ยาแก้ปวดเข่า(กลูโคซามีน)__ได้ผลไหม


นิวยอร์ค ไทมส์ ตีพิมพ์เรื่อง "ยาลดข้อเข่าเสื่อม (กลูโคซามีน) ได้ผลไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสุ่กันฟังครับ

กลูโคซามีน (glucosamine) เป็นสารที่พบในน้ำไขข้อ

MSM (methylsulfonylmethane) เป็นสารพี่ๆ น้องๆ กัน

ยานี้ขายเป็นอาหารเสริม เพื่อใช้ลดปวดข้อ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม (เข่า สะโพก ฯลฯ)

.

การศึกษาปี 2549 ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่มากกว่า 1,500 คน ติดตามไป 24 สัปดาห์ = 6 เดือน

สุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 > ให้ยากลูโคซามีน (สารในน้ำไขข้อ)
  • กลุ่มที่ 2 > ให้ยาแก้ปวด
  • กลุ่มที่ 3 > ให้ยาหลอก (เม็ดแป้ง ไม่มีตัวยา)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้ยาแก้ปวดมีอาการปวดลดลง

กลุ่มที่ได้กลูโคซามีนกับยาหลอกไม่มีอาการปวดลดลง = ปวดเท่าเดิม

.

การศึกษาปี 2551 ทำในกลุ่มตัวอย่าง 600 คน

สุ่มให้ยากลูโคซามีน ยาแก้ปวด หรือยาปลอมคล้ายๆ กัน

ผลการศึกษาพบว่า คนไข้ส่วนน้อยที่ได้กลูโคซามีนปวดน้อยลง

เรื่องที่น่ารู้ตอนนี้ คือ การศึกษายาพี่ๆ น้องๆ ของกลูโคซามีน (MSM) มีน้อยมาก.

.

แถมยังได้ผลปนกัน คือ ปวดลดลงบ้าง ไม่ลดลงบ้าง

การศึกษาในหนูทดลองจากญี่ปุ่นปีนี้ (2556) ติดตามไป 1 เดือน

หนูอายุสั้นกว่าคน จึงใช้เวลาศึกษาวิจัยสั้นกว่าคน

สุ่มแบ่งให้หนูกลุ่มหนึ่งได้ MSM ขนาดประมาณเท่ากับที่ใช้ในคน, กลุ่มหนึ่งได้ 10 เท่า, อีกกลุ่มหนึ่งได้ยาปลอม

.

ผลการศึกษาพบว่า

  • หนูกลุ่มที่ได้ยา MSM ขนาดประมาณเท่ากับที่ใช้ในคนมีกระดูกอ่อน (ข้อต่อ) เสื่อมช้าลง
  • หนูกลุ่มที่ได้ยา MSM สูง 10 เท่าของคน มีตับเสื่อม (เช่น อักเสบ ฯลฯ)

อ.ดร.ไมเคิล พาร์คส์ ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและ้ข้อ แนะนำว่า จะลองใช้ดูก็ได้

  • ข้อดี คือ ยากลุ่มนี้ค่อนข้างปลอดภัย (ถ้าไม่ใช้ขนาดสูง 10 เท่าแบบที่ทดลองในหนู)
  • ข้อเสีย คือ แพง และผลลัพธ์ไม่แน่นอน (ได้ผลมากน้อยต่างกันบ้าง ไม่ได้ผลก็มี)

.

ท่านแนะนำว่า ขั้นแรก คือ อย่าไปตั้งความตาดหวังไว้สูงเกิน

เวลาไม่สมหวังจะได้ไม่เสียใจ

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ข้อเสื่อมเป็นโรคที่ป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่

(1). ควบคุมน้ำหนัก > ระวังไม่ให้น้ำหนักเกิน-อ้วนตั้งแต่เด็ก

(2). ไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง > ลุกขึ้นยืน หรือเดินสลับ

(3). ไม่ยืนนิ่งนานๆ > ขยับขาไปมา หรือเดินสลับ

(4). ไม่นั่งพื้น > นั่งเก้าอี้ปลอดภัยกว่า

(5). ระวังหกล้ม > โดยเฉพาะเมื่อเล่นฟุตบอล กีฬาที่ต้องเลี้ยวไปมาเร็วๆ เช่น เทนนิส บาสเกตบอล ฯลฯ

(6). ระวังอุบัติเหตุ > โดยเฉพาะเมาไม่ขับ ง่วงไม่ขับ และไม่ขับรถเร็ว.

(7). ออกกำลัง > ทำให้กล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหน้าที่ช่วยพยุงข้อเข่าแข็งแรง

เช่น นั่งเก้าอี้ > ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                                                                        

Thank nytimes > http://well.blogs.nytimes.com/2013/10/28/ask-well-glucosamine-and-msm-for-joint-pain/?ref=health&_r=0

หมายเลขบันทึก: 552526เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณหมอวัลลภ ครับ

   กรณีของผมเวลาสลัดเข่าเข้า - ออก  จะมีเสียงดังให้ได้ยิน แต่ไม่มีอาการปวด  

คุณหมอ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ผมไปรักษา  ท่านแนะนำให้ผมใช้สารอาหาร

กลูโคซามีนเสริมในแต่ละวันประมาณ 3 แคบซุล  ผมใช้มาตั้งแต่ยังเบิกค่ารักษาได้

และวันนี้ยังคงซื้อใช้เองตลอดมา (หลังจากที่กรมบัญชีกลางห้ามเบิก)

 

ข้อบ่งชี้ที่สำคัญ ท่านบอกว่า อายุคุณปานนี้ (ขณะนั้นน่าจะ 48 ปี ปัจจุบันย่างเข้า 51 ปี)

ถ้าเป็นเครื่องยนต์  อะไหล่บางชิ้นน่าจะเริ่มชำรุด  การใช้สารอาหารตัวนี้เสริมเข้าไป

เหมือนช่วยระบบไขข้อ แต่ต้องบริหารร่างกาย เลือกกินอาหารและออกกำลังกายด้วย

 

ผลการใช้มาตลอด ขณะนี้ผมไม่มีอาการปวดเข่าเพิ่ม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท