597. ศาสตร์แห่งการ "เหลือบตามอง"


 เมื่อวันก่อนไปดูหนังเรื่อง Jobs อัจฉริยะเปลี่ยนโลกมาครับ จริงแล้วก็อ่านประวัติสตีฟ จ๊อบมาเยอะ แถมเป็นสาวก Apple มาตั้งแต่เรียนอยู่อเมริกา ตามเรื่อง jobs มาตลอด แต่ก็อดไม่ได้ที่จะไปดู เมื่อไปดูก็เหมือนไปเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม  ก็สนุกดีครับ เหมือนๆ กับที่เขียนไว้ในชีวประวัติ แต่ก็มีอะไรให้เห็น โดยเฉพาะความรวดเร็ว สัญชาตญาณ เป็นอะไรที่สุดยอดมาก

                       

ตอนที่โดนใจผมมากคือตอนที่ครั้งหนึ่งสตีฟ ไปหาเพื่อนคือว๊อซเนี๊ยก เพื่อนยากที่บ้าน เพื่อเอาตังค์ที่ได้จากการช่วยเขียนเกมส์ให้อะตาริ ไปให้ บังเอิญจ๊อฟ “เหลือบตามอง” เห็นแผ่นวงจร พร้อมคีย์บอร์ด และจอทีวี ตั้งบนโต๊ะ ดูขยุกขยุยมาก สตีฟรีบเข้าไปดูแล้วถามว๊อซเนี๊ยกเพื่อนรักว่ามันคืออะไร ว๊อซเนี๊ยก บอกว่า “ไม่มีอะไร ผมทำอะไรเล่นๆ เท่านั้น นี่ก็เป็นแผงวงจร ที่ต่อเข้ากับคีย์บอร์ด และจอทีวี ทำให้มันป้อนข้อมูลได้ แสดงผลได้ เท่านั้น ไม่มีอะไรมากมาย”... สตีฟ รีบบอกว่า “เพื่อน นี่มันเปลี่ยนโลกได้เลยนะ  นี่เป็นอะไรที่คนยังไม่เคยทำกันมาก่อน” 

นี่ไงครับ วินาทีนั้นสตีฟเห็นแสงสว่าง แล้วรีบพาว๊อซเนี๊ยก ไปนำเสนอผลงานที่โฮมบรู (ชมรมในมหาวิทยาลัยแสนฟอร์ด ที่คนคิดอะไรใหม่ๆ จะมานำเสนอผลงานกัน)  และก็มีคนหนึ่งที่ให้ความสนใจ (คนอื่นเดินหนี)  ... เข้ามาหาสตีฟ เพื่อถามข้อมูล ที่ในที่สุดนำมาสู่การตกลงทำเครื่อง Apple รุ่นแรก 50 เครื่อง  และโลกก็เปลี่ยนไปตลอดกาล 

การ “เหลือบตามอง” ของสตีฟ จ๊อบในห้วงวินาทีนั้นเอง ที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเรื่องราวในเวลาต่อมาไม่ว่าจะเป็น McIntosh, Ipod, Iphone, Ipad....

 

เรื่องนี้ให้แง่คิดของการทำ SWOT ครับ... คุณจะเห็นลีลาการทำ SWOT ที่นอกตำรา และฉีกทุกอย่าง.. เมื่อสตีฟเห็นโอกาส Opportunity และตระหนักว่ามันเป็นโอกาสจริงๆ โอกาสปฏิวัติโลกเลย  ในแง่มุมของการ SWOT จะเห็นการกระทำของเขา แปลงออกมาเป็น SWOT ได้ดังนี้ครับ

 

Strength มีว๊อซเนี๊ยก พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์ ที่เจ๋งมาก ที่รู้เรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับวงจรประหลาด (คอมพิวเตอร์เดสทอป เครื่องแรกของโลก)

Weakness ไม่ทันคิด แต่เออ ไม่มีเงินเลย

Opportunity นี่เป็นสิ่งที่โลกไม่รู้จักมาก่อน แม้กระทั่ง IBM .. โอกาสอีกอย่างคือ มีชมรมพวกเนิร์ด ในมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ที่เหล่าจีเนียส นำผลงานมาโชว์ การไปงานนี้น่าจะทำให้คนรู้จัก และดังแน่จนได้ทุนมาดำเนินงาน  พอไปจริงๆ ก็สำเร็จ ปรากฏว่า มีคนสนใจหนึ่งคนที่ยอมสั่ง Apple 1 รุ่นแรก 50 เครื่อง ...

Threat วินาทีนั้นไม่รู้ ต่อมาตอนขาย 50 เครื่องได้ ก็เริ่มตระหนักว่า การไม่มีเงินแล้วหาเงินมาต่อยอดธุรกิจ เพื่อผลิตรุ่น 2 นี่ยากมากๆ โทรไปหาคนเป็นร้อยก็ไม่มีใครเชื่อ.. แต่ที่สุด..ก็มีคนเชื่ออยู่คนหนึ่ง.. ที่นำทุนภายนอกมาให้ เท่านั้นเองจุดอ่อนและภัยคุกคามหายไป...

                                             

จริงๆ เมื่อดูไปเรื่อยๆ คุณจะเห็นสถานการณ์เปลี่ยนทุกๆ นาที เรียกว่า SWOT เปลี่ยนวันต่อวันครับ.. บางทีก็มาจากการตั้งเป้าหมายของสตีฟเอง ที่กดดันมากๆ เช่นต้องการออกแบบหม้อแปลงให้ไม่มีเสียงดัง ไม่มีพัดลม และบรรจุอยู่ในตัวเครื่อง..แค่นั้นวงแตก Weakness เกิดทันที ที่สุดเขาก็ไปควานหานักออกแบบมือโปร มาที่เรียกค่าตัวสูงมาก แถมให้สัญญาแบบจัดโหดว่า.. ถ้าผมเห็นไม่เข้าท่า ผมไปเลยนะ... แต่ที่สุดวิศวกรติสหลุดโลกคนนั้นก็ทำสำเร็จ

 คุณจะเห็นว่า.. ในความเป็นจริง SWOT ขององค์กรนั้นมันเปลี่ยนนาทีต่อนาที.. แต่เรื่องของสตีฟให้บทเรียนเรื่องหนึ่งคือ ถ้า Opporunity ชัดเจนและคุณมีเป้าหมายชัดเจน ที่จะฉวยโอกาสนั้นให้ได้ ... คุณจะเห็น Strength ชัดเจนทันที และมันจะค่อยๆ ช่วยคุณปรับเปลี่ยน Weakness และ Threat ... เปลี่ยนจากปัจจัยลบเป็นบวกได้ในเวลาไม่นาน

ในมุมของงานด้านพัฒนาองค์กร ตอนนี้เรามีเครื่องมือตัวใหม่ ที่เราเริ่มเอามาแทน SWOT Analysis นั่นคือ SOAR Analysis 

 SOAR ต่อยอดมาจาก Appreciative Inquiry หรือ AI ซึ่งเป็นเครื่องมือการพัฒนาองค์กรเครื่องมือหนึ่งครับ มันคือ การค้นหา Strength Opportunity แล้วเอามาตั้งเป้า หรือแรงบันดาลใจเลย (A = Aspiration) จากนั้นประเมินว่าสิ่งดีๆ ที่คาดว่าจะเกิดคืออะไร (R= Result) 

 ในมุมมองของผมผมว่าสตีฟ จ๊อบ  ทำ SOAR โดยธรรมชาติครับ เพราะเมื่อค้นหาจุดแข็ง ก็คิดเชื่อมโยงโอกาส สร้างแรงบันดาลใจ และกำหนดเป้าหมายไปทันที แม้จะมีจุดอ่อน ภัยคุกคามอะไรก็ไม่สน ฝ่าฟันอย่างเดียว เรียกว่าลุยแบบไม่คิดชีวิต จนจุดอ่อนและภัยคุกคามไม่มีความหมาย

“การเหลือบตา” ของสตีฟ จึงเป็นอะไรที่ไม่ใช่ความปรกติทางชีววิทยาของมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น  หากแต่เป็นปรากฏการณ์ที่แสนสุดพิเศษของมนุษยชาติ ผมอยากให้เรามีวิชาเหลือบตาแบบสตีฟ สอนเป็นจริงเป็นจังในบ้านเราครับ..

 

                         

 

วิชาเหลือบตามอง อาจเป็นอะไรที่พลิกผันมนุษยชาติได้ ถ้ามีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ผมเชื่อเช่นนั้นจริงๆ 

 

วันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณากันดูนะครับ

Reference:

The first picture retreived Sept 15, 2013 from http://www.siampod.com/2013/08/15/jobs-movie-promo-clip-in-thailand/

The second picture retreived Sept 15, 2013 from http://movies.spokedark.tv/2013/02/28/updatestevejobs/

The third picture retreived Sept 15, 2013 from http://despicablewonderfulyou.wordpress.com/2012/12/06/the-steve-jobs-syndrome/steve-jobs-quote2/ 

 

หมายเลขบันทึก: 548381เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณครับ ที่ทำให้เหลือบตามองบ้างแล้ว..

เหลือบตามอง ก็เป็นประโยชน์ได้ ขอบคุณค่ะ

ผมชอบครับอาจารย์ ทำไรคล้ายๆผม อิอิ (เข้าข้างตัวเองเผื่อจะเป็นแบบนั้น) เห็นโอกาศแล้วบ้าที่จะทำ จนคนอื่นว่าบ้า

ขอบคุณ การแนะนำ ภาพยนตร์ที่เป็นแรงบรรดาลใจ ดีดี ค่ะ

- ตั้งใจว่า  จะหาเวลาไปดู  ให้ได้...

Opportunity นี่เป็นสิ่งที่โลกไม่รู้จักมาก่อน แม้กระทั่ง IBM .. โอกาสอีกอย่างคือ มีชมรมพวกเนิร์ด ในมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ที่เหล่าจีเนียส นำผลงานมาโชว์ การไปงานนี้น่าจะทำให้คนรู้จัก และดังแน่จนได้ทุนมาดำเนินงาน  พอไปจริงๆ ก็สำเร็จ ปรากฏว่า มีคนสนใจหนึ่งคนที่ยอมสั่ง Apple 1 รุ่นแรก 50 เครื่อง ...

การมอง opportunity ของ Jobs แม่นยำ และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่น  
โอกาส ต้องเดินออกไปหา 
สำหรับตัวเอง ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ความกลัวถูกปฎิเสธ ทำให้ออกนอกเส้นทางความฝันมาถึง 7 ปีคะ

ส่วนตัวไม่ใช่สาวก apple แต่ชอบงานเขีนยอาจารย์ค่ะ เข้าใจและเห็นภาพชัดเจน ขอบคุณค่ะ

ปกติ สายตาลอกแล่ก อยู่แล้วครับ ได้ทฤษฎี เหลือบตามอง ไปช่วย เสริมได้ดีแน่ครับ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท