การดู และ "ฟันธง" พระผงสุพรรณ "แท้-เก๊" แบบง่ายๆ (จริงๆ)


เมื่อวานหลังจากได้พระผงสุพรรณเนื้อแดงจากคุณนิพนธ์ พัชระภัทร์ (จาก สุพรรณบุรี)

ที่เป็นพระแท้ กร่อน แก่ดิน ผ่านการล้างและใช้มาพอสมควร

ทำให้ดูยากมากๆ แทบจะที่สุดของความยากในการดูด้วยตาเปล่า

ด้วยความยาก ก็เลยตีเก๊ไว้ก่อน แล้วย้อนพิจารณาทีหลัง

ลงกล้องจุลทัศน์อีกหลายรอบ

สุดท้ายถ่ายรูปขยายขึ้นจอคอมฯ ขยายภาพดูเนื้อ

จึงมั่นใจว่า "แท้" ดูยาก จริงๆ

 

หลังจากนั้นจึงนำพระผงสุพรรณที่มีอยู่แล้วมานั่งศึกษาเปรียบเทียบประเด็นรายละเอียด เพื่ออ่านเนื้อ และพิมพ์ แบบต่างๆ เท่าที่มี

 

ก็ได้พบหลักการที่ชัดเจนขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเรื่อง

 

เรื่องที่ 1 พระผงสุพรรณมีคราบเคลือบอยู่ภายนอก ทุกองค์ ที่ไม่ใช่คราบน้ำว่านแน่นอน

บางองค์มีสีเทาเหลือง บางองค์ออกน้ำตาลไหม้

สงสัยว่าจะเป็นที่มาของคำที่เขาพูดกันว่า "คราบน้ำหมาก" ในพระดินดิบ

ที่น่าจะมาจาก "สีน้ำตาลไหม้" หรือ "สีน้ำหมาก" ที่ผมก็หลงเชื่อมาตั้งนาน ว่าเป็นคราบ "น้ำหมาก"

ที่ ณ วันนี้ ผมอนุมานว่าน่าจะไม่ใช่ "น้ำหมาก" 

แต่น่าจะเป็น "ยางไม้" ที่หาง่ายโดยทั่วไป เช่น น้ำยาง จากต้นยางนา และพืชตระกูลยางทั้งหลาย

ที่ในอดีตคนโบราณใช้ทำเชื้อเพลิง และคบเพลิงกันเป็นของใช้ประจำวัน

ที่น่าจะนำมาชุบพระดินดิบหลังจากกดพิมพ์อัดเป็นรูปองค์พระแล้ว

การชุบยางไม้ดังกล่าวน่าจะช่วยรักษารูปทรง หุ้มห่อ และลดแรงกระทบกระทั่งในระหว่างการเตรียมองค์พระ

(ที่บางครั้งคนในวงการเรียกยางที่เคลือบยังไม่ได้เผานี้ว่า "รักน้ำเกลี้ยง" ที่พบบ่อยๆในพระสมเด็จเนื้อผงโดยทั่วไป)

ก่อนที่จะนำไปอบ หรือ รมไฟให้เนื้อพระแกร่งแน่น ทนทานต่อไป

 

เรื่องที่ 2 พระผงสุพรรณ มีร่องรอยการผ่านไฟ หรือ อบความร้อน

เพราะมีรอยไหม้ของคราบยางไม้อยู่ที่ผิว มากบ้างน้อยบ้าง ไม่แน่นอน

การไหม้จนเป็นสีน้ำตาลนี้ ทำให้คนในวงการเรียกว่า "คราบสีน้ำหมาก" ที่น่าจะเพี้ยนมาเป็น "คราบน้ำหมาก"

และบางส่วนไหม้จนเกือบดำ ที่วงการกลับไปใช้คำว่า "รารัก"

ทั้งๆที่ก็น่าจะแค่ยางไม้ หรือ "น้ำยาง" ที่ไหม้ออกสีต่างๆเท่านั้น

รอยไหม้ในระดับต่างๆนี้จะพบว่า "หนา" หรือ "บาง" ก็แล้วแต่การชุบในแต่ละองค์

ที่ถ้าสังเกตดีๆ จะมีเหลือตามมุม ตามซอกเสมอ 

และใต้รอยไหม้อาจจะมีคราบดินถูกเผาสีแดงๆนิดๆ ติดกับคราบไหม้ดำๆเสมอ

ที่ถ้าไหม้ก็จะออกดำ หรือน้ำตาลดำ ถ้ายังไม่ไหม้ ก็จะออกน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลเทาๆ

เป็นแผ่นลอยอยู่เหนือคราบน้ำว่าน ที่งอกออกมาที่ผิวพระ

 

เรื่องที่ 3 การงอกของน้ำว่านในพระผงสุพรรณมี 3 แบบใหญ่ๆ ตามระดับการแก่น้ำว่านของพระแต่ละองค์

ที่มีทั้ง

ก. แบบดันขึ้นมาเป็นเม็ดๆ เป็นก้อนๆ มีสีเหลือง ส้ม เขียว หรือแดง แล้วแต่สีของน้ำว่าน

ข. แบบซึมเป็นคราบน้ำมัน ออกมาเคลือบผิวทั้งใต้และบนชั้นน้ำยางที่เคลือบอยู่ ทำให้เห็นความ "ฉ่ำ" ต่างๆกัน

ค. แบบขึ้นมาเป็นขุยๆ ที่น่าจะเกิดจากการเจาะของแมลงขนาดเล็ก เข้าไปในเนื้อพระ จนเป็น ขุยๆ ออกมา ที่ผมใช้คำสื่อว่า "ขุยไส้เดือน"

คราบน้ำว่านนี้เองทำให้เห็นเป็น "ความเหี่ยว" ของผิวองค์พระ

 

เรื่องที่ 4 การกรองดินเพื่อสร้างพระผงสุพรรณนั้น น่าจะกรองด้วยน้ำ ผสมน้ำปูนใส

โดยอนุมานว่า น่าจะนำดินที่จะใช้มากวนในน้ำ กรองผ่านตะแกรง หรือผ้าขาวบางเพื่อเอาเศษรากไม้ใบไม้ออก

นำน้ำขุ่นๆ ไปกวนให้ฟุ้ง รอให้ทรายตกตะกอนอึดใจหนึ่ง แล้วเทน้ำขุ่นๆไปรวมกันในโอ่งหรือหม้อที่รองรับ

เพื่อเร่งให้น้ำขุ่นตกตะกอน ก็น่าจะผสมน้ำปูนใสลงไป

พอน้ำใสแล้ว ก็เทน้ำใสออก นำตะกอนไปผึ่งจนแห้ง

จึงทำให้ยังคงมีทรายละเอียดปะปนอยู่ในดินที่ใช้ทำพระ และยังมีปูนปนมากับดินในทุกพระเนื้อดินดิบ

ที่ครอบคลุมถึงพระกำแพง พระนางพญา และพระดินดิบทุกสมัย

ที่จะมี "นวลปูน" อยู่ในร่องเสมอ

 

เรื่องที่ 5 พ่อพิมพ์พระผงสุพรรณเริ่มตัน น่าจะมีเพียง 2-3 องค์เท่านั้น

เพราะ "กลุ่มรายละเอียด" ของ ตำหนิ ศิลปะ และ พิมพ์ทรง แยกได้ไม่มาก

ที่สังเกตได้ง่ายๆ ก็คือ พระพักตร์ พระเนตร พระกร

ที่มีรูปแบบหลักๆ เพียงสองหรือสามแบบเท่านั้น

นอกนั้นน่าจะเป็นเพียงการเพี้ยนเนื่องจากการ "กดสร้าง" แม่พิมพ์ และการใช้ พ่อพิมพ์ทดแทน ในกรณีที่พ่อพิมพ์เดิม เสียหาย

ทำให้ ทั้งขนาด และพิมพ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่โครงสร้างของตำหนิ และศิลปะยังมีร่องรอย "รายละเอียด"เดิมๆ

ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะ "เจตนา"ทำตำหนิเหล่านั้นให้ "เหมือนเดิม" ในพ่อพิมพ์ใหม่ (ทดแทน) จากการใช้องค์ก่อนๆที่พอใช้ได้มากดเป็นแม่พิมพ์ต่อไปเรื่อยๆ

ดังนั้น

จากข้อคิดทั้ง 5 ข้อข้างต้นนั้น ก็น่าจะช่วยให้การดูพระ ผงสุพรรณง่ายขึ้นมากๆ

ขั้นแรก ถ้าพระเนื้อสมบูรณ์ ก็ดูชั้นน้ำยาง ชั้นน้ำว่าน ชั้นรอยไหม้ ความเหี่ยว และคราบน้ำว่านที่งอกหลากแบบ

ขั้นที่สอง ดูพิมพ์ทรง และตำหนิ เช่น พระพักตร์ แววพระเนตร วงพระกร ลายมือที่เหี่ยวด้านหลัง รอยตัดด้านข้าง

ขั้นที่สาม ดูรอยกร่อน (ถ้ามี) จะเห็น "ความลึก" โดยเฉพาะความเหี่ยวในเนื้อ เม็ดสีแดงในเนื้อ เนื้อฉ่ำเหมือนขี้ผึ้ง

ขั้นที่สี่ ทุกจุดที่กร่อน จะเห็นเม็ดทรายกร่อนมนบนผิวกร่อนทุกจุด

 

และในพระที่มีรอยกร่อนอยู่แล้ว (ส่วนใหญ่เลยครับ) ลองเอาเล็บครูดผ่านผิวที่กร่อนเบาๆ เนื้อดินดิบจะหลุดออกมาเป็นฝุ่นๆ สีเหลืองๆ และเนื้อในจะมันขึ้นกว่าเดิมทันที

นี่แหละครับ ง่ายจริงๆ

แต่ยังไงก็ควรพิจาณาส่วนื่นประกอบด้วยนะครับ

เผื่อช่างเขาทำเฉพาะตรงนี้ได้แล้ว

อิอิอิอิอิอิอิอิอิ

 

หมายเลขบันทึก: 553805เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับสำหรับภาพแบบชัดสุดๆที่ให้พวกกระผมชมนะครับสวยสมบูณร์แบบมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท