ถอดความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเรื้อรังของ อสม.ผู้นำชุมชน และสมาชิกชุมชน กลุ่มที่ 2 รุ่นที่ 3


ฉันได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคเรื้อรัง ซึ่งในครั้งนี้ยังคงเน้นโรคเบาหวานเป็นอันดับที่ 1

โรคความดันโลหิตสูงเป็นคู่แฝดที่เกือบจะติดกัน การเตรียมตัวเพื่อทำหน้าที่กระบวนกรนอกตำรับบ้างในบางครั้ง

และจากการศึกษากลวิธีจากกูรูผู้รู้ซึ่งอิงหลักวิชาการมาใช้บ้าง หากในบางกรณ๊ที่ไม่เคยเจอ

ฉันก็ใช้กลวิธีของฉันแก้ปัญหาในการทำงานเพื่อให้งานนั้นสามารถบรรลุเป้าหมายได้

ทั้งนี้อาศัยประสบการณ์และหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่จากที่ได้ร่ำเรียนมาเมื่อครั้งเป็นนิสิตของมศว.ประสานมิตร

และฉันอดที่จะนึกภูมิใจในตัวเองไม่ได้ถึงคุณค่าของความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา เพราะวิถีราชการ การทำงานที่ผ่านมา

ฉันมีโอกาสน้อยเกินไปที่จะได้นำความรู้ที่ครูบาอาจารย์ท่านประสาทวิชามาให้

การนำความรู้ที่เรียนมาและสามารถปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกันได้นั้นจึงนับว่าใช้ความรู้เป็น

ในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองให้กับอสม.ที่มีอายุมาก 80อัพ หลายคน ถึงมากแล้ว(83ปี )

นั้นไม่สร้างความหนักใจให้ฉัน ฉันกลับรู้สึกยินดีทุกครั้งเพราะนั่นหมายถึง

ฉันได้เรียนรู้อนาคตอันใกล้ของฉันจากรุ่นพี่ๆก่อน นั่นเอง 

แรงบันดาลใจ อะไรคือแรงบันดาลใจให้ผู้สูงอายุทำงานเพื่อสังคม

คุณภาพการทำงาน มีมาตราการการวัดคุณภาพการทำงานของผู้สูงอายุที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมไหมอย่างไร

ความสุข และความพึงพอใจกับสิ่งที่ผู้สูงอายุกำลังทำ หรือได้ทำไปแล้ว 

ยาชูกำลัง(ใจ)คืออะไร

ยามเจ็บไข้ผู้สูงอายุแท้จริงต้องการอะไร

ฉันไม่รู้ว่านักวิชาการเขาคิดอะไรอย่างไรในเรื่องสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุ

ฉันไม่รู้ว่าผู้มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านเมืองนี้เขาคิดอย่างไร และได้วางแผนรองรับผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไร

เราต่างเหมือนใบไม้ร่วง และจะค่อยๆจากไป อาจมีความหมายและไม่มีความหมาย

แต่ถ้าหากผู้สูงอายุเป็นคนที่หมั่นศึกษาเล่าเรียนเรื่องราวภายในตัวของตัวเองแล้ว จะพบว่า ความสุขอยู่ในตัวเรานี่เอง

ฉันไม่อาจปฏิเสธกิเลสบางอย่างในตัวของผู้คนได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่อาจยอมรับสภาพ และความเปลี่ยนแปลงทางกาย

และไม่อาจก้าวหลุดจากทางโลกแม้เพียงวินาทีได้ เขาเหล่านั้นคือญาติมิตรเพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมโลกที่น่าจะได้รับการดูแลเอาใจใส่

ให้มากขึ้นโดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในทุกรูปแบบเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัว ของชุมชน ประเทศชาติที่มี

ผู้สูงอายุคุณภาพมากกว่าผู้สูงอายุที่กลายเป็นภาระของสังคม การน้อมนำคำสั่งสอนของพระศาสดาของผู้คน

จึงน่าจะเป็นเครื่องนำพาชีวิตที่เหลือให้มีความสุขทั้งทางกาย และจิตใจ

อีกทั้งเป็นเกราะป้องกันไม่ให้สติเตลิดจนเสียขวัญจนหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ได้

ผู้สูงอายุทำไมไม่ชอบฟัง แต่ชอบที่จะสนทนากัน ชอบเล่า ก็ประสบการณ์ในชีวิตของท่านเหล่านั้นมีมากมาย

และพร้อมที่จะพรั่งพรูออกมาให้ลูกหลานได้เรียนรู้ หากยุคสมัยเปลี่ยนไป ลูกหลานไม่เข้าใจ ปิดใจก่อนรับฟังหรือห่างเหินไป

จิตใจของผู้สูงอายุ ก็มักเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ท้อแท้ น้อยเนื้อต่ำใจจึงมักนำพาให้ผู้สูงอายุอ่อนแอทางจิตใจ

หรือการกระทบทางความรู้สึก นำไปสู่ความเงียบ เหงา ภาวะลำพังขาดเพื่อน 

ดังนั้นภาพที่เห็นทุกครั้งจึงเป็นภาพของความประทับใจที่ผู้สูงอายุได้มารวมกลุ่มกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน

ในครั้งนี้ก็เช่นการที่มีโอกาสได้เห็นความสุขของอสม.ผู้สูงวัย กว่า 80 %

และพร้อมกันก็ได้เห็นระเบียบความคิดของผู้เข้ารับการอบรม การลำดับความสำคัญของเรื่องที่ควรปฏิบัติดูจะอ่อนแรงลง

เพราะมุ่งที่จะพูดโดยหาคนฟังไม่ได้ ยิ่งหาคนฟังไม่ได้ เสียงที่พูดก็ยิ่งทำงานหนักเพื่อขยายหลอดเสียงพูดกลายเป็นแข่งกันพูด

ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ความแตกต่างกันคืออัตตามากน้อยที่แฝงมากับความเป็นผู้นำชุมชน

ซึ่งหากใช้มากเกินไปก็หาความสุขไม่เจอเลย แต่ถ้ามีโอกาสได้พิจารณา ระลึกรู้ลมหายใจตัวเอง หาคำตอบให้ตัวเอง

ได้ใคร่ครวญการกระทำของตัวเองบ่อยๆจะเกิดผลดี เพราะนอกจากความสงบจะเข้ามาแทนที่แล้ว

ลมหายใจยังนำพาความสับสน วุ่นวายในใจให้สงบลง ให้ได้พิจารณาสังขารมากขึ้นและนำไปสู่ความตระหนักในบทบาทหน้าที่

ที่ควรทำที่สุด คือ การหมั่นระลึกรู้ลมหายใจอย่างมีสติ สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา ปัญญามีปัญหาก็ไม่เกิด

และที่มาอบรมกันวันนี้ก็เพราะปัญหาเกิด เกิดเพราะเหตุใด ใครทำให้เกิด ทั้งเรื่องราวความวุ่นวายทางโลก

ก็ยังนำพาเราให้ออกห่างจากจิตจากใจของตนเอง

 

เรื่องอาหารการกินของผู้สูงอายุก็เช่นกัน กระเทาะไปก็ถึงความเป็นครอบครัวที่มีปัญหาความยุ่งยากในการประกอบอาหาร

วิถีชีวิตเปลี่ยนไป อาหารก็เปลี่ยนไปตามความสะดวก ก่อให้เกิดการสะสมในร่างกาย จะทำไงดี ก็ให้ได้พิจารณา

ใคร่ครวญหาทางที่ดีที่สุดให้กับตนเอง นี่มันเป็นปมที่ต้องแก้ด้วยตัวเอง แก้ไม่ได้ก็มีเพื่อน มีคนรุ่นใหม่ที่ดี

เข้าใจโรคเข้าใจปัญหาก็จะช่วยนำพาให้มีสุขภาวะ

ปัญหาโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุจึงอาจไม่ได้หมายถึงตัวโรคจริงๆที่เกิดขึ้นจริงๆ แต่อาจมีผลกระทบมาจากปัญหาครอบครัว

พฤติกรรมการบริโภคของครอบครัว และพฤติกรรมการออกกำลังกายของครอบครัว

รวมทั้งวุฒิภาวะทางจิตใจของครอบครัว และความสามัคคีภายในครอบครัว

ก็อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงต่อโรคเรื้อรังที่มีอยู่ได้ หรือเกิดขึ้นได้เช่นความดัน และเบาหวาน

การรักษาตามแนวทางแพทย์แผนใหม่ที่ปรับแนวทางการรักษาโดเยนำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตมาใช้

จึงเป็นเพียงทฤษฏีที่นำมาบอกเล่ามากกว่าการให้กินยา และผู้ป่วยเองก็ยังขาดความรับผิดชอบต่อตนเองทั้งเรื่องอาหารการกิน

การออกกำลังกาย และการทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ การจัดกิจกรรมเสริมการรักษาและใส่กระบวนการเรียนรู้คู่การรักษา

จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจ และสามารถฝึกปฏิบัติ ดูแลตัวเองทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกายได้ดีมากยิ่งขึ้น

แต่ยังขาดการเข้าถึงสภาวะจิตใจของตนเอง ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุสามารถทันความคิดและหยุดความคิดฟุ้งไม่เป็นประโยชน์

ต่อสภาพจิตใจได้ด้วยธรรมะ ธรรมชาติหนุนนำก็จะส่งผลต่อร่างกาย

กายและจิตต้องประสานเป็นหนึ่งเดียวจึงจะนำความสมดุลมาสู่ผู้ที่กำลังปฏิบัติ

เมื่อวิเคราะห์สภาพความคล่องของร่างกายปัจจุบัน

ผู้สูงอายุจะพบว่าตัวเองมีปัญหากระดูกเสื่อม ข้อเสื่อม ยาอาจช่วยระงับการเจ็บปวดได้ดีชั่วครั้งชั่วคราว

ผู้สูงอายุไม่ชอบออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เหนื่อย 

ผู้สูงอายุขับถ่ายไม่เป็นเวลา อันเนื่องมาจากนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไปพร้อมกับการรับประทานอาหาร

ผู้สูงอายุมีปัญหาฟันเสื่อม

ผู้สูงอายุมีปัญหาระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี

ผู้สูงอายุมีปัญหาความจำเสื่อม เลอะเลือน พูดช้าลง กิจกรรมต่างๆช้าลง

เรียกว่าปัญหาสุขภาพทางร่างกายค่อยๆคล้องแขนพากันมารุมเร้า

แต่ละทัพที่กรีฑาเข้ามาล้วนมาในยามที่สังขารหมดแรงเกินกว่าจะรับมือไหว

หากรู้เท่าไม่ถึงกาลปัญหาทางสุขภาพจิตจะตามมา

จะทำยังไง จะแก้ไขและมีมาตรการอย่างไรที่จะทำให้เกิด โรคช้าลง หรือชะลอความเสื่อมให้ช้าลง ให้ช้าลงได้

จะมีมาตรการเสริมด้วยกิจกรรมอย่างไรจึงจะเหมาะกับโรคเรื้อรังแต่ละโรค

จะทำอย่างไรผู้สูงอายุจึงจะสามารถดึงความรู้ที่ตนมีออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและใคร่ครวญอย่างมีสติ

และสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองก่อนสังขารจะร้องเพลงลากันที

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุอสม.กลุ่มที่ 2 รุ่นที่ 3 ได้ถอดออกมา และยังต้องการการสานต่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง

แม้ชีวิตนี้จะไม่ทันได้ร่วมโอกาสในวันข้างหน้า หากความคิดเหล่านี้จักได้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ

รูปกิจกรรมกรรม น้องพยา่บาลญาดา ชัยกุลประเสริฐได้ลงแผ่นให้แล้ว

แต่ลืมเอากลับมาทำที่บ้าน ที่สำนักงานวางแผนเพื่อนช่วยเพื่อนจิตอาสามิตรภาพบำบัดชั่วคราว 

ขอบคุณนายแพทย์โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรสาคร

ขอบคุณ นายแพทย์เอกพร พรรณเชษฐ์

ขอบคุณพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ นางสาวขนิษฐา ปานรักษา ขอบคุณพยาบาลวิชาชีพชำนาญการณหทัย จุลกะรัตน์

ขอบคุณพยาบาลชำนาญการคุณญาดา ชัยกุลประเสริซ และทีมงานทุกๆท่านของงานฝ่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลสมุทรสาคร

ที่ให้โอกาส จิตอาสา มิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน จากชมรมจิตอาสาโรงพยาบาลสมุทรสาคร ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 549025เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาชื่นชมการทำงานของพี่ครูต้อย

สู้ๆๆครับ

ผมก็เป็นผู้สูงอายุที่ปัจุบันอยู่ในจังหวัดสมุทรสาครที่มีแค่หนึ่งปัญหาคือความความดันสูง แต่คุมได้อย่างอื่นไม่มีปัญหาเพราะเห็นทางแก้ ขอบคุณที่ใส่ใจต่อผู้สุงอายุครับ

ขอบคุณค่ะน้องอ.ดร. ขจิต ฝอยทอง บางครั้งทำงานไปๆคู่กับการหันมาย้อนมองตัวเองก็ได้คิดได้ตั้งสติ  เมื่อหันไปมองบทบาทของอสม. จึงรู็ว่ามันสำคัญยิ่งคู่กับการพัฒนาภาวะผู้นำ 
 ป.ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาให้กำลังใจ พรุ่งนี้พี่มีภาระกิจกับกลุ่มข้าราชการ ไม่เหนื่อยเลยกับการทำงานกลุ่มข้าราชการที่เปิดใจและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง เพื่อไม่ให้เข้ามาอยู่ในภาวะเสี่ยง และที่ยากคือการประคองความคิดและตั้งสัจจะกับตัวเองว่าจะต้องทำให้ได้โดยไม่มีข้อแม้ใดๆนั้น เพื่อนๆหลายคนบอกว่าพอถึงทีเด็ดทีขาดก็แพ้ใจตัวเองทุกที ร้องยอมๆๆ อย่างเดียว ..ใจมันใหญ่ค่ะ อิอิ
ขอบคุณค่ะ สำหรับดอกไม้แห่งกำลังใจ  ชยพร แอคะรัจน์ 
ขอบคุณค่ะ  บุษยมาศ 

 ประธาน ขอบคุณค่ะ อยู่สมุทรสาคร ดีจังเลย หากมาแถวโรงพยาบาลก็ขอเชิญร่วมเสวนาสุขภาพด้วยกันนะคะ แต่สัปดาห์นี้ไมได้ช่วยงานที่หน้างานOPD เพราะมีงานอบรมสำหรับผู้เสี่ยงโรคเรื้อรัง กลุ่มเบาหวาน ความดันติดต่อกันอีก 3 รุ่นค่ะ มีกลุ่มข้าราชการ 1 กลุ่มประชาชน 1 และกลุ่มวัยรุ่นของวิทยาลัยเทคนิคอีก 1 ค่ะ คงได้เริ่มกิจกรรมยามเช้าที่อายุรกรรม 2 และเยี่ยมเตียงในเดือนตุลาคมนี้ค่ะ

 

ผมต้องไปโรงพยาบาลรับยาทุกสามเดือนครับ

เมื่อไหร่มาคงได้สนทนากันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ผู้เฒ่าอ่านแล้วก็น่าคิด...แต่ผู้เฒ่าไม่ค่อยไปหาหมอก็เลยไม่รู้ว่าตนเองมีโรคอะไร...รู้อยู่อย่างเดียวว่า...ตนเองเป็นโรคชราอยู่...และจะหนักขึ้นเรื่อยๆ...ขอบคุณครับ Krutoiting...

ผู้เฒ่า สวนไผ

ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาแลกเปลี่ยนกัน

หากดูแลสุขภาพดีก็ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ

ขชอเพียงได้ตรวจสุขภาพบ้างเพื่อว่าเราจะได้เตรียมตัวรับมือ

สว.จำนวนมากร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องพึ่งหมอแต่ไปรพ.เพราะคิดถึงเพื่อน

ก็มีมาก ไม่เยี่ยมเพื่อนก็เยอะนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท