การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_45 : เวที ผอ.+ รองวิชาการ ลลปรร. "มองตนเอง มองครู เรียนรู้จากพี่เลี้ยง"


วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2556  ทีมขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานตอนบน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) การขับเคลื่อน ปศพพ.พศ. (ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา)  บันทึกนี้เขียนต่อจากบันทึกแรก อ่านได้ที่นี่ครับ 

ถอดบทเรียนตนเอง "คิดแบบอ่างน้ำ" 
หลังเบรคเช้า เรากลับมาทำกิจกรรม "มองเพื่อนครู" ด้วยวิธีการคิดเชิงระบบ "คิดแบบอ่างน้ำ"  (ผมเรียนรู้มาจาก อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ อ่านได้ที่นี่ครับ)... แต่ไม่ได้นำ การ "คิดแบบอ่างน้ำ" มาใช้ตรงๆ แต่นำมา "พาคิด" ให้ครูได้ "ฝึกคิดแบบอ่างน้ำ" โดยใช้กิจกรรม "กระดาษ 4 พับ จับจุด" ดังนี้ครับ 


  • พับกระดาษออกเป็น 4 คอลัมน์ 3 แถว แล้วให้ทุกคนคิดและเขียน ตาม "คำถาม" ดังนี้ 
    • เริ่มจากชวนให้ทุกท่านจินตนาการถึง "หน้าของครู" ที่โรงเรียนของตนเองทีละคนๆ  จินตนาการให้เห็นภาพ (กระบวนกรต้องไม่เร่งรีบ ค่อยๆ นำให้ทุกคนจินตนาการเห็นภาพจริงๆ) สังเกตความรู้สึกของตนเองเมื่อเห็นมโนภาพของครูแต่ละคนๆ
    • แล้วให้ครูลองทดลองแบ่งหมวดหมู่ครูออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ครูที่ "ไม่เข้าใจ แต่ไม่ทำ"  "ไม่เข้าใจ แต่ยังช่วยทำ" และ "ทั้งเข้าใจ และลงมือทำ"  แล้วเติมชื่อ (ในกรณีที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใส่เป็นสัญลักษณ์ รหัส หรือตัวย่อได้) ยองครูแต่ละประเภทลงในแต่ละแถว ในคอลัมน์ที่ 2 ดังรูปด้านบน
    • คอลัมน์ที่ 3 ให้เติมพฤติกรรมของครูในแต่ละแถว 
    • กลับมา คอลัมน์ที่ 1 ให้เขียนถึง สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ครูในคอลัมน์ที่ 2 มีพฤติกรรมตามคอลัมน์ที่ 3
    • (เช่นเดิมครับ) คอลัมน์ที่ 4 เป็นหน้าที่ของเพื่อนๆ กัลยาณมิตร  โดยยึ่นไปข้างๆ รอบๆ ให้เพื่อนคิดและเขียน ถึง แนวทางการ "ดำเนินการ" เพื่อให้ดีขึ้น สิ่งที่ดีอยู่แล้วก็ให้ดีขึ้นยิ่งไปอีก 
  • ความจริง "กระดาษสี่พับ จับจุด" มีเป้าประสงค์สำคัญคือ ช่วยกันสำรวจว่า ใครคือครูแกนนำ (เข้าใจ และทำ) ใครคือครูกลุ่มเป้าหมายที่ต้องขยายผล (ไม่เข้าใจแต่ช่วยทำ) และใครคือครูที่ไม่เข้าใจและไม่ทำ (ถ้าเข้าใจจริงต้องทำแน่ ที่ไม่ทำเพราะไม่เข้าใจ) กลุ่มสุดท้ายยิ่งต้องหาวิธีการจำเพาะ ไม่ควรทอดทิ้ง.....แต่กลับต้องใช้ความจริงใจและให้โอกาส 
 
  • เราพับเก็บ "กระดาษ 4 พับ" ไว้ชั่วคราว แล้วทำกิจกรรม "ผู้นำสี่ทิศ" หรือ "สัตว์สี่ทิศ" อ่านรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมที่นี่ครับ 
  • ภาคบ่าย เน้นการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" และ "ปรึกษาหารือ" ระหว่างโรงเรียน "พี่เลี้ยง" และโรงเรียนในความดูแลของพี่เลี้ยง  โดยการแบ่งกลุ่มแยกโรงเรียน ศรร.ปศพพ. คือ "พี่เลี้ยงแยกกัน"  และมุ่งให้ได้แลกเปลี่ยน แบ่งปัน กันกับโรงเรียนในเครือข่ายของตนเอง 
 
 
 
 
 
  • BAR ของกิจกรรม ลปรร. กลุ่มตอนบ่ายนี้ ที่สำคัญคือ นำสิ่งที่ได้ทำดำเนินมาตั้งแต่ตอนภาคเช้า 3 อย่างมา เป็นเครื่องมือในการคิดพิจารณาร่วมกัน อันได้แก่ รูปแบบการขับเคลื่อนของโรงเรียนที่เตรียมมาจากบ้าน การสำรวจ "สต็อก" ครูว่า ที่มีอยู่เป็นลักษณะใดกลุ่มใดใครบ้าง และการพิจารณาคุณลักษณะนิสัยของทั้งตนเองและของโครงด้วยกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ.... แต่เท่าที่ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการแลกเปลี่ยน กิจกรรมสัตว์สี่ทิศยังไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาคิดร่วมด้วย อาจเป็นเพราะตอนภาคเช้าเร่งกิจกรรม "แน่นเกิน"  แต่ที่ดีมากๆ คือ การแลกเปลี่ยนกันอย่างไรไร้รูปแบบ ภาษาพื้นถิ่นเราเรียกว่า "โสเหล่" เอาสิ่งที่ทำแล้วเป็นปัญหามาว่ากันจริงๆ ...สำหรับกระบวนกรแล้ว นั่นคือสิ่งที่ดีครับ 
  • ผมสังเกตว่า มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันมาก  คือเราชอบและมักคุยกัน "ปากเปล่า" เราชอบสนทนาเล่าเรื่อง แต่เราไม่ค่อย "เขียนเรื่อง" ให้คนอ่าน ... ความจริงคือเรายังไม่ชอบอ่าน....สิ่งนี้ไม่ใช่งานเล็ก เป็นงานปฏิรูปประเทศทีเดียวครับ....ทำให้เด็กไทยรักการอ่าน ..
(มีต่อบันทึกต่อไปครับ)
หมายเลขบันทึก: 547182เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2013 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท