ความผิดพลาดในการปักปันเขตแดน ไทย - พม่า ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑


ยังไม่นับรวมคนติดแผ่นดินที่เป็นญาติพี่น้องกัน เชื้อชาติเดียวกัน แต่ต้องถูกเส้นแบ่งเขตแดนที่ขีดขึ้นนี้ แบ่งแยกชีวิต แบ่งแยกสัญชาติ

อย่างไรก็ตาม ในการปักปันเขตแดนครั้งนี้ มีคนในท้องถิ่นรวมทั้งนักประวัติศาสตร์บางคนได้วิจารณ์กันมาก ถึงการที่คณะผู้สำรวจฝ่ายไทยยินยอมให้นับพื้นที่ฝั่งไทยถึงแค่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าพื้นที่ป่าเขาที่นับเป็นทางยาวเข้าไปทางทิศตะวันตกอีกเกือบ ๘๐ กิโลเมตร เป็นของไทย ซึ่งถือว่าไทยได้เสียดินแดนเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปหลายร้อยตารางกิโลเมตรจากการปักปันเขตแดนครั้งนี้

            นอกจากนี้ การทำแผนที่ในครั้งนั้นยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก เนื่องจากอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการทำแผนที่สมัยนั้นยังล้าสมัย ประกอบกับสภาพภูมิประเทศรกทึบ ไม่มีเส้นทางคมนาคม จึงมีปัญหาเรื่องเขตแดนขึ้นโดยเฉพาะบริเวณแม่น้ำกระบุรี  อีกทั้งในภายหลังแม่น้ำกระบุรีได้เปลี่ยนทางเดิน เกิดเป็นเกาะขึ้นหลายเกาะ ดังนั้นจึงมีการเจรจากับอังกฤษอีกหลายครั้ง   ครั้งสุดท้ายได้ตรวจสอบและทำบันทึกร่วมกับอังกฤษ โดยรัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันยอมรับเส้นเขตแดนใหม่บริเวณแม่น้ำกระบุรี เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๗๘

           สรุปว่าเส้นเขตแดนไทย พม่า บริเวณแม่น้ำกระบุรี หรือที่พม่าเรียกแม่น้ำปากจั่นนั้น ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงบ้านมารัง (Marang) ประเทศพม่า รวมระยะทางประมาณ ๗๙ กิโลเมตร ใช่ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ต่อจากนั้นไปจนถึงปากแม่น้ำกระบุรีออกสู่ทะเลตรงปลายแหลมวิคตอเรีย พ้อยท์ ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ใช้ฝั่งเป็นเส้นเขตแดน ฝั่งไทยคือ เขตแดนไทย ฝั่งพม่าคือ เขตแดนพม่า เกาะที่ชิดฝั่งไทยเป็นของไทย และเกาะที่ชิดฝั่งพม่าเป็นของพม่า

           ยังไม่นับรวมคนติดแผ่นดินที่เป็นญาติพี่น้องกัน เชื้อชาติเดียวกัน แต่ต้องถูกเส้นแบ่งเขตแดนที่ขีดขึ้นนี้ แบ่งแยกชีวิต แบ่งแยกสัญชาติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 54849เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

แปลว่า อะไร ? แปลว่า ข้อสัญญา แตกต่างจากแผนที่หรือ ?

แผนที่เป็นส่วนแนบท้ายอนุสัญญา ซึ่งในอนุสัญญายอมรับเขตแดนตามที่ระบุไว้ในแผนที่  แต่มีเอกสารอ้างอิงหลายฉบับที่ระบุว่า การทำแผนที่ครั้งนั้นคลาดเคลื่อนจากเขตแดนจริงที่รับรู้กันโดยพฤตินัย ของคนในท้องถิ่น

เคยได้ยินเรื่องประสาทเขาพระวิหารไหมคะ ?

โดยทั่วไป สนธิสัญญาจะมีข้อสัญญาระบุเอาไว้ว่า เขตแดนจะอญุ่ ณ จุดใด และระบุให้ดูแผนที่

ประเด็นความคลาดเคลื่อนนี้ ได้มาจากไหนคะ ? น่าจะอ้างแหล่งที่มาของข้อมูลนะคะ ?

สงสัยว่า การยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นมา เพื่อจะนำเสนออะไรต่อไปคะ ?

แหล่งที่มา ได้อ้างไว้ในเชิงอรรถในรายงาน แต่ไม่ได้เอามาลงที่นี่ค่ะ

และประเด็นข้อเท็จจริงนี้ที่อ้างมา เพียงแค่อยากจะกล่าวถึงเพื่อให้เนื้อหาครอบคลุมส่วนที่มีคนกล่าวอ้างค่ะ ไม่ได้จะมาให้แก้ไขประวัติศาสตร์ หรืออนุสัญญาแต่อย่างใด

แต่ประเด็นจริงๆ เรื่องนี้อยู่ที่เรื่องวันเดือนปี ที่จะถือเป็นข้อยุติว่าไทยเสียมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ให้พม่าเมื่อไร เพื่อจะมาทำความเห็นและข้อเสนอต่อไปค่ะ

ควรเอาอ้างอิงมาลงด้วย คนที่ปรารถนาจะอ้างอิงจะได้อ้างอิงได้ค่ะ
“ไทยพลัดถิ่น” เตรียมบุกสถานทูตอังกฤษ จี้รับผิดชอบทำไร้สัญชาติ
วันMondayที่ 16 October 2006 19:19น.

สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

http://www.politic.tjanews.org/index.php?option=com_content&task=view&id=152&Itemid=9 

             เครือข่าย “ไทยพลัดถิ่น” ร้องรัฐบาลอังกฤษรับผิดชอบต่อปัญหาไร้สัญชาติ เนื่องจากการทำสนธิสัญญากำหนดเขตแดนในอดีตกับรัฐบาลไทย วอนเป็นเวลา 100 ปีแล้ว ที่ถูกทั้งไทย-พม่า ปฏิเสธ เตรียมยกพล 500 คนเข้ากรุงเทพฯ ยื่นหนังสือต่อสถานทูตอังกฤษ 20 ตุลาคม นี้

           “วันที่ 20 ตุลาคมนี้ เครือข่ายไทยพลัดถิ่นจากจังหวัดระนอง 500 คน จะเดินทางมายื่นหนังสืออย่างเป็นทางการต่อสถานทูตอังกฤษ  เราคาดหวังว่าสถานทูตอังกฤษจะส่งต่อข้อมูลไปยังรัฐบาลของตัวเอง และทางรัฐบาลอังกฤษจะประสานงานมายังรัฐบาลไทย ส่วนที่ว่าทำไมเครือข่ายฯ ไม่ยื่นเรื่องถึงรัฐบาลไทยโดยตรงนั้น เป็นเพราะว่าที่ผ่านมาเคยเคลื่อนไหวหลายครั้ง และทำมาทุกกระบวนท่าแล้ว แต่ไปติดที่ระบบกฎหมาย เช่นว่า ถ้าจะทำต้องแปลงสัญชาติก่อน แต่คนไทยพลัดถิ่นไม่ยอมแปลงสัญชาติ เพราะพวกเขาไม่ใช่พม่า พวกเขายืนยันว่าเป็นคนไทย ทางราชการเลยไม่ทำอะไรต่อ”

            วรรดี จิตรนิรัตน์ คณะทำงานชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ในฐานะตัวแทนของเครือข่ายไทยพลัดถิ่น เปิดเผยว่า เครือข่ายไทยพลัดถิ่น จังหวัดระนอง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 2 หมื่นคน เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษรับผิดชอบต่อการทำสนธิสัญญากำหนดเขตแดนในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งส่งผลให้รัฐทวาย มะริด ตะนาวศรี ซึ่งเป็นดินแดนไทยในอดีต ตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษ และกลายส่วนหนึ่งของประเทศพม่าในเวลาต่อมา

           โดยหลังจากที่ประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนทวาย มะริด ตะนาวศรี และเรียกคนเหล่านี้ว่าเป็น “คนไทยที่ติดดินแดนมา” ครั้นเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้กลับเข้ามาในประเทศไทย ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนไทย ทั้งที่บรรพบุรุษของพวกเขาเป็นคนไทย และมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไทยเต็มร้อย

            ตัวแทนเครือข่ายไทยพลัดถิ่นกล่าวว่า การถูกปฏิเสธจากทางราชการไทยทำให้คนไทยพลัดถิ่นไม่มีบัตรประชาชน ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ เหมือนคนไทยทั่วไปได้ เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการเดินทางข้ามจังหวัด

            “ทุกวันนี้ คนไทยที่ทำงานรับจ้างทั่วไปในระนองได้รับค่าแรงวันละ 300 บาท แต่คนไทยพลัดถิ่นเหล่านี้ได้รับค่าแรงเพียง 100 บาท ทั้งที่พวกเขาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน หรืออย่างกรณีที่ผู้หญิงไทยพลัดถิ่นถูกข่มขื่น ก็ไปแจ้งความไม่ได้ เพราะไม่มีบัตรประชาชนไทย ตอนที่มีเวทีกู้ชาติ พวกเขาก็มาขึ้นเวที เพราะคาดหวังว่าปัญหาของพวกเขาจะถูกนำเสนอ แต่ทันทีที่ลงจากเวที ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ต้องวิ่งประกันตัวกันวุ่นวาย”

            วรรดีกล่าวต่อว่า “กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในเขตจังหวัดระนอง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอยู่เสมอ เช่นตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิ คนเหล่านี้ก็เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้”

            ตัวแทนเครือข่ายไทยพลัดถิ่นกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของเครือข่ายไทยพลัดถิ่นคือ ให้รัฐบาลอังกฤษแสดงความรับผิดชอบ โดยประสานไปยังรัฐบาลไทย หรือใช้วิธีการใดๆ ก็ได้ที่ผลักดันให้รัฐบาลไทยออก “บัตรประชาชนไทย” ให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น นี่คือสิ่งเดียวที่พวกเขาต้องการ เพราะหากมีบัตรประชาชน ก็จะมีสิทธิทุกอย่างเช่นที่คนไทยทั่วไปพึงจะมี

            วรรดีเปิดเผยต่อไปว่า เครือข่ายไทยพลัดถิ่นได้ทำการสืบประวัติและรวบรวมข้อมูลหลักฐานของแต่ละครอบครัวเตรียมไว้ พร้อมทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาเป็นคนไทย และในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ จะมีการนำข้อมูลและหลักฐานเหล่านี้มาเสนอด้วย

           “การเดินทางมากรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ อยากจะให้คนทั่วไปได้ติดตามและศึกษาเรื่องราวของพวกเขา โดยส่วนตัวดิฉันเชื่อว่า แค่เราได้รู้ว่าคนเหล่านั้นเป็นใครมาจากไหน สำนึกของคนจะเกิดขึ้นเอง แค่กระแสสังคมได้รู้ ผลจะเกิดขึ้นตามมาเอง เพราะมันเป็นเรื่องมนุษยธรรมพื้นฐานมากๆ” ตัวแทนเครือข่ายไทยพลัดถิ่นกล่าวในท้ายที่สุด
 
ข้อมูลเพิ่มเติม

            คนไทยพลัดถิ่น คือกลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในทวาย มะริด ตะนาวศรี ซึ่งเป็นดินแดนไทยในอดีต ก่อนจะกลายเป็นเขตปกครองภายใต้อาณานิคมของอังกฤษตามสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนที่ทำไว้ 3 ฉบับ คือ ในปี 2441, 2474 และ 2475 ซึ่งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5

           ภายหลังประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดินแดนทวาย มะริด ตะนาวศรี กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติพม่า คนไทยเหล่านี้ก็ถูกรัฐบาลพม่าผลักดันให้อพยพเดินทางเข้าประเทศไทย

            ปัจจุบัน กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่อพยพจากฝั่งพม่าเข้ามาอยู่ในเขตจังหวัดระนอง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 2 หมื่นคน ไม่มีบัตรประชาชนไทย ส่งผลให้ไม่ได้รับสิทธิใดๆ ตามที่ราษฎรไทยพึงมี

           จากผลงานวิจัยของนักวิจัยหลายคนระบุตรงกันว่า กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นเหล่านี้มีวัฒนธรรมต่างๆ ที่สืบทอดกันมานับร้อยปีซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไทย ทั้งภาษา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการนับถือศาสนา

มติชนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10450


คนไทยพลัดถิ่นร้องขอสิทธิ


เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 19 ตุลาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรวจสอบรถยนต์โดยสาร 2 คัน หมายเลขทะเบียน 10-0342 สุพรรณบุรี และ 10-0357 สุพรรณบุรี พบว่าเป็นชาวไทยพลัดถิ่น ที่มีเพียงบัตรชาวไทยภูเขา หรือชาวไทยพลัดถิ่น จาก อ.บางสะพาน และ อ.ทับสะแก เป็นชาย 47 คน หญิง 3 คน เพื่อเตรียมเข้ากรุงเทพฯ โดยมีนายสำเนา ศรีทอง อายุ 46 ปี บ้านเลขที่ 277 หมู่ที่ 5 ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน และนายประทีป ปติแพทย์ อายุ 50 ปี บ้านอยู่หมู่ที่ 11 ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก นำมา

จากการสอบสวน นายประทีป ปติแพทย์ ตัวแทนชาวไทยพลัดถิ่น กล่าวว่า คนไทยพลัดถิ่นในเขต จ.ระนอง ชุมพร และประจวบคีรีขันธ์ มีประมาณ 1,800 คน ต้องการให้รัฐบาลคืนสัญชาติไทย เนื่องจากที่ผ่านมาบิดา มารดา เป็นคนไทยแต่ตกอยู่ในเขตแดนของการแบ่งเขตการปกครองระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในยุคล่าอาณานิคม ครอบครัวจึงเข้ามาอาศัยทำกินในผืนแผ่นดินไทย แต่ก็ไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับคนไทย มีเพียงบัตรชาวไทยพลัดถิ่นเท่านั้น ดังนั้น จึงรวมตัวกันที่จะเดินทางเข้าไปร่วมกับ 28 องค์กรชุมชนทั่วประเทศ จัดงานสมัชชาสังคมไทย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจะขอให้รัฐบาลออกบัตรประชาชนให้ เจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจกับชาวไทยพลัดถิ่น จนกระทั่งยอมเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม



(กรอบบ่าย)

หน้า 13

ข่าวสด วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5804


โวยสกัดจับไทยพลัดถิ่นชุมนุมกทม.




เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมูลนิธิกระจกเงา ออกแถลงการณ์เรื่อง แล้ว"คนไทย"อย่างฉันจะอยู่ที่ไหน เมื่อไร้สัญชาติและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้ง ฆ่า ข่มขืน ไร้ที่ยืนบนโลกใบนี้ โดยมีเนื้อหาระบุว่า รัฐบาลอังกฤษต้องรับผิดชอบ เมื่อสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ได้แบ่งแยกคนไทยไร้สัญชาติมานานกว่าร้อยปี ซึ่งไทยได้เสียดินแดนมะริด ทวาย ตะนาวศรี ฯลฯ ให้ประเทศพม่า แต่พม่าพยายามผลักดันไม่เอาคนไทย เพราะอยากได้เพียงผืนแผ่นดิน กระทำย่ำยีกดขี่ห่มเหง ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฆ่าและข่มขืนเพื่อกดดันให้คนไทยพลัดถิ่นกว่า 30,000 คนทนอยู่ไม่ได้ และพยายามกลับแผ่นดินแม่ แต่ได้รับการปฏิเสธและระบุค่าความเป็นคนไทยแค่เพียง คนต่างด้าว ดังนั้น ทางมูลนิธิกระจกเงา จะเดินทางไปยื่นจดหมายเปิดผนึกที่สถานทูตอังกฤษ ในวันที่ 20 ต.ค.เวลา 10.00 น. จากนั้นเวลา 13.30 น. จะไปยื่นหนังสือเพื่อผลักดันการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และกระทรวงมหาดไทย และวันที่ 21 ต.ค.จะเปิดเวทีอภิปรายเรื่องคนไทยพลัดถิ่น ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปรากฏว่า ชาวไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นคนไทยแต่ไม่มีบัตรประชาชนจากจ.ระนอง ชุมพร ประจวบฯ กว่า 600 คน ซึ่งจะเดินทางมาร่วมงานดังกล่าว ปรากฏว่าขบวนของชาวบ้านที่จะเดินทางเข้ากทม.โดยรถบัสจำนวน 5 คัน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบสกัดจับและตรวจค้น จากนั้นนำทั้งหมดไปควบคุมตัวที่สภ.อ.บางสะพานและย้ายไปสภ.อ.ทับสะแก ก่อนแยกคนไทยที่มีบัตรประชาชนและไม่มีบัตร ก่อนส่งตัวกลับ

หน้า 14

คนไทยพลัดถิ่นเรียกร้องขอคืนสัญชาติไทยหลังต้องอยู่ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองในพม่า   

คนไทยพลัดถิ่นเรียกร้อง ขอคืนสัญชาติไทยหลังต้องอยู่ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองในพม่า เพราะการทำสนธิสัญญากำหนดเส้นแดนไทย-พม่าเมื่อปี 2411

คนไทยพลัดถิ่นในนามเครือข่ายแก้ปัญหาคืนสัญชาติไทย ซึ่งมีทั้งพระภิกษุสงฆ์ เด็ก และผู้ใหญ่จำนวนกว่า 30 คน รวมตัวชุมนุมที่หน้าสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ  โดยได้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่สถานทูต  เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษรับผิดชอบต่อผลกระทบ หลังการทำสนธิสัญญากำหนดเส้นแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าเมื่อปี พ.ศ.2411หรือ138 ปีที่ผ่านมา จนทำให้พื้นที่มะริด ทวาย และตะนาวศรี ซึ่งในอดีตเป็นเขตปกครองของไทย กลายเป็นเขตปกครองของพม่า แต่รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับคนในพื้นที่ให้เป็นประชาชน

จึงต้องการให้รัฐบาลอังกฤษร่วมมือกับรัฐบาลไทยพิสูจน์สัญชาติคนไทยพลัดถิ่น ที่ขณะนี้อยู่ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมือง เพื่อคืนสัญชาติไทยและออกบัตรประชาชนรองรับความเป็นคนไทยให้ ซึ่งจะทำให้ได้สิทธิขั้นพื้นฐาน อาทิ การรักษาพยาบาล การศึกษา การเดินทาง และการครอบครองสังหาริมทรัยพ์และอสังหาริมทรัพย์ 

[ Modern Nine TV - 2006-10-20 : 18:10:45 ]
 

เดี๊ยนคิดว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงสันดานสุกเอาเผากินในสันดานของข้าราชการสมัยนู้น ที่ตกทอดสืบความเสียหายมาจนถึงปัจจุบัน

สันดานแบบนั่งเทียนไงคะ ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานทางการเดินเรือแลการค้าของชาติยุโรปมากมายในสมัยเดียวกัน บันทึกไว้ชัดแจ้งว่าแดนดินถิ่นนั้นเป็นที่ตั้งอยู่ของชนชาวสยาม

เดี๊ยนขอสาบแช่งให้อ้ายกร๊วกนั่นมันตกนรกแล้วเกิดเป็นหมาแล้วตายแล้วตกนรกแล้วเกิดเป็นหมาแล้วตายแล้วตกนรกแล้วเกิดเป็นหมาแล้วตายแล้วตกนรกแล้วเกิดเป็นหมาแล้วตายแล้วตกนรกแล้วเกิดเป็นหมาชั่วกัปชั่วกัลป์

ให้สาสมกับสันดานนั่งเทียนของมัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท