เนื้อพระเครื่อง 6 ประเภทใหญ่ ที่พบในเมืองไทย


การจัดกลุ่มเนื้อพระที่น่าจะถูกต้องกว่าเดิม......

ผมคิดว่าในวงการพระเครื่องยังใช้ความรู้สับสนในข้อมูลและความจริงของพระเครื่องเนื้อต่างๆ

ผมจึงมาประมวลเนื้อแบบต่างๆ จากตัวอย่างจริงๆ ส่วนใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. ดินเผา พบว่ามีอยู่กรุเดียว คือ กรุพระธาตุนาดูน 

Photo: ปางประทานพร หลักแสนกลางครับ

สาเหตุที่ดินเผาของกรุนี้แข็งแกร่งทนทานเพราะมีแร่เหล็กมาเคลือบแบบ "หินลูกรัง" หรือ "ศิลาแลง"
ที่มีผิวสีแดงของสนิมเหล็ก และมีคราบหินปูนเกาะที่มาจาก "น้ำดูน"
ถ้าเป็นดินเผาทั่วๆไปน่าจะผุยุ่ยไปมากจนแทบไม่เหลือสภาพ หรือเป็นดินไปหมดแล้ว

2. หินเผา พบว่ามี 1 กลุ่มใหญ่คือ พระลำพูน โดยเฉพาะ พระรอดวัดมหาวัน



ที่มีความแข็งระดับ "หิน" ที่แข็งกว่ากระจก (ที่ทำจากทราย) ของที่แข็งกว่าทรายก็ต้องเป็น "หิน" ครับ
ที่น่าจะมีการนำหินมาบด ผสมตัวเชื่อม กดพิมพ์เป็นองค์พระ แล้วเผาที่ความร้อนสูงจนกลายเป็นหินอีกครั้งหนึ่ง

ลักษระการผุ จึงผุแบบหิน ออกสีสนิมเหล็กปนกับโลหะอื่นๆที่อยู่ในเนื้อหินนั้นๆ

3. ดินดิบ พบว่ามีมากที่สุด ในทุกเขตของประเทศไทย



เป็นพระเนื้อไม่แข็งนัก แต่มีความทนทาน ผุกร่อนน้อยมาก
ทำกันตั้งแต่เหนือจดใต้ ตะวันออกถึงตะวันตก
เป็นพระเครื่องที่นิยมกันสูงสุด ทั้งโดยความงดงามและการปั่นกระแสของกลุมพุทธพานิช
มีการนำน้ำมันจากพืชที่ถือว่าเป็น "สมุนไพร" มาเป็นตัวประสานเนื้อดินให้ปั้นเป็นก้อนได้
มีทั้งแก่ดิน สมดุล และแก่ว่าน
มีการสร้างทั้งสมัยพันกว่าปี เรื่อยๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน

4. เนื้อว่าน ว่านผสมดินดิบ



เป็นพระที่พบไม่มากนัก มีการนำดินมาผสมน้ำว่าน และเนื้อว่านบ้าง
เพราะถ้ามีเนื่อว่านมาก จะทำให้ผุกร่อนง่ายและไม่ทนทาน
เนื้อพระแบบนี้จะพัฒนาการเร็ว ดังจะเห็นได้ชัดใน ลพ ทวด 2497
แต่เป็นวิธีการสร้างพระที่ทำมานานเป็นพันปี จนถึงปัจจุบัน

5. เนื้อโลหะ ที่ส่วนใหญ่พบมากในยุคลพบุรี และต่อเนื่องมานิดหน่อย


ที่มีทั้งทองคำ เงิน สำริด ชินเงิน ชินเขียว และตะกั่ว
ที่มีความแข็งแกร่งและทนทาน โดยมีสนิมเป็นตัวชี้วัดว่าเป็นโลหะอะไรบ้าง
ทั้งสนิมเชิงเดี่ยวและสนิมเชิงซ้อน
มีทั้งโลหะค่อนข้างบริสุทธิ์ และโลหะผสม เนื้อจึงหลากหลายมาก
ในระยะหลังๆ ได้นำมาทำรูปหล่อ และเหรียญ ที่วัสดุส่วนใหญ่เป็นทองเหลือง และทองแดง ที่ไม่ทนทานนักถ้าอยู่ในธรรมชาติ จึงมักไม่พบในพระกรุโบราณ
แต่ถ้าเก็บรักษาอย่างดีก็น่าจะมีความทนทานได้นาน

6. เนื้อผง ที่นิยมทำขึ้นในยุคประมาณ 200 ปีมานี้เอง



โดยนำผงปูนเปลือกหอย ทั้งเผาและไม่เผามาคลุกกับมวลสารเหนียวๆต่างๆ กดพิมพ์ หรือปั้นเป็นรูปพระ
ที่จะมีความแข็งระดับเดียวกับเปลือกหอย เมื่อมีการพัฒนาการของผิวแล้ว

นี่คือลักษณะเนื้อพระเครื่องแบบใหญ่ๆ ที่พบ

ที่มีบ้างไม่มากนักก็คือ งานแกะสลัก จำพวก หินแกะ ไม้แกะ งาแกะ เขาแกะ กระดูกแกะ ซึ่งน่าจะทำยาก จึงมีไม่มาก

ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจเนื้อแล้ว เราก็จะเริ่มต้นศึกษาอย่างถูกต้อง โดยไม่หลงทางไปกับของทำเลียนแบบ ที่มักใช้วัสดุเทียมๆ ในสมัยใหม่ 

ทั้ง (ก) ดินเผาขัดแต่งผิว (ข)พลาสติกอัดแต่งผิว หรือ (ค)โลหะใหม่ๆแต่งผิว แช่กรด ทาสี

ของเก๊ส่วนใหญ่ที่เล่นกัน ก็มีเท่านี้ครับ ไม่น่าหลง แต่ก็หลงทางกันมากเลยครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 552472เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท