เอามะพร้าวมาขายสวน : คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี


ผู้ที่จะเป็นนักวิจัยที่ดีได้ควรจะได้ฝึกฝน และปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมกับการเป็นนักวิจัยเช่นเดียวกับการฝึกฝนการงานในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ

          การวิจัยเป็นการทำงานที่จะฝึกให้ผู้วิจัยทำงานอย่างมีระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ มีการใช้ความคิดและสติปัญญาอย่างรอบคอบ รอบรู้ รู้จักใช้เหตุและผลในการตอบประเด็นปัญหา ที่ละประเด็น และเชิงระบบ
          ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักวิจัย โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ จะต้องมีการเตรียม มีการฝึกค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องระเบียบวิธีวิจัย สถิติ และการฝึกทำวิจัยในฐานะผู้ร่วมฯ มาบ้างแล้วพอสมควร มิใช่ว่าทุกคนที่ผ่านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยแล้ว จะเป็นนักวิจัยได้เลยเหมือนกันหมด ผู้ที่จะเป็นนักวิจัยที่ดีได้ควรจะได้ฝึกฝน และปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมกับการเป็นนักวิจัยเช่นเดียวกับการฝึกฝนการงานในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ จะขอยกเรื่องคุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี มาย่อ ๆ ดู เพื่อพิจารณาร่วมกัน หรือจะมีอย่างอื่นอีกก็เพิ่มติมได้
          1. ควรจะเริ่มต้นความชอบ หรือพอใจ หรือมีใจรักในการวิจัย
          2. ควรจะเป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้ มีสำนักและวิญญาณของนักวิชาการและนักวิจัย
          3. ควรจะเป็นคนช่างสังเกต รู้จักใช้ความคิดในแง่เหตุและผล
          4. ควรจะเป็นคนอุตสาหะ อดทนและใจกว้าง (รับฟัง รับรู้ พร้อมเรียนรู้ตลอดเวลา)
          5. ควรจะเป็นคนที่ได้พยามลดอคติ หรือความลำเอียงให้เหลือน้อยที่สุด (เชื่อว่าไม่หมดเสียทีเดียว)
          6. ควรจะเป็นคนมีจริยธรรมและมีจรรยาบรรณของการวิจัย (ข้อนี้ควรมีทุกเรื่อง)
           การทำวิจัยเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ด้านศาสตร์และศิลปะ และนักวิจัยเองก็ต้องมีจิตสำนึกของจริยธรรมและจรรยาบรรณของการวิจัยไว้ด้วยเสมออย่าได้ขาด นักวิจัยจะมองข้ามไปไม่ได้ เพราะถ้านักวิจัยละเลย หรือละเมิดคุณลักษณะข้อนี้ งานวิจัยนั้นอาจมีผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย ซึ่งไม่สมควรเลย ซึ่งจะได้เขียนไว้เป็นการเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง

     เรื่องทั้งหมดที่เขียนเป็นตอน ๆ คือ [บทนำ ขั้นตอนการทำวิจัย] [การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย] [การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง] [การกำหนดกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี] [การตั้งสมมติฐาน] [การกำหนดตัวแปรและการวัด] [การกำหนดหรือวางรูปแบบการวิจัย] [การเตรียมและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย] [การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง] [การเก็บรวบรวมข้อมูล] [การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์] [การวิเคราะห์ข้อมูล] [การแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล] [การเขียนรายงานวิจัย] [ความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการวิจัย] [จรรยาบรรณนักวิจัย] [คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี]
     หมายเหตุ: หากยังไม่ link หมายถึงยังไม่ตีพิมพ์ไว้ครับ
     ผมเอาประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ได้จากการเรียน และลงมือทำมาเขียน ถ้าหากเอามาจากที่อื่น ๆ มาผสมผสานลงไป ก็อ้างอิงไว้ และหากผิดถูกประการใด ก็ขอน้อมรับเพื่อการปรับปรุงในทันทีนะครับ (เขียนเหมือนรายงานนักศึกษาเลย) สิ่งนี้ยังต้องการคำชี้แนะอีกมาก ขอเชิญเติมเต็มให้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 5501เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2005 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณชายขอบ

ครูอ้อยอยากเป็นแค่นักวิจัยปานกลาง  หมายถึง  พอใช้  ไม่อยากดีค่ะ  เพราะเดี๋ยวถูกใช้งานบ่อย  อิอิ พูดเล่น

กำลังศึกษาอยู่และต้องใช้เวลายาวนานและติดกัน

 จึงจะทำให้ผู้วิจัยมีผลงานที่มีคุณภาพ

เวลาของครูอ้อยไปไหนหมด  จะพยายามค่ะ ขอบคุณมกาค่ะ สวัสดีค่ะ

อาจารย์สิริพร

     เวลาของอาจารย์ไม่น่าจะไปไหนนะครับ ยังอยู่กับอาจารย์เสมอ เวลาจะกลับมาหาเราทันทีที่เราได้ทบทวน เช่น บันทึกของอาจารย์บันทึกหนึ่งที่ผมได้ให้ คห.หลายครั้งมาก ในประเด็นรายงานวิจัยควรเขียนกี่บทกันแน่ ลองทบทวนสิครับ ครั้งนั้นผมไม่เคยนึกเลยว่าเสียเวลาที่ได้ให้ คห.อาจารย์ไว้ กลับนึกว่ามีคุณค่าเสมอที่ได้ทำลงไป และเวลานั้นก็ไม่ได้หายไปไหนเลยครับ (ไม่ได้นึกว่าเสียเวลาอะไรเลยไงครับ...ยิ้ม ๆ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท