วันแห่งชีวิต:พลังของการก้าวเดิน


วันนี้ไปแต่เช้าเชียวครู

ไปแต่เช้าเป็นคำทักทายของเพื่อนบ้าน

วันนี้ครูจะไปไหนคะ

เป็นคำถามที่เพื่อนบ้านใช้พูดทักทายพร้อมส่งยิ้มให้

ฉันตอบสั้นๆว่าค่ะ ไปโรงพยาบาล

หากเป็นเมื่อหลายสิบปีเพื่อนบ้านจะถามต่อว่า

ครูเป็นอะไรคะ 

แต่หลายปีมานี่เพื่อนบ้านจะร้องอ๋อ..ค่ะครู อนุโมทนาด้วยนะครู 

ก้าวแรกของวันนี้จึงเป็นการก้าวขึ้นรถเมล์กระป๋องสีส้มเจ้าถิ่น หลังจากเดินห่างเพื่อนบ้านมาขึ้นรถเมล์ 

เป็นรถเมล์เล็ก ไม่มีทั้งกระปี๋ และกระเป๋าเหมือนรถเมล์เก่าสมัยก่อน

การขับที่ชวนให้ผู้โดยสารระมัดระวังตัวเองทุกครั้งไม่ว่าจะอยู่บนรถ หรือเดินเฉียดใกล้และแม้เดินข้ามถนนผ่านมันไป

ซึ่งก็ช่วยให้เพิ่มความระมัดระวังตนเองมากยิ่งขึ้นในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันกับเขานั่นแหละ

ถึงโรงพยาบาล ยังมีเวลาเติมอาหารสมอง แวะไปร้านกาแฟคนแน่นมาก เดินเลยไปยังห้องบัตรทอง

จ๊ะเอ๊กับหนังสือมากหลายแบบ ทั้งหนังสือพิมพ์ ตะแคงตัวอ่านฟาดหัวข่าวแล้วไม่อยากอ่านเลย

ตามองหาไปที่ชั้นวางมีทั้งหนังสือ วารสาร และหนังสือเล่มเล็ก

หยิบวารสารท่าจีนขึ้นมาอ่านชอบใจจังเลย ที่เขาเขียนบันทึกท่าจีนให้ได้รับรู้กว้างมากขึ้นในแง่เกร็ดประวัติศาสตร์

แต่เสียดายที่หาอ้างอิงที่มาในบันทึกไม่เจอ ทำให้ได้คิดถึงบันทึกของตัวเองที่บ่อยครั้งเป็นเรื่องราวที่ควรมีการอ้างอิง

แต่ก็หลงลืมและเห็นว่าไม่สำคัญหากความจริงแล้วจำเป็นมากกว่าสำคัญ จำเป็นต้องบอกที่มา เพื่อให้ได้มีการสืบค้น

และต่อยอดองค์ความรู้ หรือเรื่องราวนั้นๆต่อไปแม้ว่าจะเป็นการบันทึกโดยชาวต่างชาติก็ตาม

เล่มที่ 2 อ่านธรรมะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันคือ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังปริณายก

(เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคมพ.ศ. 2456—ปัจจุบัน)

เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 

เรื่องพระไตรปิฏก

ทรงกล่าวถึงการแยกหมวดหมู่ของพระไตรปิกฏไว้เป็น 3 หมวดหมู่

โดย84,000 พระธรรมขันธ์ที่แสดงไว้ในพระไตรปิฏกคือ

1. วินัยปิฏก

2. พระสุตตันตปิฏก

3.พระอภิธานปิฏก

ปิฏก หมายถึงตระกร้า

ไตร แปลว่า 3

ติปิฏะักะไตรปิฎก = 3 ตะกร้า

ธรรมะหมวดทีี่มีอุปาระมากในทุกะหมวด 2ั ก็มี 2 ข้อ คือ สติ ความระลึกได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวเป็นธรรมขันธ์หนึ่ง

คือ กองแห่งธรรมกองหนึ่ง

ในพระธรรมขันธ์ 84,000 พระธรรมขันธ์นี้ หากแบ่งครึ่งเท่ากันก็จะได้เป็นพระอภิธรรมปิฏกถึง42,000

ส่วนที่เหลือเื่ื่ืมื่อแบ่งเป็น 2 ส่วนจะเป็นของพระวินัยปิฏกครึ่งหนึ่งคือ21,000

และเป็นสุตตตันตปิฏกอีก 12,000 เป็นอันรวมกันทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์

พระอาจารย์ที่อธิืบลายพระสูตรท่านบอกว่าพระพุทธองค์ทรงสอนกรรมฐานให้พระภิกษุ 84,000 กรรมฐาน

หรือ 84,000ข้อ ก็เป็นอันว่าพระธรรมขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นกรรมฐานทั้งสิ้น

และเมื่อฉันได้ศึกษาเรื่องพระกรรมฐาน จึงทำให้ตาสว่าง แม้เพียงกระพริบเดียวก็ยังนับว่าได้เริ่มต้นจริงจัง

เพียงเศษธุลีเท่านั้นหรือไม่ยังไม่อาจมั่นใจได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับคือความเข้าใจที่จะก้าวเพียรให้มากขึ้น

ในวิถีแห่งฆราวาสผู้ครองเรือนนี้ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ครองสติมีธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน

เรียกว่าฆราวาส 4 อันประกอบไปด้วยสัจจะ ทมะ ขันติ ราคะ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมโดย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)ได้สาธยายธรรมหลัการครองเรือนหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ - virtues for a good household life; virtues for lay people)

เมื่อได้ใคร่ครวญหลักธรรมจึงพบว่าหากผู้ถือครองตนบนโลกมนุษย์นี้ได้น้อมนำมาปฏิบัติจะนำความสุข

ความสงบมาสู่ครอบครัว สังคมโลกได้ไม่น้อย

 

ก้าวที่ 2 เป็นการก้าวเพื่อตัดความโง่และเพิ่มพลังกายใจให้ตัวเอง โดยอาศัยการทำกิจกรรมชักชวน

ให้เพื่อนผู้ป่วยได้หันมาเอาใจใส่ร่างกายและจิตวิญญาณของตนเอง ด้วยการบริหารมือกระตุ้นให้ัรู้้สึกตัว

 ให้ได้รับรู้สภาพร่างกายและจิตใจว่าแท้ที่จริงนั้นมันสามารถเบิกบานได้ด้วยตัวของมันเอง

ขอเพียงเราระลึกรู้ลมหายใจตัวเองได้ด้วยตัวเอง มีสติกับการเคลื่อนไหวทุกกริยาของตัวเอง

 

ก้าวที่ 3 คือการได้สนทนาธรรมชาติของชีวิต การเกิด การดับ การเติบโตเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถเข้าใจ

ได้ด้วยหลักวิชาและเข้าถึงได้ด้วยหลักธรรมะ นับเป็นการก้าวเดินอย่างมีสติไปกับการสนทนาธรรมกับ

ผู้ทรงคุณวุฒิและวัยวุฒิสูงท่านหนึ่้งในวงการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

ที่ท่านได้เข้าพักรักษากายที่ตึก 12 ชั้น ที่ชั้น 10 เป็นเวลาเกือบ 1 ชั่วโมง 

ท่านเป็นที่เคารพรักและรู้จักกันดีของประชาชนในอำเภอเมืองมหาชัย

เมื่อได้เยี่ยมท่านตามปกติของงานจิตอาสาเช่นเพื่อนผู้ป่วยทั่วๆไปนั้น

ทำให้ฉันได้ข้อคิดและเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นกับธรรมะของพระพุทธเจ้าเรื่องโลกธรรม 8

เป็นธรรมะที่เกิดขึ้นจริงแล้วและกำลังจะดำเนินไปตามธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้เอง

สิ่งหนึ่งที่ได้ใคร่ครวญและพิจารณาแล้วมันเกิดขึ้นเพราะอะไร ผู้ศึกษาธรรมะย่อมเข้าใจดี

ผู้ประสบย่อมเข้าถึงรับรู้รสพระธรรมแท้จริง

หากการระลึกรู้สึกตัว และเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์แล้วจึงพาให้เกิดอุเบกขา

ปล่อยวางและหันมาเจริญสติ แผ่เมตตาให้สัตว์โลกผู้ยังครองทุกข์เพื่อลาภ ยศ สรรเสริญไม่มีที่สิ้นสุด

และขอให้ท่านหายไวๆ ต้อนรับการเกษียณอายุราชการของท่านเอง

ด้วยสุขภาพที่แข็งแรงตลอดกาลนาน

 

และพรุ่งนี้ฉันจะยังคงตื่นตี 3 เพื่อนำพากายนี้ให้ถึงพร้อมของการทำงานจิตอาสาร่วมกับงานในโครงการโรคเรื้อรังของฝ่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุมุทรสาคร สถานที่จัดอบรมกลุ่มข้าราชการ กว่า 80 ชีวิต โรงแรมเซ็นทรัลเพรส สมุทรสาคร น้องพยาบาลญาดา ได้ให้กำหนดการมาแล้ว คาบแรกใช้เวลา 1.30 ชั่วโมงเป็นหน้าที่ของฉัน และหลังพักรับประทานอาหารอีก ไม่เกิน 30 นาทีจึงเป็นหน้าที่ที่ฉันต้องนำพาเพื่อนผู้เสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะเบาหวานเข้าสู่กระบวนการตระหนักรู้ในตนเองด้วยลมหายใจที่สดชื่นอย่างมีสติ และใคร่ครวญด้วยปัญญาของใครของit 

และฉันหวังว่าฉันจะได้บรรเลงเพลงชามอีกสักครั้ง กราบขอบพระคุณหลวงพ่อท่านเจ้าอาวาสวัดเกตุมวดีศรีวราราม ที่เมตตาให้ได้ยืมอุปกรณ์อุปกรณ์ดัดแปลงการใช้งานจากถ้วยรองน้ำเล็กๆทองเหลือรวมจำนวน 4 ลูก เพื่อจักได้นำมาบรรเลงเพลงชามในวันพรุ่งนี้

 

 

 

วิกิพีเดีย,สารานุกรมออนไลน์.เข้าถึงได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E,วันที่ 16 กันยายน 2556.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม เข้าถึงได้ี้ี่่ที่ http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=139,วัี่นที่ 16 กันยายน 2556.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 548466เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2013 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

...ขอบคุณบันทึกวันแห่งชีวิต...พลังของการก้าวเดิน...มีคุณค่ามากนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 บุษยมาศ สบายดีนะคะ ช่วงนี้งานพาไปค่ะเลยไม่ได้เข้าไปเก็บความรู้เสร็จภารกิจจะได้มีเวลาอ่านบันทึกเยอะๆค่ะ

 ดร. พจนา แย้มนัยนา ขอบคุณค่ะ มีความสุขที่ได้ทำงานอิสระ และมีความเป็นตัวของตัวมากขึ้น ทั้ง

ได้ใช้ความคิดสร้างกิจกรรมให้ตัวเองได้มีกิจกรรมในวิถีธรรมค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

 จัตุเศรษฐธรรม

เป็นงาน บวก บุญ

บุญบวกงาน ค่ะ

ได้ถือโอกาสฝึกจิตฝึกลมหายใจตัวเองไปด้วยค่ะ

ทุกบันทึกที่ได้อ่าน ทำให้พี่รับรู้จิตใจงดงามของครูต้อย  รู้ว่าคนขยันอย่างครูต้อยไม่ีเคยนิ่งเฉยที่จะช่วยเหลือ

ขอบคุณค่ะ

อนุโมทนาและขอแสดงความชื่นชมความดีงามด้วยค่ะ จากบันทึกนี้ทำให้กุหลาบมีความประทับใจมาก จึงตามไปดู (scan) ยังไม่ได้อ่าน พบว่ามีบันทึกที่น่าอ่านอีกมากมายของคุณครู กุหลาบจะเข้ามาอ่านและหาความรู้จากที่นี่อีกค่ะ

 

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านด้วยจิตคารวะ ขอให้มีสุขภาพกายใจที่เบิกบาน ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บกันนะคะ

 คณิน อุดมความสุข ขอบคุณค่ะ 
ขอบคุณค่ะน้องดร. โอ๋-อโณ 

ขอบคุณค่ะพี่คุณนุ๊ย  nui ที่สุดที่สุดของคนใจดีคือคุณพี่นะคะ น้องๆOPD แอบฝากมาว่าอาจารย์ nui ใจดีที่สุดเลย

อีกทั้งห้ามครูต้อยเรียนให้ทราบด้วย เอ๊ะ! ยังไง เด็กๆยุคนี้ ชื่นชอบก็ไม่ยอมบอกกันนะคะ แต่ครูต้อยแอบบอกแล้วนะคะ อิอิ

 
 แอบย่องไปอ่านบันทึกอยู่นะคะ เพราะชื่นชอบแนวทางการทำงาน และการสอนค่ะ  ชยพร แอคะรัจน์
ขอบคุณค่ะ ยายธี รู้ไหมว่าหันหลังแบบนี้ ครูต้อยตัองตัดใจความอยากเจอตัวจริงสักครั้งลงวันละกี่ครั้ง
 ดร.จูล ขอบคุณค่ะ  
น้อง 
กุหลาบ มัทนา
 ขอบคุณค่ะ เชิญตามสะดวกนะคะ
 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท