนื้อกร่อนๆ มาเทียบกับ พระผงสุพรรณ พระนางพญา และพระซุ้มกอ เนื้อกร่อนๆ

ว่า การพัฒนาการของความแกร่งนั้น ต้องดูที่พระกร่อนๆ แล้วจะเข้าใจหลักการของการเกิดความแกร่งของพระแต่ละองค์ แต่ละแบบ

 

ในกรณีของเนื้อผงนั้น ความแกร่งเกิดจากปูนดิบ แต่ความหยุ่นตัว จะเกิดจากน้ำมันตังอิ้ว ที่มีมากพอ

ที่จะเกิดให้เห็นที่ส่วนนูน และสันก่อน

ถ้ามากพอจึงจะกระจายไปบนส่วนที่ต่ำกว่า

 

ดังนั้น พระที่เนื้อไม่แกร่งมาก และกร่อน ก็จะเห็นส่วนแกร่งแยกจากส่วนไม่แกร่งชัดเจน ดังรูป

 

แต่ในพระดินดิบนั้น ปัจจัยของความแกร่งจะมาจาก "น้ำว่าน" ที่จะเชื่อมให้เนื้อดินทนทาน

ที่ก็เกิดในส่วนนูนก่อนเช่นกัน

ส่วนต่ำลงไปก็จะได้รับผลเช่นกันถ้าสารเหล่านี้มากพอ

 

ดังนั้น ในการดูพระที่มีอายุนั้น ถ้าพิจารณาตรงนี้แล้ว มักจะไม่พลาด และช่วยได้มากเลยละครับ  ลองดูตามรูปเลยครับ

ดังนั้น ในการส่องพระที่แม้จะมีมวลสารพอเพียง ก็จะเห็นการกระจายตัวที่ต่างกันอยู่ดี

 

แต่จะไม่ชัดมากเหมือนในรูปที่โพสต์มาครับ

หมายเลขบันทึก: 554501เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพเล็กมากและมืดไปครับ ลองขยายก็แตก มองไม่เห็นหลัก 3+2 นะครับ

แต่ดูไม่ค่อยจะมีแววนะครับ เข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า ไปทบทวน 3+2 ชัดๆ รูปก็มีให้ดูแล้วครับ

ไม่แน่ใจอย่าสุ่มเสี่ยงครับ เงินเราแท้นะครับ ขอเตือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท