อิทธิพลของปรัชญาและศาสนาที่มีต่องานศิลปกรรมไทย ภาคสรุป


อิทธิพลของปรัชญาและศาสนาที่มีต่องานศิลปกรรมไทย ภาคสรุป

                                                                        วาทิน ศานติ์ สันติ

ภาพจาก : http://ter-np.blogspot.com/2010/12/blog-post.html

ประเทศไทยยึดมั่นพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลัก แต่ก็ให้ความสำคัญกับศาสนาต่าง ๆ เช่นศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ รวมถึงพุทธมหายาน  ศาสนาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว งานศิลปกรรมในศาสนาถือเป็นปริศนาธรรมเข้าสู่หลักธรรม อีกทั้งบ่งบอกถึงฐานะ อำนาจ รถนิยม คตินิยม ของผู้สร้างได้ด้วย เพื่อการเผยแพร่ศาสนาให้ยืนยาว

๑. งานสถาปัตยกรรม

             คติความศาสนาพราหมณ์และพุทธเรื่อง “คติภูมิจักรวาล” เชื่อว่า ศูนย์กลางของจักรวาลคือเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระอิศวร ด้านล่างลดหลั่นกันลงมาเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดาและสัตว์ในป่าหิมพาน มีทะเลล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีทวีปทั้งสี่ทิศ งานสถาปัตยกรรมไม่ว่าในสถาบันพระมหากษัตริย์หรือในศาสนาสร้างด้วยคตินี้ทั้งสิ้น เช่นการสร้างหลังคาซ้อนชั้น การใช้เทวดาและสัตว์ อมนุษย์หิมพานเป็นส่วนประกอบของอาคาร เป็นการนำคตินามธรรมสู่รูปธรรม

               ๑.๑ พระราชวัง กษัตริย์เป็นสมมติเทพ ที่อยู่อาศัยจึงมีความวิจิตรและเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ของเทพเจ้า เช่นหลังคาซ้อนชั้นหมายถึงชั้นของเขาพระสุเมรุ เช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หน้าบรรณพระอินทร์ทรงช้างเอรวัณ ตรีศูร เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 

               ๑.๒ เทวาลัยปราสาทหิน เป็นเทวลัยของศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ในศิลปะลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา เช่น เทวลัยในไศวนิกาย ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เทวลัยในไวษณพนิกาย ปราสาทนารายเจงเวง จ.สกลนคร

               ๑.๓ วัดไทย ปรากฏสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเทรวาท มหายานและศาสนาพราหมณ์ไว้มากมายเช่น

                  - ลายหน้าบันนารายณ์ทรงครุฑยุตนาคที่วัดสุทัศน์เทวราราม คติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์

                  - ช่อฟ้า ใบละกา หางหงส์ ที่พวยพุ่งเป็นเปลวสู่เบื่อบนเป็นความเชื่อในพุทธศาสนาเถรวาท เรื่องนิพพาน

                  - ชั้นหลังคาซ้อนชั้นแสดงถึงคติเขาพระสุเมรุ

                  - เส้นนอกของอาคารจะเป็นเส้นโค้ง ดูเบาล่องลอยสู่เบื้อบน

                  - เจดีย์แสดงคติเขาพระสุเมรุ ส่วนปล่องไฉนแสดงสัญลักษณ์ตัวเลขเช่น ๕ ชั้น ๒๘ ชั้นแสดงถึงจำนวนพุทธเจ้า

                  - วัดไทยร่วมสมัย เช่นวัดร่องขุน จ.เชียงราย แสดงถึงสีขาวแห่งความบริสุทธิ์ เส้นพวยพุ่งขึ้นสูงแสดงถึงพระนิพพาน

    สะพานข้ามน้ำเข้าโบสถ์หมายถึงการข้ามสังสารวัฎ

                     ๑.๔ วัดจีนในไทย แสดงคติมหายาน มีสัญลักษณ์มงคลจีนประดับ เช่น ท้อคือความยั่งยืน,ห่านคือ  อาคารประดิษฐานพระพุทธรูปคติมหายานเช่นที่วัดมังกรกมลาวาส มีพระอมิตาภะ พระศรีอารยเมตรไตรย พระโพธิสัตว์มหาสถาปราบ หากเป็นศาลเจ้าจะมีรูปเคารพเทพเจ้าประจำศาล เช่น ศาลเจ้านาจาซาไท่เจื่อ จ.ชลบุรี มีรูปเคารพเทพเจ้านาจา

                     ๑.๕ วัดไทยผสมศิลปกรรมจีน เช่น วัดราชโอรส เป็นศิลปะพระราชนิยมในรัชการที่ ๓จะลดรูปแบบราชประเพณีออกไป เช่นตัดช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระเบื้อเคลือบแทน ใส่สัญลักษณ์สัตว์ ดอกไม้มงคลแทน ทวารบานก็ใช้ตุ๊กตาหินแบบจีน

                 ๑.๖ บ้านเรือนไทย ยกพื้สูง ทำด้วยไม้ โปรง หลังคาจั่วสูง  แสดงถึงความสงบ ร่มเย็น เลื่อมใส

๒. งานประติมากรรม

                ๒.๑ พระพุทธรูป จะเน้นความอ่อนช้อยงดงาม สงบ แสดงลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ สวยงามที่สุดคือพุทธรูปสุโขทัย เช่นพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก

                ๒.๒ เทวรูปในศาสนาพราหมณ์ แสดงอำนาจของเทพเจ้า พระพรหมผู้สร้าง พระนารายณ์ผู้รักษา พระศิวะผู้ทำลาย แสดงหลายกร มีอาวุธมาก เช่นเทวรูปในศิลปะลพบุรี

                   ๒.๓ ประติมากรรมร่วมสมัย ของ เขียน ยิ้มสิริ แสดงถึงความอ่อนช้อย อิทธิพลศิลปะสุโขทัย เช่น “เสียงขลุ่ยทิพย์” ทิพย์ที่เกิดคำสอนของพุทธศาสนา

๓. จิตกรรม

                ๓.๑ ราชประเพณี ในโบสถ์ วิหาร ด้านหลังพระประธานแสดงคติไตรภูมิ ด้านผนังสกัดแสดงมารผจญ ด้านบนแสดงเทพชุมนม ระดับหน้าต่างแสดงพุทธประวัติ ในศาสนาพราหมณ์ด้วยเช่นจิตกรรมเรื่องรามเกียรติ์ สมัยรัชกาลที่ ๔ ลงมา จะเน้นความเสมือนจริง เช่นภาพประวัติศาสตร์ของ ขรัวอินโข่ง

                ๓.๒ ร่วมสมัย เช่น ภาพของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ แสดงความสุขสงบของการเข้าถึงธรรมมะ ทิพยวิมาน  ด้านล่างเน้นสีสรรสวยงาม ด้านบนเน้นสีโทนเย็นและอุ่นแสดงถึงความสุข  ภาพภิกษุสันดานกาของ อนุพงษ์ จันทร แสดงความเสื่อมของนักบวชในพระพุทธศาสนา

                ๓.๒ ลายไทย เช่นลายกนกเปลวที่พวยพุ่งแสดงถึงการขึ้นสู่ที่สูง การเข้าสู่พระนิพพาน

๔. นาฏกรรมและการแสดง

                    ๔.๑ ในศาสนาพุทธ เช่นการแสดงประกอบการเทศมหาชาติ ทั้ง ๑๐ ชาติของพระพุทธเจ้า

                ๔.๒ ในศาสนาพราหมณ์ เช่น โขนเรื่องรามเกียรติ์ เป็นศิลปะประจำชาติไทย

                ๔.๓ ผสมผสานเช่น ละคร ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามรบกามณี เป็นการผสมวัฒนธรมไทยและจีน 

                    ๔.๔ ในวัฒนธรรมจีน งิ้ว แสดงเรื่องทางประติศาสตร์จีน และเทพนิยายปรัมปรา

                ๔.๕. ละครเวที เช่น เยิรพระยม คณะนิทเศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นการตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต การไม่ประมาท มรณานุสติ

                ๔.๖ละครทีวี เช่น เจ้ากรรมนายเวร ของ สุพล วิเชียรฉาย แสดงถึงเวรกรรมตามสนอง ไม่มีคนใดหลีกหนีกรรมที่ตนทำได้

                ๔.๗. การ์ตูน เณรน้อยอิคคิวซัง ปรัชญาของนิกายเซ็น การแก้ปัญหาต่าง ๆ จากสติปัญญาตนเอง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

                ๔.๘ ภาพยนตร์ไทย  แม่นาคพระโขนง แสดงความไม่จีรังของชีวิต ไม่มีใครหลีกหนีไตรลักษณ์ไปได้

                ๔.๙ ภาพยนตร์ต่างประเทศ  เรื่อง Matrix การแสวงหาหนทางการหลุดพ้นอย่างแท้จริงจากความเชื่อเดิมจากพระเจ้าด้วย

๕. เพลง

                 ๕.๑ ดนตรีไทยเดิม  เพลงพญาโศก มีตั้งแต่สมัยอยุธยา ประกอบโขน แสดงความเศร้า อาวรณ์ ความไม่เที่ยงแท้

                 ๕.๒ ดนตรีไทยสากล ของ จีนวัน ดินป่า เพลงปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีงามแก่เยาวชนและสังคมโดยยึดตามคำสอนของพุทธทาส

                  ๕.๓. เพลงลูกกรุง เพลงพรหมลิขิตของสุนทราภรณ์ ชีวิตของมนุษย์ดำเนินไปตามลิขิตของพระพรหม

                  ๕.๔ เพลงสวด ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร กล่าวถึงพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ ดนตรีแสดงความสงบ เกิดสมาธิ

๖. วรรณกรรม

                  ๖.๑  วรรณกรรมในพุทธศาสนาเช่น ไตรภูมิพระร่วง แสดงภพภูมิต่าง ๆ ความน่ากลัวของนรก ให้คนแกรงกลัวต่อบาป

                  ๖.๒ วรรณกรรมร่วมสมัยแสดงวัฒนธรรมจีนในสังคมไทย เช่น อยู่กับก๋ง กล่าวถึงคำสอนให้ใช้ชีวิตเรียบง่าย รู้จักคุณค่าของสิ่งของและชีวิต ลอดลายมังกร แสดงถึงปรัชญาการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจจนสร้างฐานะที่ดีได้

                  ๖.๓ เรื่องสั้น กามสุขัลลิกานุโยค ของวินทร์ เลียววารินทร์ ในรวมเรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน กล่าวถึงภิกษุสงฆ์เผลอเลอหลงในรูปลักษณ์สตรีที่ถูกขุมด้วยผ้าบาง ๆ แต่เมื่อเห็นภายใต้ผ้าว่าหญิงสาวเป็นโรครายก็คิดได้ 

สรุป

                งานศิลปกรรมไทยมีอิทธิพลของศาสนาพุทธ เถวราท มหายาน พราหมณ์อยู่ชัดเจน เพื่อตอบสนองทางด้านจิตใจ เป็นปริศนาธรรม และเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เมื่อผู้คนได้ชื่อชมก็จะรู้สึกอิ่มเอมใจและสร้างความศรัทธาเข้าถึงศาสนาได้ไม่ยากนัก

 

วาทิน ศานติ์ สันติ

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖

คำสำคัญ (Tags): #ศิลปกรรมไทย
หมายเลขบันทึก: 551452เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท