ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน

มนุษย์ได้มีการศึกษาทางด้าน ศาสตร์การสอนและทฤษฏีการเรียนรู้ มาอย่างยาวนาน แต่พึ่งจะมีการศึกษาอย่างจริงจังและเป็นระบบในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น กรอปกับการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นมีความสลับซับซ้อนและมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้นยังมีไม่มาก และนักการศึกษาเองก็ยังไม่สามารถหาทฤษฏีที่ดีที่สุดที่สามารถอธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำและครอบคลุมทุกตัวแปรที่เป็นไปได้ ดังนั้นการเรียนการสอนที่ยึดติดกับทฤษฎีการเรียนรู้ใดทฤษฏีหนึ่งมากจนเกินไปอาจจะไม่ส่งผลดีเทียบเท่ากับการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเรียนรู้หลายๆ ทฤษฏีเข้าด้วยกัน นอกจากนี้แล้ว การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับสภาพแวดล้อมรอบตัว และลักษณะของเนื้อหาวิชาที่กำลังศึกษาด้วย ดังนั้น เพื่อให้การใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นที่จะต้องใช้ประสบการณ์ของท่านผู้อ่านมาร่วมในการคิดและตัดสินใจเพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่ท่านผู้อ่านเผชิญอยู่ ในวงการทางการศึกษาจะมีคำศัพท์คำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้ คือความรู้ความสามารถในการสอนเนื้อหาใดเนื้อหาเนื้อหาหนึ่ง (Pedagogical Content Knowledge, PCK) แนวคิดนี้ก็คือ ความสามารถในการสอนเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งนั้นจัดว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่ต้องใช้ความรู้ทั้งทางด้านเนื้อหา ด้านศาสตร์การสอน ประสบการณ์ในการสอน ความรู้เกี่ยวกับตัวนักเรียนและสิ่งแวดล้อม มาประกอบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น คนที่เข้าใจเนื้อหาเรื่องคลื่นเป็นอย่างดีก็อาจจะไม่สามารถสอนเรื่องคลื่นให้กับนักเรียนหรือบุคคลอื่นได้ หากเขาไม่ทราบว่าจะต้องสอน หรืออธิบายอย่างไร และคนที่เข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างดีก็ไม่สามารถที่จะสอนเรื่องคลื่นให้กับนักเรียนได้ หากเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องคลื่นอย่างเพียงพอ

ซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้ โดยยกมาเป็นตัวอย่าง 1 ทฤษฎีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสอนได้ คือ

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
ได้ทดลองการตอบสนองของหมาที่น้ำลายไหลเมื่อนำอาหารมาให่กิน ซึ่งพาฟลอฟเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านทฤษฎีการเรียนรู้ได้ทั้งทางเวปไซต์และหนังสื่อ โดยผู้ศึกษาได้ศึกษาเนื้อหามาจากหนังสือ เรื่องทฤษฎีการเรียนและการจัดการเรียนการสอน ในหนังสือได้ให้คำสำคัญไว้ว่า ในการจัดการเรียนการสอนสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนได้หลายทฤษฎีแต่สิ่งที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนนั้นจะต้อง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นเอง ซึ่งในการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟดิฉันก็มีตัวอย่างมาอธิบายเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เช่น ครุสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษและใช้รูปภาพประกอบ คือ การสอนคำศัพท์เกี่ยวผลไม้ต่างๆ เมื่อครูชูรูปผลไม้ชนิดหนึ่งขึ้นแล้วพูดคำศัพท์นั้นออกมา ว่า banana แปลว่า กล้วย และเด็กๆเห็นภาพกล้วยก็จะรู้ว่ารูปนี้คือ banana หรือ กล้วย หลังจากนั้น ครุก็จะชูแต่รุปให้นักเรียนตอบโดยที่ไม่ต้องบอกว่า เรียกว่า banana นักเรียนเพียงเห็นรุปก็สามารถตอบได้แล้ว ซึ่งการสอนที่ครุสอนแบบนี้เรียกว่า การวางเงื่อนไข นั่นเอง

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. การวางเงื่อนไขเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์
3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

ขอขอบคุณ : http://physics.ipstdevsite.com/?p=556
http://405404027.blogspot.com/2012/10/ivan-petrovich-pavlov.html

หมายเลขบันทึก: 549891เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท