การสอนแบบบูรณาการ


ความหมายการสอนแบบบูรณาการ

สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Integrated Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามรถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

หลักสูตรบูรณาการ(Integrated Curriculum) หมายถึง การรวมเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ ในหลักสูตรที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายกันและทักษะในการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกัน โดยการตั้งเป็นหัวข้อเรื่องขึ้นใหม่ และมีหัวข้อย่อยตามเนื้อหาสาระ อีกทั้งสอดคล้องกับบริบทการเรียนรู้ของสังคมอย่างสมดุล มีความหมายแก่ผู้เรียน และให้โอกาสผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองให้มากที่สุด และการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีสอนหลายวิธี จัดกิจกรรมต่างๆในการสอนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงกัน ตลอดจนมีการฝึกทักษะที่หลากหลาย (สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. 2546 : 16)

นักวิชาการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Lardizabal and Others. (1970: 141)กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ยังผลให้เกิดการพัฒนาในด้านบุคลิกภาพในทุก ๆ ด้าน ผู้เรียนสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อทุกสถานการณ์ การแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้พื้นฐาน การสอนแบบบูรณาการจะให้ความสำคัญกับครูและนักเรียนเท่าเทียมกัน ทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันแบบประชาธิปไตย

กาญจนา คุณารักษ์.( 2522:21)กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนรู้ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางจิตพิสัย และพุทธิพิสัย หรือกระบวนการหรือการปฏิบัติในอันที่จะรวบรวมความคิด มโนภาพ ความรู้ เจตคติ ทักษะ และประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล

สุมานิน รุ่งเรืองธรรม.(2522:32)กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การสอนเพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เพื่อการเรียนรู้ที่มีความหมาย ให้เข้าใจลักษณะความเป็นไปอันสำคัญของสังคม เพื่อดัดแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เข้ากับสภาพชีวิตได้ดียิ่งขึ้นย่างต่อไปนี้

ผกา สัตยธรรม.( 2523:45-54)กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง ลักษณะการสอนที่นำเอาวิชาต่างๆ เข้ามาผสมผสานกัน โดยใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักและนำเอาวิชาต่าง ๆ มาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามความเหมาะสม

นที ศิริมัย.(2529:63-65)กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบบูรณาการ หมายถึง เทคนิคการสอนโดยเน้นความสนใจความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน ด้วยการผสมผสานเนื้อหาวิชาในแง่มุมต่าง ๆ อย่างสัมพันธ์กัน เป็นการสร้างความคิดรวบยอดให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน และยังสามารถนำความคิดรวบยอดไปสร้างเป็นหลักการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วย

โดยสรุปการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งทางด้านสติปัญญา(Cognitive) ทักษะ (Skill) และจิตใจ (Affective) สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

การสอนแบบบูรณาการ มีกรอบแนวความคิดดังนี้

1. ศาสตร์ทุกศาสตร์ไม่อาจแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้ เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของคนที่ต้องดำรงอยู่อย่างประสานกลม

กลืนเป็นองค์รวม การจัดให้เด็กได้ฝึกทักษะและเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จะทำให้การเรียนรู้มีความหมาย

สอดคล้องกับชีวิตจริง

2. การจัดการเรียนรู้อย่างบูรณาการ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา ลดเวลาการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นการแบ่งเบาภาระในการสอนของครู

3. การเรียนแบบบูรณการ ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความคิด ประสบการณ์ความสามารถและทักษะต่างๆ อย่าง

หลากหลาย ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อมๆ กัน

ลักษณะของการบูรณาการมีลักษณะโดยสรุป ดังนี้
1.การบูรณาการเชิงเนื้อหาสาระเป็นการผสมผสานเชื่อมโยงเนื้อห���สาระ ในลักษณะการหลอมรวมกันโดยการตั้งเป็นหน่วย ( Unit )หรือหัวเรื่อง ( Theme )
2.การบูรณาการเชิงวิธีการ เป็นการผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เข้าในการสอน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี การสนทนา การอภิปราย การใช้คำถาม การบรรยาย การค้นคว้าและการทำงานกลุ่ม การไปศึกษานอกห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูลเป็นต้น
3.การบูรณาการความรู้กับกระบวนการเรียนรู้โดยออกแบบการเรียนรู้ให้มีทั้งการให้ความรู้และกระบวนการไปพร้อม ๆ กันเช่นกระบวนการแสวงหาความรู้กระบวนการแก้ปัญหาและ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดเป็นต้น
4.การบูรณาการความรู้ ความคิด กับคุณธรรม โดยเน้นทั้งพุทธิพิสัยและจิตพิสัยเป็นการเรียนที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่นักเรียนจะได้เป็น ผู้มีความรู้ คู่คุณธรรม
5. การบูรณาการความรู้กับการปฏิบัติเน้นการปฏิบัติจริง ควบคู่ไปพร้อมๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.การบูรณาการความรู้ในโรงเรียนกับชีวิตจริงของนักเรียนพยายามให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าและความหมายในสิ่งที่เรียน (สิริพัชร์เจษฎาวิโรจน์. 2546:25)

แนวคิดสำคัญของการจัดหลักสูตรบูรณาการและการสอนแบบ บูรณาการ

แนวคิดรูปแบบการบูรณาการในหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

คำว่าบูรณาการ (Integration) หมายถึง การทำให้สมบูรณ์สมดุลในตัวเองจนนำไปใช้ประโยชน์ได้

Jacob (อ้างถึงใน FraZee and Rudnitski, 1998 : 137-138) ได้เสนอรูปแบบของการบูรณาการ 5 ลักษณะซึ่งเรียกว่า Five option for integration ไว้ดังนี้

1. Discipline Basedเน้นเนื้อหาของแต่ละรายวิชา สอนแยกกัน

2. Parallelเป็นการสอน 2 วิชาในเนื้อหาร่วมกัน (Concurrent Event)

3. Multidisciplinaryเป็นการสอนหลายวิชาแยกกัน แต่สอนในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน

4. Interdisciplinaryเป็นการสอนหลายวิชาร่วมกันในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน

5.Integratedเป็นการรวมระหว่างการผสมผสานเนื้อหาหลายวิชากับกิจกรรมการเรียนการสอน

จากรูปแบบแนวคิดของจาคอบนั้น ในข้อ 2-4 เป็นการบูรณาการที่แสดงถึงการจัดเนื้อหาวิชาต่างๆในหลักสูตร แต่ถ้าเป็นการบูรณาการในแง่ของการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติ จะเป็นการบูรณาการแบบ Integrated Learning ในข้อ 5

แนวคิดการสร้างหลักสูตรบูรณาการ

Ornsteinand Hunkins. (1988:321-325)ให้แนวคิดการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ(Integrated Curriculum) คือการจัดหลักสูตรเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกประเภทเข้าด้วยกันในแผนการจัดหลักสูตรโดยเน้นการเชื่อมโยงประเด็นและหมวดหมู่จากเนื้อหาต่างๆ ทั้งหมด เข้าด้วยกันในแนวนอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นภาพรวมของความรู้และได้เรียนรู้ความหมายที่ลึกซึ้งของสาระวิชาที่เรียน ซึ่งจะต้องมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบในแนวนอน ในลักษณะเป็นหน่วยเดียวกันไม่แยกเป็นส่วนๆและแต่ละราชวิชาต้องเชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆ ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน

ดังนั้นสรุปว่ากิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการจะเน้นที่แนวคิด ของประเด็นในปรากฏการณ์จริง ซึ่งต้องนำความรู้จากเนื้อหาวิชาต่างๆมาประสานเชื่อมโยงกันและกันในลักษณะใหม่

แนวคิดสำคัญการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

Lardizabal and others. (1970:142-143)ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ต้องยึดหลักสำคัญที่ว่าแกนกลางของประสบการณ์อยู่ที่ความต้องการของผู้เรียนและประสบการณ์ในการเรียนรู้ จัดเป็นหน่วยการเรียน

หน่วยการเรียนอาจแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ได้ 3 ประเภท

1. หน่วยเนื้อ หา (Subject Matter Unit) เป็นการเน้นหน่วยเนื้อ หาหรือหัวข้อเรื่องต่างๆหลักการหรือสิ่งแวดล้อม

2. หน่วยความสนใจ (Center of Interest Unit) จัดเป็นหน่วยขึ้นโดยพื้นฐานความสนใจและความต้องการ หรือจุดประสงค์เด่นๆของผู้เรียน

3. หน่วยเสริมสร้างประสบการณ์ (Integrative Experience Unit) เป็นการรวบรวมประสบการณ์ หรือจุดเน้นอยู่ที่ผลการเรียนรู้และสามารถนำไปสู่การปรับพฤติกรรม การปรับตัวของผู้เรียน

หน่วยดังกล่าว หมายถึง กลุ่มกิจกรรมหรือ ประสบการณ์ที่จัดไว้เพื่อสนองจุดมุ่งหมายหรือสำหรับการแก้ปัญหาใด ปัญหาหนึ่ง การเรียนเริ่มจากจุดสนใจใหญ่ แล้วแยกไปสู่กิจกรรมในแง่มุมต่างๆ จนกระทั่ง ผู้เรียนสามารถตอบสนองสถานการณ์ที่กำหนดไว้ได้

Unesco- unep. (1994: 51) กำหนดลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนไว้ 2 แบบคือ

1. แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ได้แก่ การสร้างเรื่อง (Theme) ขึ้น มาแล้วนำความรู้จากวิชาต่างๆมาโยงสัมพันธ์กับ หัวเรื่องนั้นซึ่งบางครั้ง เราก็อาจเรียกวิธีการบูรณาการ แบบนี้ว่า สหวิทยาการแบบหัวข้อ (Themetic Interdisciplinary Studies) หรือการบูรณาการที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลัก (Application First Approach)

2. แบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ได้แก่การนำเรื่องที่ต้องการจะจัดให้เกิดการบูรณาการไปสอดแทรก (Infusion) ไว้ในวิชาต่างๆซึ่งบางครั้ง เราก็อาจเรียกวิธีการบูรณาการ แบบนี้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อ หารายวิชาเป็นหลัก (Discipline First Approach)

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546 : 184-191)ให้แนวคิดการแบ่งประเภทการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ คือ

แบบที่1.จำแนกตามจำนวนผู้สอนมี 3 ลักษณะ คือ

1.1 การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆกับหัวเรื่องที่สอดคล้องกันกับชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมาเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด

1.2 การบูรณาการแบบคู่ขนาน มีผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยอาจยึดหัวเข้อเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบูรณาการเชื่อมโยงแบบคู่ขนานกันไปภายใต้เรื่องเดียวกัน

1.3 การบูรณาการแบบสอนเป็นทีม ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันคิดหัวข้อเรื่องหรือโครงการมาโดยใช้เวลาเรียนต่อเ���ื่องกัน อาจรวมจำนวนชั่วโมงของสาระการเรียนรู้ต่างๆแบบมีเป้าหมายเดียวกัน

แบบที่2.จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

2.1 การบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงแนวคิด ทักษะและความคิดรวบยอดของสาระการเรียนรู้สาระใดสาระหนึ่งนั่นเอง

2.2 การบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกันเพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน

แบบที่3.จำแนกตามประเภทของการบูรณาการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

3.1 การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นลักษณะการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ การนำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงร้อยรัดให้เป็นเนื้อเดียวกันเพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน

3.2 การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ เป็นลักษณะการบูรณาการที่ผู้สอนนำเอาเรื่อ

คำสำคัญ (Tags): #7
หมายเลขบันทึก: 549855เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2013 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2013 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท