ไข่มดแดง


                                                     ไข่มดแดง
                                         นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

    

 

 

 

ไข่มดแดง คุณค่าทางอาหารของไข่มดแดงตามตัวเลขของกรมอนามัยคือ มีโปรตีนสูง 8.2 กรัม/100 กรัมของไข่มด นับว่ามีมากพอสมควร ส่วนไขมันในไข่มดแดงจะน้อยกว่าในไข่ไก่มาก มีเพียง 2.6 กรัมเท่านั้น เทียบกับในไข่ไก่ซึ่งมีมากถึง 11.7 กรัม แคลอรีจากไข่มดแดงจึงน้อยกว่าไข่ไก่
ประโยชน์ของไข่มดแดง
1.ใช้เป็นอาหาร ได้จากไข่ และตัวมดแดง มดแดงมีกรดน้ำส้ม ให้รสเปรี้ยว มีคุณสมบัติเป็นกรด ใช้แทนมะนาวหรือน้ำส้มสายชู ให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม รายการอาหารที่ได้จากมดแดงและไข่มดแดง ได้แก่ ยำไข่มดแดง ก้อยไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มด แดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ทอดไข่ยัดไส้ เป็นต้น
2.ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค
2.1 ใช้สูดดม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย โดยนำมดแดงมาขยำแล้วสูดดม
2.2 แก้ท้องร่วง เอาเนื้อไก่พื้นบ้านแหย่เข้าไปในรังมดแดง เมื่อมดแดงกัดเนื้อไก่ได้ปริมาณมากดึงออกมาแล้วใช้มือขยำ นำไปย่างไฟให้สุก กินขณะที่ยังร้อน อาการท้องร่วงจะบรรเทาและหายไป
2.3 แก้ท้องผูก นำมดแดงมาต้ม ใส่น้ำสะอาด 1-2 ถ้วย พอเดือดยกลง แต่งรสโดยใช้เกลือพอเหมาะ กรองด้วยผ้าขาวบาง ดื่มทันที

2.4 ใช้ลบรอยไฝหรือขี้แมลงวัน โดยจับเอาตัวมดแดงกัดตรงเม็ดไฝ ให้มันฉี่ใส่ ถ้าไฝเม็ดโตให้กัดหลายตัวพร้อมกัน ด้วยฤทธิ์ของน้ำกรด ไฝจะบวมและเปื่อย ละลายเอาสีดำไหลออกมา เมื่อแผลหายจะไม่ปรากฏเม็ดไฝอีก มีเพียงรอยแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น
2.5 ใช้แก้โรควูบ นำรังมดแดงร้างที่เกิดจากต้นคูนมาใส่หม้อนึ่ง ต้มให้เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะอังกับไอน้ำเดือด สูดเอาไอร้อน ทำประจำ ที่เป็นโรควูบจะอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

3.ใช้กำจัดศัตรูพืช ต้นผลไม้ต่างๆ พืชผัก เช่น บวบ ถั่วฝักยาว แตงร้าน หากมีมดแดงอาศัยอยู่จะปราศจากหนอน แมลง เพลี้ย รบกวน เพราะมดแดงจะจัดการนำไปเป็นอาหารจนหมดสิ้น ต้นมะม่วงที่มีปัญหาเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้งในต้นมะขาม หากนำมดแดงไปเลี้ยงเอาไว้จะหมดปัญหา ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการกำจัดศัตรูพืชและปลอดสารพิษด้วย
4.ให้ความเพลิดเพลิน ผู้ที่เลี้ยงมดแดงจะมีความเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด มดแดงจะช่วยให้ผ่อนคลายจากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การดำรงชีวิตของมัน ซึ่งผู้ที่เลี้ยงมดแดงทุกคนจะสัมผัสได้
ไข่มดแดงบรรจุกระป๋อง
เก็บรักษาได้นานเป็นปี พร้อมรับประทานได้ทุกเวลาที่ต้องการ สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆได้ง่ายๆ เหมาะสำหรับคนรักท้องถิ่นที่อยู่แดนไกลหรือใช้เป็นของฝากที่ไม่เหมือนใครถูกใจคนบ้านเฮา
ไข่มดแดง จัดอยู่ในประเภทอาหารตามฤดูกาล ไม่มีให้กินตลอดปี ชาวบ้านจะเริ่มออกหาแหย่รังมดแดงตามต้นไม้หัวไร่ปลายนา เริ่มประมาณช่วงเดือนธันวาคมหลังจากเสร็จงานไร่งานนา ช่วงนี้มักจะได้ไข่ลูกเล็กๆ ที่เรียกว่าไข่ผาก เข้าเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเมษายน จึงจะได้ไข่ขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งนางพญามดมดมีปีก ที่ชาวบ้านเรียก แม่เป้งจะพบอยู่ในรังด้วย ชาวบ้านจะนำมากินหมดทั้งไข่ผาก ไข่ใหญ่ แม่เป้ง ไม่เว้นแม่แต่ตัวมดแดง เพราะมดแดงมีรสเปรี้ยว จึงนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น ใส่ก้อยปลา ใส่เมี่ยงอีสาน ฯลฯ
ไข่มดแดงสามารถนำไปประกอบอาหารได้สารพัดอย่าง เช่น ใส่ต้มยำ ใส่ไข่ทอด หรือทำ ก้อยไข่มดแดง

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 546809เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัีสดีครับ..

-เพิ่งทราบว่ามีไข่มดแดงประป๋องด้วย..

-น่าสนใจมาก ๆครับ

-บ้านผมนำไข่มดแดงต้มแล้วไปแช่ตู้่เย็น..

-เก็บได้ไม่นาน...น่ะครับ

-เป็นผลิตภัณฑ์จากที่ไหนครับ??

-ขอบคุณครับ

 

เอาไข่มดแดงสด ๆ ไม่อัดกระป๋อง มาฝากคุณหมอแดงจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท