บันได 5 ขั้น ของการทำงานจิตอาสา


บันได 5 ขั้น ของการทำงานจิตอาสา เป็นอีกวิถีของการทำงานในอีกมุมหนึ่งในการทำงานจิตอาสาที่ควรค่าต่อการประยุกต์ต่อไปในทัศนะของการทำงานของ "คนอาสา"

บันได 5 ขั้น ของการทำงานจิตอาสา

         ค่ายพัฒนาโครงการของโครงการปลูกใจรักษ์โลกเป็นค่ายที่ปรับฐานคิดของทุกโครงการเข้าหาหลักในการทำโครงการให้สำเร็จโดยที่มีทั้งกลุ่มเยาวชนจากเหนือสุดจรดใต้สุดมีทั้งพี่ๆจากกลุ่มต่างๆเเละเยาวชนต่างๆที่เข้าร่วมค่าย...กิจกรรมในอีกวันหนึ่งเป็นการตั้งความคาดหวังของพี่เลี้ยงของกลุ่มต่างๆซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในนั้น...โดยตั้งคำถามให้พี่เลี้ยงคอยระดมความคิดเห็นช่วยกันในเรื่องของความคาดหวังต่อตัวเยาวชนของตนที่อยู่ในทัศนะของพี่เลี้ยง...ข้าพเจ้ามองว่าความคาดหวังที่ทรงคุณค่าที่สุด คือ การให้เขาเรียนรู้สังคมเเล้วสามารถใช้ชีวิตให้อยู่รอดในสังคมได้.. พี่เลี้ยงหลายคนหลายความคิดเห็นจึงถือว่าเป็นมุมมองที่หลากหลายช่วยสะท้อนให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างของการทำงาน... ข้อมูลความคิดเห็นในทัศนะของข้าพเองมองว่า "สิ่งที่ควรค่าในการประยุกต์หรือสร้างขึ้นมาเป็นโมเดล" คือ การระดมความคิดอย่างหลากหลายของคนต่างๆในการทำงาน...ซึ่งจากครั้งที่เเล้วผมได้สะท้อนให้ฟังในเรื่องของบันได 5 ขั้นจัดตั้งองค์กรซึ่งนั่นก็เป็นการสรุปเทคนิคการเข้าสู่ชมชนของเเต่ละกลุ่ม ที่นี่ อาจสังเกตได้อีกมุมหนึ่งว่า "ในการระดมความคิดของคนต่างๆอย่างหลากหลายเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าต่อการประยุกต์ใช้"  ในทัศนะของหลายๆคน ... 

         บันได 5 ขั้นในการทำงานจิตอาสา เป็นอีกโมเดลหนึ่งในการทำงานจิตอาสา...

         คิด = การใคร่ครวญดูตนเอง อาทิ ใช่ทางของเราหรือเปล่า / เราเป็นใคร / ทำอะไร / ทำอย่างไร / กับใคร / ที่ไหน /ทำเเล้วจะเกิดอะไรขึ้น / เราลองดูได้ไหม... / จากปัญหามีผลเป็นอย่างนี้เเล้วเราจะเข้าไปช่วยเขาได้ไหมในอัตภาพของเรา / ใจเราให้ไหมซึ่ง "คิด" นี้ อาจเป็นการสอบถามเพื่อนที่จะเข้ามาร่วมกลุ่มหรือการมองทัศนะของเขาก่อนเเล้วสอบถาม (เเล้วเเต่เทคนิคของเเต่ละคนที่มีต่อบริบทนั้นๆ) ... การสอบถามเเละการพูดคุยกันก่อนเป็นสิ่งสำคัญที่อาจเป็นเครื่องวัด "ใจ" ในการทำงานเพราะการทำงานจิตอาสาเมื่อเรามีใจในการเริ่มงาน   เมื่อทุกคนมีใจในการร่วมงาน  งานจะสามารถพัฒนาต่อไปได้

         เรียนรู้งาน = เรียนรู้บริบทของงาน อาทิ การศึกษางานเดิมของรุ่นพี่อย่างนุ่มลึก / การศึกษางานที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นงานวิจัยต่างๆของกลุ่มต่างๆที่ได้ลงชุมชนในอดีตหรือปัจจุบัน

         เรียนรู้ชุมชน = การศึกษาชุมชนอย่างครอบคลุมในประเด็นปัญหาที่ทำงาน  /  การลงชุมชนเพื่อสร้างความคุ้นเคยเเละความเป็นกันเองกับชาวบ้านทั้งนี้เพื่อสื่อสารกับชาวบ้านอย่างเข้าใจในบริบทของงานที่เราได้ทำโดยอาจใช้ทุนที่เรามีอยู่ เช่น  ความเป็นเด็ก  ความเป็นผู้ใหญ่  ความสามารถพิเศษต่างๆ เข้าช่วย ... การเรียนรู้ชุมชนจำต้องเรียนรู้ สังคม สิ่งเเวดล้อม  สภาพพื้นที่ อาชีพทำกิน  วัฒนธรรมที่ดำรงอยู่  วิถีชีวิตของชุมชน เเละศึกษาองค์ประกอบของชุมชนในด้านต่างๆ เเล้วนำมาพูดคุยวิเคราะห์ร่วมกันตามกระบวนการของโครงการ

          พัฒนางาน = ดำเนินงานด้วยกระบวนการกลุ่มโดยบทบาทของเเต่ละคนที่ไม่สุดโต่งในบทบาทของตนเอง..การพัฒนางานนี้เปรียบกับการดำเนินงานที่ได้ตั้งเป้าไว้...บางครั้งสิ่งที่เราได้ตั้งเป้าไว้อาจไม่เหมาะสมกับบริบทนั้นๆ...ก็สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมเเก่กลุ่ม  เหมาะสมเเก่ชุมชน  เเละเหมาะสมเเก่การเเก้ไขปัญหา ... การดำเนินงานสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของงาน

          ถ่ายทอดงาน = การสร้างรุ่นต่อมาเพื่อไต่บันไดขั้นต่อไปของงาน ซึ่งการทำงานจิตอาสานั้นต้องใช้ระยะเวลาจึงต้องมีรุ่นต่อมาเพื่อดำรงงาน (เทคคนิคในการถ่ายทอดงานอาจเเตกต่างกันไปตามทัศนะของเเต่ละคน)  เช่น การให้เขาเข้ามาร่วมงานกับเราก่อน  การให้เราได้ศึกษา หรือ สนใจงานเราก่อน ... 

          บันได 5 ขั้น ของการทำงานจิตอาสา เป็นอีกวิถีของการทำงานในอีกมุมหนึ่งในการทำงานจิตอาสาที่ควรค่าต่อการประยุกต์ต่อไปในทัศนะของการทำงานของ "คนอาสา"  

         

 

หมายเลขบันทึก: 551846เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำไมไม่เรียนรู้ชุมชนก่อนจะคิดครับ ....สงสัย

บันได 2 ขั้น นี้สามารถยืดหยุ่นได้ครับ อาจารย์เพราะไม่ได้ตายตัว... ผมมองว่าให้เรียนรู้งานของรุ่นพี่ก่อนเพราะจะได้มองเห็นผลของชุมชนอย่างชัดเจน เช่น ข้อสังเกตของรุ่นพี่เป็นอย่างนี้เเล้วพอเด็กมาลงชุมชนเด็กจะได้เห็นภาพสิ่งที่เป็นข้อสังเกตของรุ่นพี่หรือการมองย้อนไปยังการทำงานของรุ่นพี่เมื่อได้ลงชุมชน (หรือเรียกอีกอย่างง่ายๆว่า..การปูพื้น "ผมเรียกนะ" ... )

-สวัสดีครับ..

-สุดยอด....

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท