เห็นเวทีราชดำเนินวันนี้ จึงลองกลับไปดูที่กรีกโบราณ


ผมรู้มาว่าประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเสมอ  แต่ในเรื่องการเมืองไม่รู้สักเท่าไร จึงต้องมานั่งหาข้อมูลย้อนกลับไปทำความเข้าใจ เพื่อตัวเองจะได้เข้าใจ และได้แบ่งปันกับท่านที่สนใจไปด้วย   

ด้วยความรู้ความเข้าใจในประวัติศา่สตร์ของมนุษยชาติในอดีตที่ผ่านมา ผสมผสานกับความคิดอ่านของปราชญ์ในอดีต จะช้วยให้เข้าใจในเรื่องราวสมัยนั้น และเชื่อมโยงกลับมายังในสมัยนี้ได้ แม้จะไม่ใช่เป็นเหตุการณ์ในบ้านเมืองเราโดยตรง โดยเฉพาะปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกที่เป็นที่ยอมรับนับถือกัน

นี่คือมูลเหตุจูงใจถึงหยิบยกข้อเขียนของท่านผู้รู้มาเรียงให้กันอ่านครับ

--------------

ท่านผู้รู้ในที่นี้http://goo.gl/yEfETu อธิบายว่า ในยุคกรีกโบราณ การเถลิงอำนาจของกลุ่มผู้ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดสายโสเครตีส ทำให้เกิดรัฐบาลแบบ ทรราชย์ หลายครั้งขึ้นมา ตัวอย่างที่สำคัญเช่น หลังสงครามเพโลพอนเนเซียนเมื่อ 404 ปีก่อนคริสตกาลระหว่างเอเธนส์และสปาร์ตา เอเธนส์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถูกยึดครอง สปาร์ตาจึงตั้ง รัฐบาลหุ่นเชิด ซึ่งมีคณะผู้ทำงานทั้งหมด 30 คนขึ้นในเอเธนส์ จึงเรียกกันว่า 30 ทรราชย์ ครีเตียส (Critias) สาวกคนสำคัญของโสเครตีส และลุงของพลาโตเข้าร่วมในคณะ 30 ทรราชย์ เข่นฆ่าชาวเอเธนส์ไปนับร้อยโดยบังคับให้ดื่มยาพิษเฮมล็อคและจำกัดสิทธิในการมีประชาธิปไตยทางตรงของชาวเอเธนส์

ท่ามกลางความขัดแย้งของสังคม  ก็จะมีนักคิด นักปราชญ์ เกิดขึ้นเสมอ ในสมัยกรีกโบราณก็มี เช่น

 

1. โสเครตีส ที่พยายามคิดค้นหาความจริงว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมันมีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมคนจึงมาฆ่าแกงกันได้ท่านผู้รู้ในที่นี้  http://goo.gl/MNr1kjอธิบายว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของ โสเครตีส คือการแสวงหาปัญญาเพื่อเสริมสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุขให้แก่ประชาชน โสเครตีสเห็นว่ามนุษย์จะมีชีวิตที่ดีและมีความสุขจะต้องยึดมั่นในคุณธรรม ผู้ปกครองต้องมีคุณธรรม  และเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในคุณธรรม สังคมคุณธรรมของนักการเมืองที่ดีตามแนวคิดของ โสเครตีส ได้แก่

1.1 ปัญญา (Wisdoms) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับความดี คือรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความดี สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล และเหตุผลของความดีจะทำให้มนุษย์มีความสุมนุษย์ส่วนมากทำความชั่วเพราะความโง่เขลา ไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร จะไม่ทำความชั่ว เพราะความชั่วทำให้เป็นทุกข์ มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องการความสุข ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร เขาก็จะทำแต่ความดี เพราะความดีทำให้เกิดความสุข ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีและเว้นความชั่วเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ให้ประชาชนมั่นใจว่าการประพฤติดีละเว้นความชั่วทำให้ชีวิตมีความสุข 

1.2 ความกล้าหาญ (Courage) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวและไม่ควรกลัว มีความกล้าหาญที่จะทำความดีในทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่ แม้การกระทำความดีนั้นจะเสี่ยงด้วยชีวิตก็ตามไม่ได้กล้าแบบบ้าปิ่น แต่มีเหตุผลที่จะรักษาความดีให้ดำรงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ปกครองกล้าที่จะทำในสิ่งที่ดี กล้าปราบปรามในสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ไม่ทำอะไรที่มีสองมาตรฐาน การที่ปล่อยความชั่วให้คงอยู่เพื่อเอาตัวรอด ทำให้ความดีสูญหายไปเป็นการกระทำที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ปกครอง

                            ฯลฯ

          ดูรายละเอียดใน  http://goo.gl/MNr1kj

 

2. เพลโต  (Plato 428-347 ก่อน ค.ศ.)

ท่านผู้ในที่นี้  http://goo.gl/3K24f2อธิบายว่า  เพลโต  เกิด  427 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก เสียชีวิต 347 ก่อนคริสต์ศักราช ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก   เขาเป็นศิษย์ของโสเครตีส เพลโตจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมเหมือนโสกราตีส เพลโตเขียนมหาคัมภีร์ทางรัฐศาสตร์ชื่อ “The Republic” หรือ “อุตมรัฐ“ (อุ-ตะ-มะ-รัด) หรือรัฐในอุดมคติ คือลักษณะของรัฐที่ดีที่จะทำให้คนมีความสุข ซึ่งเพลโตต้องการให้มีขึ้น โดยมีแนวความคิดที่สำคัญ ดังนี้ 

2.1 อุตมรัฐ  (The Republic)

1) อำนาจและความยุติธรรม: ผู้ปกครองควรใช้อำนาจโดยธรรม  ซึ่งต่างกับอำนาจที่เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ โดย ทั่วไปผู้ปกครองมักสรุปว่าตนเองมีอำนาจ และการใช้อำนาจของตนเองนั้นชอบธรรม แต่เพลโตมีทรรศนะว่าอำนาจนั้นจะชอบธรรมต่อเมื่อมีประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจนั้น ยินดีปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ

2) การปกครองเป็นศิลปะ: เนื่องจากคนในสังคมมีอยู่หลากหลาย การที่จะทำให้เห็นพ้องต้องกันทั้งหมด อาจเป็นการยาก แต่ถ้าผู้ปกครองไปเข้าข้างหนึ่งข้างใด  ข้างที่เหลือก็จะเป็นปฏิปักษ์ ดังนั้นผู้ปกครองต้องหาวิธีทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องด้วย เพลโตจึงเห็นว่าการปกครองเป็นศิลปะที่สำคัญที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน ซึ่งจะทำให้การปกครองนั้นเป็นไปโดยราบรื่น

                                    ฯลฯ

       ติดตามอ่านรายละอียดใน http://goo.gl/3K24f2

 

3. อริสโตเติ้ล

(พ.ศ. 160 / 384 ปี ก่อน ค.ศ.)

ท่านผู้รู้ในที่นี้กล่าวว่า http://goo.gl/t7IDqg อาริสโตเติล เป็นลูกศิษย์ของเพลโต เพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตกด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยาการเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา

ในด้านการเมือง ท่านผู้รู้ http://goo.gl/jJS6Dz

อธิบายว่า  อริสโตเติลได้จัดรูปแบบการปกครองไว้  ดังนี้

อริสโตเติล ได้จำแนกลักษณะการปกครองของรัฐต่างๆ โดยใช้จำนวน และ จุดประสงค์ของการปกครองเป็นเกณฑ์ เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้

1. รูปแบบการปกครองที่ดี
1.1. ราชาธิปไตย (Monarchy) เป็นการปกครองโดยคนเดียว

1.2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน
1.3. โพลิตี้ (Polity) เป็นการปกครองโดยคนจำนวนมาก

                                                           ฯลฯ 

     ติดตามอ่านรายละเอียดใน http://goo.gl/jJS6Dz

สาระสำคัญในรายละะอียดข้างบนนี้ มีดังนี้ครับ

"อริสโตเติลยังมีความเห็นว่า คนแต่ละชนชั้นในสังคมนั้น จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง กล่าวคือ คนร่ำรวยมีความรู้ว่าจะปกครองอย่างไร แต่จะไม่ยอมรับในระเบียบข้อบังคับ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบกว่าชนชั้นอื่น และ ยังมีความละโมบในเรื่องทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนมีความเข้าใจยอมรับและเชื่อฟังในระเบียบข้อบังคับ หากแต่ขาดน้ำใจ อิจฉาในทรัพย์สมบัติของคนรวย และยอมฟังการปลุกระดมที่สัญญาว่าจะมีการแบ่งทรัพย์สิน คน 2 ชนชั้นนี้มักจะแตกแยกและขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว อริสโตเติล จึงเชื่อว่า ชนชั้นกลางจะรับฟังเหตุผลมากที่สุด เป็นกลุ่มที่มีความสุขุมเยือกเย็น มีความอุตสาหะ และ เป็นผู้คอยเฝ้าดูการบริหารของรัฐ อริสโตเติลใช้ชนชั้นกลางเป็นกันชน ของโครงสร้างชนชั้นทางสังคม"

ประวัติศาสตร์ 2000 ปี ก็อธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เวที่ราชดำเนินในระยะนี้ พฤศจิกายน 2556 ได้อยู่ใช่ไหมครับ

....16 พฤศจิกายน 2556...

หมายเลขบันทึก: 553757เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณครับอาจารย์
  • มาอ่านประวัติศาสตร์สากลที่โยงสู่เมืองไทย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท