นกหัสดีลิงค์ พาหนะ พาไปสู่สวรรค์


เมื่อไม่นานมานี้ จ้อได้มีโอกาส ไปงานพิธี พระราชทานเพลิงศพ พระผู้ใหญ่ที่สำคัญ องค์หนึ่ง ของจังหวัดตาก ได้เห็นเขาจัดสร้างปราสาท เพื่อบรรจุศพ และปราสาทนั้นเทินอยู่บนหลัง ของนกหัสดีลิงค์ ซึ่งเคลื่อนไหวได้  ซึ่งชาวเหนือเชื่อว่าเป็นพาหนะ พาไปสู่สวรรค์ 

จ้อ เลยลองไปค้นคว้าดู เพราะ น่าสนใจมาก

ประเพณีลากปราสาท ล้านนา

.

 "จากพงศาวดารโยนก ตอนหนึ่ง จุลศักราช 940 ปีขาล สัมฤทธิศก เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ.....นางพระญาวิสุทธิเทวี....ต๋นนั่งเมืองนครพิงค์...ถึงสวรรคต พระญาแสนหลวงจึงแต่งการพระศพ....ทำเป๋นวิมานบุษบกตั้งอยู่บนหลัง....นกหัสดินทร์ตั๋วใหญ่....แล้วฉุดลากไปด้วยแฮงจ๊างคชสาร......จาวบ้าน จาวเมืองเดินตวยก้น.....เจาะก๋ำแปงเมืองออกไปตางต่งวัดโลกโมฬี....และทำก๋ารถวายพระเพลิง ณ ตี้นั้น.....เผาตึงฮูปนกหัสฯและวิมานบุษบกนั้นตวย..... "

.

.

ฉันได้อ่านจากตอนหนึ่งของคำกล่าวอ้างอิงถึงพงศาวดารโยนก ทำให้ได้ทราบว่า  เมื่อเจ้านายฝ่ายเหนือ ได้สิ้นชีพิตักษัยลง การจัดประเพณีศพของเจ้านายสมัยนั้น ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่และสมเกียรติด้วยการสร้างบุษบกสวมทับพระโกษตั้งบนหลังนกหัสดินทร์ ฉุดลากด้วยช้าง และให้ชาวบ้านชาวเมืองเดินตามขบวนแห่ไปยังสุสาน ในยุคสมัยผ่านมาพิธีศพนี้ได้นำมาใช้กับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ด้วย

.

.

นกหัสดีลิงค์ เป็นนกใหญ่ตัวโตเท่าช้าง เรียก ชื่อตามเจ้าของภาษาว่า หัตถิลิงคะสะกุโณ เรียกตามภาษาของเราว่า นกหัสดีลิงค์  ตามประวัติศาสตร์ล้านนาที่เล่าขานต่อกันมาว่า นกหัสดีลิงค์เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่มีความพิเศษคือมีเพศเพียงดั่งช้าง เป็นนกที่มีหัวเป็นช้าง มีหางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ ๓-๕ เชือกรวมกัน ซึ่งเป็นสัตว์คู่บารมีของกษัตรา เจ้าเมืองผู้มีอำนาจบารมีสูง

.

.

โดยความเชื่อของชาวล้านนามาแต่อดีตกาล นิยมสร้างปราสาทนกหัสดีลิงค์เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์เจ้านายฝ่ายเหนือ รวมถึงพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มรณภาพลง เพื่อให้พิธีศพมีความสง่างาม สมฐานะบารมี และเป็นการส่งดวงวิญญาณไปสู่ชาติสรวงสวรรค์ชั้นพรหมโลก เทวโลก แต่ในปัจจุบันปราสาทนกหัสดีลิงค์นิยมใช้ในพิธีศพของพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น

.

.

โดยรูปลักษณะของตัวนกหัสดีลิงค์นั้น มีรูปร่างโครงสร้างส่วนหัวและลำตัวทำจากโครงไม้ ตัดแต่งกระดาษเป็นลวดลายทำเป็นเกล็ด ส่วนหัวช้าง มีความพิเศษของการเคลื่อนไหวไปมาได้ โดยชิ้นส่วนคอและหัวต้องเคลื่อนไหวหมุนไปมาได้ ใบหู สามารถพับกระพือได้ ส่วนงวงทำจากผ้าเย็บเป็นทรงกระบอก เลียนแบบงวงช้าง มีเชื้อกร้อยอยู่ด้านในสำหรับดึง เคลื่อนไหวได้ ดวงตา ต้องมีลักษณะกลมมน ขนตายาวสวย กะพริบได้ เหมือนมีชีวิตจริงๆ

.

.

ส่วนหางทำจากเสื่อไม้ไผ่ ตัดเป็นรูปหางหงส์ มีลวดลายสวยงาม โดยส่วนนี้จะติดตั้งคนละส่วนกับลำตัว มีกลไกใช้เชือกชักให้เคลื่อนไหวได้ ด้านหน้ามีขันเล็กๆ บรรจุข้าวตอกไว้ เพื่อโปรย ลักษณะเหมือนช้างใช้งวงโปรยข้าวตอกเพื่อเป็นสิริมงคล

.

 

.

การลากต้องใช้เชือกเส้นโต ๆ หลายเส้นขนานกันไป ถ้าศพเจ้าเมืองหรือพระเถระผู้ใหญ่จะมีคนมาลาก เป็นหมื่น ๆ ทีเดียว ชักลากไปสุสาน


ร่วมแรงรวมพลัง มีความเชื่อที่ว่า หากผู้ใดไป ลากปราสาท จะมีอายุเพิ่มขึ้นยืนยาว ครั้งละ 1 ปี  เส้นทางสู่ป่าช้า สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่   ยอดปราสาท  ฉัตรเบญจา ๕ ชั้น เป็นเครื่องประดับเกียรติยศของพระมหาเถระ ตามสมณศักดิ์ของพระมหาเถระผู้นั้น ตามความเชื่อมาแต่โบราณ  การชักลากช่วงสุดท้าย

.

.

 

รอบปราสาท 4 ทิศ จะมีเสาไม้ไผ่สูงสุดลำ ขึงผ้าสังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) ของพระสงฆ์ผู้มรณภาพ มีความหมายแทนศีลของพระสงฆ์ เรียกว่าจตุปริสุทธศีล เสาต้นที่ ๑ หมายถึง ศีลทั้ง4 ข้อ คือ ปาติโมกข์สังวร  อินทรียสังวร    อาชีวะปริสุทธศีล ปัจจัยสัจนิจศีล หลังการจุดไฟประชุมเพลิงเผาศพปราสาท แล้วศรัทธาญาติโยม รวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาของพระมหาเถระที่มรณภาพจะรอแย่งผ้าเพดานที่ขาดปลิวลงมาถึงพื้นเพื่อเก็บเป็นเครื่องสักการบูชา เป็นวัตถุมงคลไว้ติดตัว 

ขอบคุณ ข้อมูลจาก www.google.com

หมายเลขบันทึก: 547711เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2013 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท