Singapore's Mathematical Problem Sloving Framworkกรอบแนวคิดคณิตศาสตร์ ของประเทศสิงค์โปร์


วง PLC เล็ก ๆ เมื่อวาน...การมาพบปะ ตั้งวงสนทนากันของมิตรสหายที่สนใจเรื่อง "การเรียนแบบเปิด" หรือ Open approach มิตรของเราวงเล็ก ๆ เริ่มที่ 6 คน ที่สนใจร่วมกัน ทั้ง อ.เกษม (จาก ม.ทักษิณ) และเพื่อนครูคณิต ร.ร. ศรีนครินทร์ วงคุยด้วยอารมณ์ฮา ๆ และจริงจังสลับกันไป ทำให้คุยกันได้นานอย่างมีพลัง และลึก พอควร...ยกมาเรื่องนึงที่เราสนทนากันคือ โมเดลการแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์ ตัวอย่างของสิงค์โปร์ ที่เริ่มเดินเครืองปฏิรูปอย่างจริงจัง หากเราพิจารณาดูทั้ง 5 องค์ประกอบ ข้างล่างนี้ ส่วนตัวดิฉัน กลับย้อนไปมองว่า การเรียนคณิตศาสตร์ที่พบเห็นทั่วไป มันหยุดอยู่ที่มากสุดคือ Concept และอาจจะแตะ Skill บ้างเล็กน้อย มันไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดระบบคิดหรือปัญญาการแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้....โดยเฉพาะ 3 ด้านที่เหลือ Attitudes มองง่าย ๆ คือ ความพยายามความท้าทายของตนเองในการเผชิญและแก้ปัญหา ส่วน Processes นั้น น่าจะเป็นการออกแบบวิธีการหรือกระบวนการในการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง (ไม่ใช่ครูสอนวิธีการทำนะ) ที่สำคัญเมื่อวานที่ตัวเอง สนใจอย่างมาก คือ ระบบคิดแบบ Metacognition ขอใช้คำว่า "รู้แจ้ง เห็นจริง" แบบเห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ที่มาที่ไป แบบอยู่ในเนื้อในตัวเราเอง ตรงนี้เลยที่หามานาน....ศีล สมาธิ ปัญญา...มันจะเนียนไปกับการเรียนรู้ในแต่ละวิชาได้อย่างไร...ที่สามารถทำให้เด็กมีปัญญาพร้อมในการใช้ชีวิต...รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่อยากสืบค้นต่อและเอาตัวไปเรียนรู้และลองทำดู...ใครสนใจเรื่องนี้ Open approach ก็มาร่วมวงเรียนรู้กันได้นะคะ...^-^ แล้วก็ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ในวงสนทนาครั้งนี้นะคะ
 
ปล. จะมาขยายรายละเอียดในกรอบนี้อีกคราวหน้านะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 551958เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เข้ามาเรียนรู้ "กรอบแนวคิดคณิตศาสตร์ ของประเทศสิงค์โปร์" ค่ะ และพบว่า บันทึกก่อนๆ ที่ "คุณวรลักษณ์" เขียน ก็น่าสนใจ คงต้องหาโอกาสเข้าไปอ่าน
  • คุณวรลักษณ์ พิมพ์อักษรคำว่า "Solving" สลับเป็น "Sloving" นะคะ
  • ตอนที่สอนนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ในหัวเรื่อง "การวิจัยตัวแปรทางจิตวิทยาการศึกษา" "Metacognition" เป็นตัวแปรเด่่นตัวแปรหนึ่ง ที่สนับสนุนให้นักศึกษานำไปศึกษาเพื่อทำวิทยานิพนธ์ และมีนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์สร้างแบบวัดตัวแปรนี้ด้วยค่ะ
  • มีผลการศึกษาที่พบว่า การใช้ "Metacognition" ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น ด้วยนะคะ ในโมเดลของสิงคโปร์
  • "Mornitoring of one's own thinking" และ "Self-regulation of learning" เป็นกระบวนการที่ "ไอดิน-กลิ่นไม้" ใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษาค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดีๆ ที่ขอนำไปอ้างอิงในบันทึกข้างล่าง ตอนที่ 2 ด้วยนะคะ

    ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ด้วยยุทธศาสตร์การคิด/ทำแบบกลับทาง อย่างรอบด้าน

  •  

 

จากรูป และจากการอ่านเอกสารหลักสูตรของสิงคโปร์ สรุปได้ดังนี้

 

framework ดังกล่าวแสดงให้ทราบว่าหลักสูตรการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนของสิงคโปร์ที่ออกโดย ศธ. ของสิงคโปร์นั้น เป้าหมายสูงสุดของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์คือความสามารถในการแก้ปัญหา และจะเกิดความสามารถนี้ได้หลักสูตรต้องมุ่งเน้น 5 องค์ประกอบ (1) การเรียนรู้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์(เนื้อหานั่นเอง)ทางจำนวน พีชคณิต เรขาคณิต สถิติ ความน่าจะเป็น และการวิเคราะห์

(2) ทักษะควาสามารถ ได้แก่ การคิดคำนวน การดำเนินการทางพีชคณิต  การเห็นความสัมพันธ์ในเสปส(รูปทรง ตำแหน่ง มิติ ฯลฯ)

การวิเคราะห์ข้อมูล การวัด การใช้เครื่องมือมางคณิตศาสตร์ การประมาณ/การคาดคะเน

(3) กระบวนการ ได้แก่ การะบวนการให้เหตุผล การสื่อสารและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ทักษะการคิดและวิธีการแก้ปัญหา การประยุกต์และการสร้างตัวแบบ/แบบจำลองปัญหาทางคณิตศาสตร์

(4) metacognition การติดตามควาบคุมความคิดของตนและการเรียนรู้ของตน(ประเมินการคิดและการกระทำของตนเองและปรับปรุงตลอดเวลา)

(5) การสร้างเจตคดิที่พึงประสงค์ ได้แก่ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ต้องทำให้ผู้เรียน มีความเชื่อ ความสนใจ ความซาบซึ้ง เกิดความเชื่อมั่น และมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ

การวางหลักสูตรของไทย สสวท ไม่สรุปให้ชัดเจนแบบนี้  แต่ในรายละเอียดก็มีคล้ายคลึงกัน

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท