การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์GISมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน


การนำ GIS มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

GIS คืออะไร ?

GIS : Geographic Information System เรียกเป็นไทยว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจจึงขอแยกคำอธิบายเป็น 3 คำคือ

Geographic (G) : ภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์ คือ ลักษณะทางกายภาพของสิ่งตางๆ บนพื้นโลกเช่น ถนน แม่น้ำ ภูเขาอาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้างต่างๆ พื้นที่ป่าไม้พื้นที่เกษตรกรรม ระดับความสูงหรือความลึก เป็นต้น และสิ่งที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่คุ้นเคยกันดีก็คือการแสดงด้วยแผนที่(Map) ลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นกายภาพดังกล่าว สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้ 3 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะที่เป็นจุด (points) เช่น ที่ตั้งของบ้านหรือหมูบ้าน วัด โรงเรียน สถานีรถไฟ สนามบิน สถานีอนามัยและที่ทําการหน่วยงานตำบลต่างๆ เป็นต้น

2. ลักษณะเป็นเส้น (lines ) เช่น ถนน เส้นแม่น้ำ หรือ ลำน้ำ เส้นทางบิน ทางรถไฟ แนวกันไฟ และ เส้นแสดงความสูงหรือความลึกเป็นค้น

3. ลักษณะที่เป็นพื้นที่รูปปิด (polygons)

- สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ผ่านการวิเคราะห์หรือสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะต่างจากคําว่าข้อมูล (Data) ที่หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจําวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือเอกสารพรรณนา เช่น รายงานจำนวนผู้โดยสารขาที่เข้า-ออกสนามบินหรือรายงานจำนวนเที่ยวบินที่ทำการขึ้น-ลง สนามบิน

System (S) : ระบบ

เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลายและเพิ่มจํานวนมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป จึงจําเป็นที่จะต้องนําเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้ในการจัดเก็บและเรียกข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งในยุคของความต้องการสารสนเทศทางภูิษรรราสตร์ได้(geo-reference) โดยข้อมูลเหล่านี้จะแสดงอยู่ในรูปเชิงพื้นที่(non spatial data) ได้แก้ไขข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ(associated attributes) โดยใช้บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางต่างๆกัน

 โดยสรุปแล้ว GIS จึงเป็นเครื่องมืออย่่างหนึ่งซึ่งประกอบไปดวยคอมพิวเตอร์โปรแกรมหรือชุดคําสั่งที่สั่งใหคอมพิวเตอร์ทํางานตามที่ต้องการโดยโปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่(spatial data) คือขอมูลที่ทราบตําแหน่งบนพื้นโลกสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้(geo-reference) โดยข้อมูลเหล่านี้จะแสดงอยูใน 3 ลักษณะคือจุด (point) เส้น(line) และพื้นที่รูปหลายเหลี่ยม (polygon) และข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปเชิงพื้นที่(non spatial data) ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆที่เกี่ยวของกับพื้นที่นั้นๆ(associated attributes) โดยใช้บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์อันสามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลข้อมูลที่สามารถอ้างกับพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้GIS จะให้สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทํางานและการตัดสินใจของผู้บริหารในขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายการวางแผน ตลอดจนการนํานโยบายและแผนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์

เนื่องจากการทำงานของ GIS เราสามารถเลือกพิจารณาเฉพาะชั้นข้อมูลที่เราสนใจได้ จึงมีการนำ GIS ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยกตัวอย่างขอการประยุกต์ใช้ GIS ในการทำงานด้านต่างๆ ดังนี้

- ด้านคมนาคมขนส่งGIS สามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิผลทางด้านการคมนาคมขนส่ง เช่น การวางแผนเส้นทางการเดินรถประจำทาง การวางแผนการสร้างเส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ ทางด่วน ทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี

- ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดสาธารณูปโภคพื้นฐานไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามความต้องการของประชาชนนั้น GIS ได้เข้ามามีบทบาทอันสำคัญในการวางแผนในการสร้างถนน การเดินสายไฟฟ้า ท่อประปา รวมถึงการวางแผนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านี้

- ด้านการสาธารณสุข การประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการภาครัฐกับงานทางด้านสาธารณสุข มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาด หรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามมารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

- ด้านการบังคับใช้กฎหมายและการป้องกันอาชญากรรม มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การกำหนดจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมเพื่อตั้งป้อมตำรวจ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม โดยการบันทึกจุดที่เกิดอาชญากรรมไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายสมารถวางแผนให้ความสำคัญกับบางพื้นที่ที่ต้องทำการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมได้

- ด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นหนึ่งในกิจกรรมการประยุกต์ใช้ GIS ที่แพร่หลายที่สุด เพราะความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินผล ปละนำเสนอข้อมูลต่างๆในเชิงพื้นที่ที่จำเป็นต่อการวางผังเมือง และการจัดการเมืองสมารถกระทำได้อย่างสะดวก ทั้งการวิเคราะห์และประเมินศักยภาพในการใช้ประโยชน์ของแต่ละพื้นที่

- ด้านการจัดเก็บภาษี การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยในการจัดเก็บภาษี โดยอาศัยข้อมูลแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ เช่น 1:1,000 ซึ่งสมารถมองเห็นขอบเขตของอาคาร เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูลการชำระภาษีอากร ซึ่งภาครัฐสามารถทำการติดตาม ตรวจสอบผลการจัดเก็บภาษีได้โดยสะดวก เพราะ ข้อมูลของสถานประกอบการ บ้านเรือน ฯลฯ ที่ชำระค่าภาษีอากรต่างๆ แล้วจะสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างได้โดยเฉดสีบนแผนที่ ทำให้สามารถค้นหา หรือติดตามการชำระภาษีอากรได้สะดวก และทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- ด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้ GIS เพื่อทดลองสร้างแบบจำลองทางด้านสิ่งแวดล้อม มีใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติแสดงการถล่มของภูเขา ซึ่งการสร้างแบบจำลองใน GIS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจกับลักษณะของพื้นที่ได้โดยง่าย และเป็นการเพิ่มการรับรู้แบบเสมือนจริงในรูปแบบของแบบจำลองสมมิติ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง

- ด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในการจัดการในสภาวะฉุกเฉิน คือ การรับรู้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อทำการตัดสินใจให้เร็วที่สุดผิดพลาดน้อยที่สุด และมีประสิทธิผลมากที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อมาตรการในการป้องกันแก้ไข นอกจากนี้ยังใช้ GIS วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอยู่ในรัศมีของการได้รับผลกระทบจากสารพิษ เป็นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่ง และเพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การวางแผนการช่วยเหลือ ทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา

เมื่อเห็นตัวอย่างของประโยชน์ของ GIS แล้ว ทีนี้ ชาว บพ. ก็ลองนึกดูซิครับว่า จะประยุกต์ใช้ GIS เพื่อช่วยให้การทำงานของเราง่ายขึ้นและสามารถนำมาช่วยให้งานนำเสนอของเราน่าสนใจได้อย่างไร

ปล. สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะใช้งาน GIS ได้คือ ข้อมูล ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสนามบินทั้งหมดจะอยู่ใน AIP Thailand การที่จะใช้ GIS ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานด้านการบินสูงสุดคือการนำข้อมูลที่อยู่ใน AIP Thailand และตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้อง แล้วนำเข้าไปเป็นฐานข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป                                                                                                       

หมายเลขบันทึก: 549055เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Geography เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ และสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นผิวโลก เกี่ยวข้องกับภูมิประเภท ภูมิอากาศทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ Geography เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ การศึกษา Geography จะใช้เครื่องมือที่หลากหลาย รวมเรียกว่า เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ เพื่อประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การปฎิบัติงาน การบริหาร และการสนับสนุนการตัดสินใจ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเฉพาะลงไปที่เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ หรือเรียกว่า ภูมิสารสนเทศศาสตร์ Geo Informatics ซึ่งประกอบด้วย Remote Sensing, Geographic Information Systems, Global Positioning Systems สำหรับประเทศไทย หากย้อนเวลากลับไปประมาณ 20 ปี เทคโนโลยีภูมิศาสตร์มีบทบาทการใช้งานจำกัดเฉพาะหน่วยงาน หน่วยงานราชการ เช่น หน่วยงานความมั่นคงทางทหาร กรมที่ดิน กรมโยธาและผังเมือง ในส่วนภาคเอกชนขาดการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีเฉพาะสาขา การพัฒนานักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบ องค์ความรู้ดังกล่าวจำเป็นต้องศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปบางประเทศ และหรือประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีการพัฒนาองค์ความรู้ การใช้เทคโนโลยีภูมิศาสตร์ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อแก้ปัญหาต่างๆและเอาชนะภัยธรรมชาติที่เกิดในประเทศนั้นๆ อยู่บ่อยๆ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ประชากร ที่หลากหลาย มีความรุนแรงอย่างชัดเจน เป็นแรงผลักดัน กระตุ้นให้ Geography - Land form, Servey, Settlement, Map, Urban, Medical, Economic, NR & Enviroment, Geo Informatics มีบทบาทสำคัญเพื่อให้ประชากรในประเทศตนอยู่รอด กลุ่มประเทศดังกล่าวยังกำหนดในระบบการศึกษาให้เยาวชนมีความรู้ เน้นความเข้าใจ Goegraphy ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นศาสตร์พื้นฐานที่ทุกคนในประเทศควรรู้และมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง

แม้ว่าประเทศไทยกำลังตามหลังกลุ่มประเทศดังกล่าวอยู่มากมาย ไม่ว่าปัจจัยใดๆๆก็ตาม แต่ปัจจุบันระบบภูมิสารสนเทศมีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น ประเด็นพิพาทพื้นที่ซับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน การวางแผนการจัดการสาธารณภัยต่างๆ การป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ (อุทกภัย แผ่นดินไหว ฯลฯ) การติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร การเกษตร การอนุรักษ์สิ่ง แวดล้อม การวางผังเมือง การจัดการสาธารณูปโภค (การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม) การติดต่อสื่อสาร (โทรศัพท์ การระบุตำแหน่งโดย GPS การถ่ายทอดรายการสดผ่านดาวเทียม)

ระบบภูมิสารสนเทศกับการจัดการสนามบิน ขอกล่าวถึง GIS ในการจัดทำข้อมูลผ่านการให้บริการแผนที่แบบ 3D Model สามารถช่วยบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ และทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้งานต่อไป

1.การบริหารจัดการงานภายในสนามบิน (ผู้จัดการสนามบิน และผู้ปฎิบัติงานผู้เกี่ยวข้องด้านการบิน) เช่น *การจัดการ Land Use ภายในสนามบิน ให้มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรที่มีอยู่ และรักษาสิ่งแวดล้อม *การวางแผนในการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภค *การดำเนินงานTerminal *การปฎิบัติการทางอากาศ

2.การบริหารจัดการภายนอกสนามบิน (ผู้โดยสาร) เช่น *การระบุตำแหน่ง ประเภท ของสนามบิน ด้วยสัญลักษณ์ และสี เพื่อสะดวกในการคำนวณระยะเวลาการเดินทาง *การแบ่ง Zone การใช้พื้นที่ในสนามบิน

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการใช้ GIS ในการจัดการสนามบิน คือ การออกแบบระบบที่ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ง่ายและรวดเร็วแบบ Real Time ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารแบบ 2 ทาง ระหว่างผู้ปฎิบัติงานด้วยกัน, การสื่อสารระหว่างสนามบินและผู้โดยสาร ^@^ GEO

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท