มวลสารที่พบในพระสมเด็จวัดระฆัง


การศึกษามวลสารของพระสมเด็จวัดระฆังนั้น น่าจะศึกษาได้ดีจากพระที่ "กร่อน" มากกว่าพระที่ผิวสมบูรณ์


ในพระที่กร่อน เช่น พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่องค์นี้ จะเห็นทั้ง พระธาตุ ทรายสีดำ น้ำตาล แดง ฟ้า ขาว ใส ฯลฯ


ที่นับเป็นครั้งแรกที่ผมมาจงใจมาส่องดูมวลสารเหล่านี้


ที่ผ่านมาผมไปเน้นดูการงอกของเนื้อปูนสุก ปูนดิบ และตั้งอิ้ว "คลุมผิว" องค์พระ


ที่แม้แต่ผิวเดิมก็ยังไม่ค่อยเห็น หรืออย่างมากก็ "รางๆ" จึงนึกไม่ออกว่าจะดูมวลสารได้ยังไง
....................................................

พอมาดูองค์ที่กร่อนๆ จึงพอเข้าใจคำพูด และสิ่งที่เคยได้ยินมา

เพียงแต่สงสัยว่า............

ที่ผ่านมาที่ผมตามอ่านตามดูเมื่อเขาบอกว่า...

"เม็ดพระธาตุ" ชัดมาก หรือ "มวลสาร" ครบ นั้นผมมองตามแล้วก็ไม่เห็นสักที
.................................................................

สำหรับองค์นี้ผมมั่นใจว่ามวลสารเหล่านี้น่าจะเก่า และอยู่มากับพระยาวนานแน่นอน

โดยสังเกตจากการฝังตัวแน่น กร่อนเฉพาะด้านนอก มน เหี่ยว และกร่อนหลากทิศทางในบริเวณใกล้ๆกัน

ที่แสดงว่า เป็นลักษณะของการผ่านการใช้มานาน โดนสัมผัสจนกร่อน มิได้เกิดจากการขัดแต่ง

*******************************************

นี่แหละครับ หลักการดูมวลสาร และเม็ดทราย

ที่ใช้ได้ในทุกเนื้อ ทุกอายุ ที่มีเม็ดทราย ทั้งในพระเนื้อดิน เนื้อว่าน เนื้อผง

ตั้งแต่พระทวาราวดี ลพบุรี อู่ทอง สุโขทัย อยุธยา จนกระทั่งพระอายุแค่ร้อยกว่าปี
******************************************

จับหลักได้ แล้วยากที่จะพลาดครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิ
หมายเลขบันทึก: 552742เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท