CADL_SE_01 : โรงเรียนประชารัฐสามัคคี จ.นครราชสีมา (2)


บันทึกนี้เขียนต่อจากบันทึกนี้ http://www.gotoknow.org/posts/553030 ครับ

กิจกรรมแสกนบอดี้

กระบวนกรนำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการเล่าเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ และสมองของมนุษย์ ว่ามีกระบวนการอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง แล้วค่อยๆ นำสู่การผ่อนคลายสมองโดยการทำกิจกรรมพิจารณากายด้วยความรู้สึกตัว

  • แสกนบอดี้  โดยใช้  ใจ  เป็นเครื่องมือในการแสกน
  •  ความสามารถที่ว่า  คือ  ความสามารถในการรู้สึกตัว  วิธีการ  คือ  ทำใจให้สบายๆ  เริ่มรู้สึกจาก
  • รู้สึกว่ามีปลายเท้า  พวกสัตว์  หมา  แมว  ไม่รู้หรอกว่ามันมีปลายเท้า 
  • ให้ทุกคนขยับปลายเท้าซ้าย-ขวา
  • รู้สึกได้ว่าหัวเข่ามันงอ  จะรู้ได้อย่างไรว่างอ  หากไม่ลืมตาดู  ให้ใช้มือสัมผัส
  • รู้สึกว่ากำลังนั่ง 
  • รู้สึกขึ้นมากลางหลัง  ถ้าใครที่เกร็งหลังทั้งวัน  หากท่านได้พักผ่อนบ้าง  นอนเหยียดจะรู้สึกดี
  • รู้สึกถึงไหล่ซ้าย
  • รู้สึกถึงมือซ้าย
  • รู้สึกถึงไหล่ขวา  ท่อนแขนด้านบน  ท่อนแขนด้านล่าง
  • มือขวา  ไล่กลับมา ข้อศอกขวา  หัวไหล่ขวา
  • ไล่กลับขึ้นมาที่ต้นคอ  ไปถึงท้ายทอย 
  • ไปต่อที่หน้าผาก
  • สิ่งหนึ่งที่ไม่ยากในการสังเกตคือ  คิ้ว  หากใครคิ้วขมวด  นั่นแสดงว่ามีความรู้สึกเครียดแล้ว  จึงควรผ่อนคลายคิ้วนั้นออก
  • ลงมาที่ปลายจมูก  โดยสังเกตลมที่ผ่านเข้าออก  หรืออุณหภูมิลมที่เข้ากับลมที่ออกนั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่  ที่ทำถูกคือ  แค่รู้สึก  ไม่ใช่เพ่ง

 

 
 

กิจกรรมผู้นำสี่ทิศ

  • ใช้กลุ่มงานหรืองานที่ได้รับมอบหมายเดียวกันเป็นหน่วยในการแบ่งกลุ่ม
  • แจกกระดาษ  A4 
  • วาดวงกลมลงในกระดาษ  วง  ใหญ่พอประมาณ
  • กระบวนกรก็อธิบายนิสัยของสัตว์แต่ละประเภท  เริ่มจากนกอินทรี  กระทิง  หนู  และหมี
  • ให้ครูนั่งอยู่กับตนเองพร้อมกับพิจารณาว่า  ตนนั้นเป็นสัตว์ประเภทใด

จากนั้นแบ่งกลุ่มๆ ละ  คน  เพื่อมาแลกเปลี่ยนให้เพื่อนฟังว่า  ตนเองนั้นเป็นสัตว์ประเภทนั้นเพราะอะไร  ให้เวลาในการแลกเปลี่ยน 15  นาที

สะท้อนจากครู

  • ครูเบญจวรรณ  จะมีนิสัยคือช่วยคิด  ช่วยทำ  ไม่ใช้การบังคับ  จึงคิดว่าตนเองเป็น  อินทรี  หนู  กระทิง  เท่าๆ กัน 
  • ครูสมหมาย  ชอบอิสระ  ไม่ขึ้นต่อใคร  ไม่ชอบการบังคับ  ไม่เพ้อฝัน  ไม่ยอมเสี่ยง  อะไรที่ไม่คุ้มจะอยู่นิ่งๆ  หากเพื่อนมีปัญหาจะให้ความช่วยเหลือ  แต่จะอาสาน้อยมาก  ไม่ใช่ไม่ช่วย  ช่วยเต็มที่แต่ต้องมีคนมาร้องขอ  จึงคิดว่าตนเองเป็นเป็น  อินทรี  กระทิง  หมี  และหนู  น้อยที่สุด
  • กระบวนกรถามครูสมหมายต่อว่า  เด็กนักเรียนสมัยนี้กับสมัยก่อนแตกต่างกันหรือไม่ ครูสมหมายตอบทันทีว่า เด็กมีความแตกต่างจากสมัยก่อนมาก  ไม่เชื่อครู  โต้แย้ง  ไม่มีสัมมาคารวะ  คุณธรรมลดลง
  • กระบวนกรจึงถามกลับว่า  หากเด็กไม่มีสัมมาคารวะ  ครูควรจะเป็นสัตว์ประเภทไหนมากที่สุด
ครูส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า  ควรมีสัตว์หลายอย่างผสมผสานกัน  เพราะจะให้สวมวิญญาณเป็นหมีไปตัดสินเลยคงไม่ได้    

ผลการวิเคราะห์สัตว์สี่ทิศ

 
 
 

   
   

 กิจกรรมกระดาษสี่พับ "จับจุด"

แจกกระดาษ  A4  คนละหนึ่งแผ่น

  • เริ่มพับกระดาษให้ได้แนวนอนสามแถว  แนวตั้งสี่คอลัมน์  พร้อมทั้งตอบคำถามของแต่ละช่อง ดังภาพ
คอลัมน์ 1
 
วิธีการสร้าง คอลัมน์ 3
คอลัมน์ 2
 
เรื่องที่ท่านภาคภูมิใจ
คอลัมน์ 3
แรงบันดาลใจที่จะทำ/ ทำแล้วจะภูมิใจมาก
 
แถวที่ 1
คอลัมน์ 4
 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
วิธีการที่จะทำให้ได้ คอลัมน์ 3
ความรู้
ความเข้าใจ ความสามารถ
ความรู้ความสามารถใดที่ต้องการ  เพื่อให้สิ่งที่อยากทำประสบความสำเร็จ
 
 
แถวที่ 2
 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
วิธีการที่จะได้มาซึ่ง  คอลัมน์ 3
 
ผลงาน/ความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
 
 
แถวที่ 3
 
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
  • เมื่อทุกคนเขียนคำตอบลงในแต่ละช่องเรียบร้อยแล้วก็ให้แลกกันอ่านของเพื่อน  เพื่อที่จะได้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ 
  • กระบวนกรถามว่า  กิจกรรมกระดาษสี่พับนี้มีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมช่วงแรกๆ  หรือไม่อย่างไร
  • ครูฐานิดา  ตอบว่า  มีการเชื่อมโยงกันค่ะ  เราสามารถวิเคราะห์นิสัยของเด็กได้จากกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ....
o  ความภาคภูมิใจคือ  การเห็นความเจริญก้าวหน้าของเด็ก (เห็นความสำเร็จ) และที่สำคัญที่สุดคือเห็นเด็กดี  มีคุณธรรม 
o  ถนัดวิชาวิทยาศาสตร์
o  สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น  (รวมทุกอย่างทั้งผลการเรียน คะแนน O-net A-net)
o  อยากมีเวลาที่เพียงพอให้กับเด็ก  (และในห้องนี้มีครูที่ต้องการเวลา  ถึง  คน)
o  เด็กประสบผลสำเร็จในการทำโครงงาน
o  ปัจจัยความสำเร็จคือ  ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
o  วิธีการคือ  ตั้งเป้าหมายร่วมกัน
o  หาวิธีการที่หลากหลาย
o  วิธีการคือลงมือปฏิบัติ
  • ครูภรภัทร. เล่าสิ่งที่เขียนลงไปในกระดาษสี่พับว่า
o   อยากเห็นความสำเร็จของเด็ก 
o   อยากสร้างเด็กให้เป็นเด็กดี
o   วิธีการคือ  การทำตนเป็นตัวอย่าง  เช่น  วิธีการ Coachingทีมวอลเล่ย์บอล
o   “สร้างชุมชนบุคคลตัวอย่าง”
o   มีความรู้ด้านกีฬา
o   อยากหาความร่วมมือ  เพราะเชื่อว่าการทำงานเป็นทีมจะส่งผลให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายได้ง่ายกว่าการทำงานคนเดียว
o   วิธีการคือ  ต้องช่วยเหลือผู้อื่นก่อน  (แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องการความช่วยเหลือ)  ก็ต้องฝึกสังเกต  โดยที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นเอ่ยปาก
o   สิ่งที่ภาคภูมิใจมากที่สุดคือ  เปลี่ยนเด็กเกเรให้เป็นคนดีมีอาชีพที่มั่นคงได้  (จากเด็กเกเรเป็นร้อยตำรวจโท)
o   วิธีการคือ  ขอให้ครูมีความเพียรบริสุทธิ์  และทำอย่างสม่ำเสมอ

สะท้อนจากครู

  • คุณครูเบญจวรรณ  สะท้อนว่า ได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ตนเอง  และคิดต่อว่าหลังจากจบกิจกรรมวันนี้จะไปทำอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป (เมื่อครูเบญจวรรณพูดจบ  ครูต่างก็ปรบมือให้อย่างพร้อมเพรียงกัน  อาจจะเป็นเพราะว่าคำตอบนี้ถูกใจและตรงใจใครหลายคนในห้องนี้)

 

กิจกรรมช่วงบ่าย

กระบวนกรได้หยิบยกประเด็นที่ได้จากกิจกรรมกระดาษสี่พับ  ซึ่งประเด็นที่นำมาแลกเปลี่ยนนั้น
คือเรื่อง...เวลา   ซึ่งมีข้อจำกัดจากต้นสังกัด  และนำไปสู่กิจกรรมกราฟความสุข
 
 
 
 
ก่อนปี 2547  ที่เด่นคือ  คุณภาพของผู้เรียน ชื่อเสียงของโรงเรียน
หลังปี 2547  ที่เด่นคือ บุคลากรมีความก้าวหน้ามากขึ้น
 
 
 
สะท้อนจากครู
  • ได้ความรู้สึกที่ดี  เปิดเผย  ตรงไปตรงมา
  • ได้ความรู้ที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน  ความท้อแท้จะเกิดความทุกข์  เราจะปลดความทุกข์ให้เกิดความสุข  และยึดถือหลักทำกรรมดี  ต่อตนเองและเด็กนักเรียน
  • วันนี้ได้เปิดใจ  และสังเกตเห็นว่าครูทุกท่านได้แสดงความรู้สึกที่จริงใจและน่าจะมีความสุข  กิจกรรมต่างๆที่ได้ทำร่วมกันนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กนักเรียนได้

สะท้อนจากผู้สรุปกระบวนการ (note taker)

การทำงานวันนี้ถือว่าบรรลุเป้าหมายร้อยเปอร์เซ็น  เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าดูกระบวนการและจับประเด็น
ได้ดี  รู้สึกผ่อนคลาย  ไม่เครียด  อาจจะเป็นเพราะผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นมีจำนวนพอดี  ไม่ใหญ่จนเกินไป  ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นเวทีหรือกลุ่มขนาดใหญ่กว่าร้อยคน  แต่สิ่งสำคัญที่วันนี้รู้สึกมีความสุขที่ได้มานั่งดูกระบวนการนั้นคือ  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เปิดใจ  เปิดรับ  ส่งผลให้บรรยากาศในวงดีมาก  คละเคล้าเสียงหัวเราะ  และเป็นครั้งแรกที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นอายุเฉลี่ยสูงลิ่ว  (ฮา...)  แต่อายุสูงใกล้เกษียณก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานเลย....ครูโรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคีคอนเฟิร์ม!!!

ข้อสรุปและสะท้อนจากกระบวนกร

จุดเด่นของประชารัฐสามัคคีคือ การทำงานอย่างมีระเบียบและระบบของ "ทีมผู้บริหาร" ด้วยวิธีการกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ ใกล้ชิด เอาใจใส่ ค่อนข้างเป็นระบบแนวดิ่ง (top-down) ค่อนข้างสูง ทำให้ "งาน" ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นดังกล่าวเป็นจุดอ่อนในขณะเดียวกัน เพราะส่งผลต่อความสุขในการทำงานของคณะครูส่วนใหญ่ และที่สำคัญได้รับการสะท้อนว่า "งาน" ส่วนหนึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างคุ้มค่ากับเป้าหมายการพัฒนาให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

ผมเน้นย้ำกับท่าน ผอ. เสมอว่า หัวใจสำคัญของการเรียนรู้คือ ความผ่อนคลาย ความสุข ความสนุกที่ได้เรียน ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ครูนั้นผ่อนคลาย มีความสุข สนุกที่ได้สอน ...และผมมั่นใจว่า ครูโรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ยังมีพลังเต็มที่แม้จะมีอายุเยอะแล้วก็ตาม ที่สำคัญท่านก็พร้อมและขยันทำงานหนักเพื่อเด็กๆ ได้ ไม่ใช่ผ่อนคลายแบบสบายขี้เกียจ....

หมายเลขบันทึก: 553072เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท