CADL_SE_01 : โรงเรียนประชารัฐสามัคคี จ.นครราชสีมา (1)


วันที่ 31 ตุลาคม 2556 ทีม CADL ได้รับโอกาสจาก ผอ.ธีรเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ให้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูทั้งหมด แบบกึ่ง KM กึ่งจิตตปัญญาวิถีพุทธ ผมนำผลการจัดประเด็นของ Note Taker ของทีมเรา มาให้อ่านครับ แบบตรงไปตรงมาครับ 

ก่อนอ่านบันทึกนี้ ควรจะอ่านวิถีและวิธีการขับเคลื่อน ปศพพ. ด้วยโมเดล "มือห้านิ้ว" ของโรงเรียนได้ที่นี่ครับ

กิจกรรมช่วงเช้า

ผอ.ธีรเชษฐ์  ป้องจันมณีสกุล  ให้เกียรติกล่าวเปิดงานพร้อมกล่าวต้อนรับคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยประเด็นที่ท่านกล่าวเปิดนั้นมีประเด็นสำคัญๆ  คือ  ธรรมชาติมนุษย์  ที่มีอุปสรรคที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสบการณ์  สุขภาพกาย  สุขภาพจิต  พร้อมทั้งได้เสนอแนะแนวทางว่าควรจะรู้จักประมาณตน  และเข้าใจตนเองว่า  จะทำงานอย่างไร  จะพัฒนางานได้อย่างไร
 
กระบวนกรเริ่มเล่าถึงความสามารถหนึ่งที่มนุษย์มีเหนือสัตว์อื่นๆ คือ การนึกย้อนหลัง  ว่าแล้วก็โยน

 

คำถามไปที่ครูว่า  เช้านี้ท่านมาโรงเรียน ท่านจำได้หรือไม่ว่า  ก่อนมาโรงเรียนท่านนึกหรือคิดอะไร 
  • ครูสมหมายตอบว่า...มาแล้วจะเจอคนหน้าตาอย่างไรบ้าง?  วิทยากรที่มาจะสวย หล่อมั้ย  ได้ความรู้มั้ย
  • ครูอีกคนหนึ่งตอบว่า  คิดแต่ว่า...จะมาทันประชุมหรือไม่  เพราะบ้านไกลจึงต้องใช้เวลาเดินทางเกือบ  30  นาที
จากนั้นก็ได้เริ่มกิจกรรมแรกในช่วงเช้าคือ  กิจกรรมจับมือ  ตามด้วยกิจกรรมยืนตามลำดับ  สองกิจกรรม
แรกนั้น  เรียกเสียงหัวเราะจากครูที่เข้าร่วมกิจกรรมและทำให้ครูรู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี  เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้กระบวนกรก็ได้ให้ครูทุกคนเริ่มแสกนบอดี้  ฝึกสมาธิ  ฝึกจิต  และอยู่กับตนเองก่อนจะเริ่มกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ

กิจกรรมจับมือ

  • ให้ครูจับมือกันเมื่อได้รับสัญญาณคือการจับมือ  โดยเริ่มจากคนแรกแล้วเวียนทางซ้าย (ครูนั่งเป็นตัวยู)  รอบแรกทุกคนมีสติรู้ตัว  ทำให้จับมือกันจนครบทุกคน
  • ขั้นที่สอง  ให้ทุกคนหลับตา  จะจับหรือแตะเมื่ออีกคน (คนที่มีสิทธิ์ได้ส่งสัญญาณคนแรก) ส่งสัญญาณเท่านั้น (เริ่มมีเสียงหัวเราะเพราะหลับตาแล้วคลำไม่เจอ)  
 
 
 
รองผอ.วราภรณ์  ปัตตังทานัง เป็นคนแรกที่ส่งสัญญาณมือเป็นคนแรก 
 
 
 
 
กระบวนกรถามว่า สัญญาณคืออะไร  คำตอบไม่เหมือนกัน  บ้างตอบสะกิดไหล่  สะกิดแขน  สัมผัสหู-ไหล่  จับหู  ลูบไล้แก้ม เฉลยสัญญาณคือ  เขี่ยแก้ม  ครั้ง


สะท้อน

  • คุณครูสมหมาย  ตอบว่า  จะพูดจะทำอะไรให้ตรงไปตรงมา  นิ่ง  แน่วแน่  มีสมาธิ
  • ความซื่อสัตย์  ตอนหลับตา  จะต้องทำตามกติกา  กระบวนกรถามว่า  ถ้าหากนำกิจกรรมนี้ไปใช้กับเด็กจะทำอย่างไร  หากเด็กโกงหรือไม่เคารพกติกา
  • วิธีแรกคือ  การปรามด้วยเสียง  (เป็นมาตรฐานเดิมที่คนส่วนใหญ่ใช้แต่ทางที่ดีคือ  เสริมจิตวิทยาเชิงบวกจะได้ผล  คือ  เมื่อใช้การปรามแล้วครั้งหนึ่งยังไม่ได้ผลก็ควรจะแยกเด็กออกมาจากกลุ่มทันทีโดยที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรมอีก)
  • คุณครูเบญจวรรณ  วิธีที่สองคือ  ให้เริ่มกิจกรรมใหม่ทั้งหมดโดยเริ่มจากคนที่ทำผิดกติกาเป็นคนแรกที่เริ่ม (ถามว่าถ้าทำแบบนี้ยังไม่ดีเท่าไหร่  เพราะจะเกิดความไม่ยุติธรรมกับคนที่ไม่ได้เป็นคนทำผิด)

กระบวนกรสรุปว่า       

  1. การสื่อสารนั้นยากมาก  เพราะต้องใช้ใจฟัง
  2. การส่งสารจะต้องไม่แปลงสาร  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล
  3. สมาธิ  จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสารหรือทำกิจกรรมนี้

กิจกรรมยืนตามลำดับ

  • กติกาข้อแรกให้ทุกคนยืนเรียงกันตามอายุโดยคนที่อายุมากกว่าให้ยืนอยู่ขวามือ (ในวงส่งเสียงชอบใจและรู้สึกผ่อนคลายกว่าเดิมมาก  กิจกรรมใช้เวลาเพียง  นาที)
  • กติกาข้อสองให้ทุกคนยืนเรียงกันตามระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนโดยคนที่บ้านอยู่ไกลที่สุดยืนอยู่ขวามือ  (มีการถกเถียงกัน พร้อมเสียงหัวเราะ ว่าเพื่อนยืนผิดตำแหน่ง  กิจกรรมนี้ใช้เวลาเพียง  นาที)
  • กระบวนกรเสริมว่า  สาเหตุที่ทำให้เรียงกันได้รวดเร็วเพราะทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี  ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ  49 กิโลเมตร  และใกล้ที่สุดคือ  300  เมตร

49  km
45  km
40  km
.
.
.
300 m

 

 

อ่านต่อที่นี่ครับ

หมายเลขบันทึก: 553030เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากไปเรียนรู้ด้วยจังเลย อ.ต๋อยเก่งมากคะ กิจกรรมแบบนี้ตรงใจอยู่แล้วคะ มีสมาธิ สงบ สติ ก่อนสตาร์ท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท