แนวคิด "สังสารวัฏทางสังคม"


   ขณะที่ผมเดินลงมาจากชั้น ๕ ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผมได้คิดถึงว่า คนที่เรียนจบปริญญาเอกแล้ว (สำหรับผู้ทำงานในวงการศึกษา) น่าจะถึงจุดหมายแล้ว (มีที่สูงกว่าปริญญาเอก และต่อไปก็มีที่สูงกว่า สูงกว่า และสูงกว่า กว่าที่สูงกว่าปริญญาเอก) คงเหลือเวลาก่อนตายอีกไม่มาก บางคนอาจทบกันกับเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น หน้าที่ที่เราจะต้องทำจะมีอยู่ ๓ วงใหญ่ๆ คือ ตัวเราเอง ครอบครัว และสังคม ทั้ง ๓ วงนี้ มีความสัมพันธ์ต่อกัน เพราะเราคือส่วนหนึ่งของครอบครัวและสังคม ครอบครัวคือส่วนหนึ่งของสังคมและยินดีรับเราเป็นสมาชิก ขณะที่สังคมคือภาพรวมของครอบครัวและตัวเรา เวลาที่มีอยู่คือการจัดสรรให้ตัวเรา ครอบครัว และสังคม การให้เวลากับตัวเราก็คือการให้เวลากับครอบครัวและสังคม การให้เวลากับครอบครัวคือการให้เวลากับตัวเราและสังคม การให้เวลากับสังคมคือการให้เวลากับตัวเราและครอบครัว ใน ๓ วงใหญ่นี้ มีงานเป็นตัวกลาง หรืออาจไม่เป็นตัวกลางก็ได้ แต่งานจะอยู่ในทุกวง หมายความว่า ถ้าเราไปพัฒนาหมู่บ้าน ก็เท่ากับเราพัฒนาสังคม ขณะเดียวกัน คือการพัฒนาตัวเองและทำให้ครอบครัวดีขึ้น อย่างน้อยคือ จะรู้ว่าคนคนนี้อยู่ในครอบครัวนี้ (กรณีที่ดีตามแบบสังคม) ที่ผ่านมามีคนแบบนี้อยู่จำนวนหนึ่ง คนเหล่านี้ทำงานเพื่อสังคม ขณะเดียวกัน ผู้เฝ้ามองอย่างเราๆ ก็ยกย่องครอบครัว (หมายถึงสมาชิกด้วย) และตัวเขา ผมตั้งชื่อแนวคิดนี้ว่า "สังสารวัฏทางสังคม" โดยปรับชื่อมาจาก สังสารวัฏในพระพุทธศาสนาอันประกอบด้วย กิเลส กรรม วิบาก โดยมีตัวเราเป็นตัวเชื่อมทั้ง ๓ วงนั้น ปัญหาที่ผมถามตัวเองคือ สังสารวัฏทางสังคมนั้น อยู่บนฐานของ สังสารวัฏในพระพุทธศาสนาหรือไม่ คำตอบในตอนนี้ ผมมองว่า ยังอยู่บนฐานของสังสารวัฏในพระพุทธศาสนา ตรงที่ว่า แม้ว่าเราจะทำงานเพื่อสังคม อันหนึ่งของเราคือการอยากให้สังคมดีขึ้น ความอยากเป็นกิเลส แต่ดีกว่าการอยากที่จะทำลายสังคม เมื่อมีการอยากทำให้สังคมดีขึ้น (กิเลส) เราจึงลงมือปฏิบัติ (กรรม) จะโดยการร่างกฎหมาย วิธีคิดในนามของทฤษฎี รูปแบบชีวิต ฯลฯ อะไรก็ตาม สุดท้ายเรา ครอบครัว และสังคม จะได้รับผลของมัน (วิบาก) ดังนั้น สิ่งที่ตามมาของแนวคิด "สังสารวัฏทางสังคม" คือ ความไม่จบสิ้น ปัญหาที่ต้องคิดคือ ....?

หมายเลขบันทึก: 553982เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วิธีคิดในนามของทฤษฎี รูปแบบชีวิต ฯลฯ อะไรก็ตาม .....

สุดท้าย.... เรา ...ครอบครัว และสังคม ... จะได้รับผลของมัน (วิบาก) ดังนั้น สิ่งที่ตามมาของแนวคิด "สังสารวัฏทางสังคม" คือ ความไม่จบสิ้น ...

ใช่เลยค่ะ...มันคือปัญหาที่เราต้องคิด ???

ขอบคุณค่ะ

สารจากผู้สร้างมนุษย์

สารจากผู้สร้างมนุษย์ ยืนยันว่า มนุษย์ทุกคนมีสัญญากับผู้เหวี่ยงเขา เขามาในวงสังสารวัฎวงแนก จัดกรรมดีชุดแรกให้กับเขา(ความสุขในมดลูกแม่คือ กรรมดี แน่นอน ใครไม่มีความสุขในมดลูกแม่คนนี้บ้างล่ะ) การจัดกรรมชุดที่1ให้เราในชาติทั่1 ใยเราไม่ระลึกถึงพระคุณอันล้นพ้นเลยเล่า กลับปฎิเสธเนรคุณกันชำนิชำนาญ. สัญญาขันธ์นั่นแหละ คือ ภาระหน้าที่ ที่เราต้องทำแบบ งานไม่เหมือนกัน แน่นอน วิบากก็ย่อมไม่เหมือนกัน ปต่มนุษย์มิได้หนีblessing สักปรัชญาเดียว แล้วใยไม่ขอต่อต้นแห่งพรตัวจริง เที่ยงตรง ไม่subjective ล่ะ. ลองใหม่ ลองศึกษาซิว่า พระพุทธเจ้าขอพรจากตรงไหน แต่เราต้องมีธรรมให้ครบเช่นพระพุทธเจ้ากันก่อนนะ ถึงจะ achive

ผมว่ามันคิดได้ แต่ว่าแปลกๆ นิดนะครับ เพราะว่าสังสารวัฎ นั้นเป็นการเวียนไม่จบและน่าสงสาร เป็นทุกข์ การเป็นสุขจึงต้องข้ามพ้นสังสารวัฏ ดังนั้นถ้าคิดจะทำดี ก็ต้องข้ามพ้นครับ

..เด็ก..รุ่น..ใหม่..ในเมือง(ฝรั่ง)..กำลัง..ละทิ้ง..การเรียน..ในมหาวิทยาลัย..มีเด็กจำนวนหนึ่งในแวดวงคนรู้จัก..เลิกเรียนกลางคัน...หันไปหาสิ่ง..ที่..ตนคิดว่า..ตน..พอใจ..(ทำ)...และ..เขา..ฝันกันว่า..ในสังคมใหม่ของเขา..จะทำงาน..ใช้เวลาทำงานให้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่...ไม่ใช่..แปดหรือ..พร่ำเพรื่อ ชม..อย่างบ้านเรา..(ได้ไปฟัง..สัมมนา..มาด้วยตนเอง)..ที่แปลกใจ..คนเมืองพุทธ..กับ..คิด(ไม่เป็น)...แม้แต่.(.ฝัน.).ยังยาก...เพราะเดิน..ตามเขามา..ซ้ะเคย...สิบข้อที่..มีไว้เตือน..ตน..จะมี..ใคร..สนใจ..ซักกี่คน..อิอิ...

คิดได้ ปต่มิใช่ความคิด มันคือ หลักฐานที่ไม่มีใครสวมรอยได้ มีพยานยืนยันล้นโลกไปแล้ว มิใช่ความติด มันคือความจริงต่างหากล่ะ. อย่าหลงไปทางนั้น.

ทึ่งในความคิดของอาจารย์มากๆค่ะ...รออ่านเฉลยปัญหาที่ต้องคิดคือ ....? นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท