การกระทำการเตะถ่วงของเสียงข้างน้อย


       การเตะถ่วงของเสียงข้างน้อย (Filibuster)
      การขัดขวางการผ่านญัตติหรือมติในสภาเป็นวิธีการอันเก่าแก่สำหรับสมาชิกรัฐสภาที่เป็นคนส่วนน้อยและไม่มีเสียงพอสำหรับการสนับสนุนหรือผ่านญัตติอย่างที่คนจำนวนมากเห็นชอบได้
      โดยที่สมาชิกรัฐสภาต้องพูดจนกระทั่งเลยวันสุดท้ายสำหรับการพิจารณาข้อบังคับที่คนข้างมากเห็นว่าควรผ่านได้เป็นกฎหมายได้
บุคคลหรือสมาชิกรัฐสภาที่เป็นเสียงข้างน้อยจะต้องไม่นั่ง ไม่ทำอะไร ไม่เข้าห้องน้ำ ไม่กินและไม่ดื่มตลอดการอภิปราย แต่สมาชิกคนนั้นจะต้องพูดหรืออภิปรายเกี่ยวกับประเด็นที่ให้ไว้เท่านั้น แต่ถ้าหากว่าสมาชิกคนนั้นไม่ตามกฎที่ให้ไว้ สมาชิกคนอื่นอาจขอให้มีการคัดค้านในประเด็นที่ให้ไว้ได้ หลังจากที่มีการอภิปรายจนเสร็จ รัฐสภาอาจให้มีการโหวตในประเด็นดังกล่าว หากสำเร็จ สมาชิกเสียงข้างนั้นต้องหยุดพูดหรืออภิปรายต่อ
       Filibuster คือ กลยุทธ์ในการเตะถ่วงในชั้นอภิปรายพิจารณากฎหมาย เพื่อขวางไม่ให้เข้าสู่กระบวนการลงมติโดยใช้วิธีการต่างๆ โดยมากจะใช้การอภิปรายมาราธอน พูดไปเรื่อย ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับประเด็นอภิปราย เรียกว่าใช้การพูดฆ่าเวลาเพื่อฆ่ากฎหมาย เช่นการพูดหรืออภิปรายจะเริ่มตั้งแต่ความเห็นสำหรับตนที่จะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่จะออก แล้วอาจเลยไปที่การทำอาหาร หรือวัฒนธรรมความเป็นอยู่ แต่ถึงแม้ว่าจะออกนอกเรื่อง แต่ทุกเรื่องต้องเกี่ยวพันกับเรื่องที่จะเสนอให้สภาพิจารณาว่าที่ตนไม่เห็นชอบ เป็นเพราะเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องเหล่านี้
      ประวัติการการเตะถ่วงของเสียงข้างน้อย
      เมื่อปี 1935 Mr. Huey Long ทำ Filibuster โดยเอาหนังสือ Shakespear คัมภีร์ไบเบิล สมุดโทรศัพท์ รวมไปถึงสูตรทำอาหารมาอ่าน รวมเวลาทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง
      ส่วนสถิติ Filibuster ยาวนานที่สุด เป็นของ Mr.Strom Thurmond ที่อภิปรายเตะถ่วง Civil Rights Act ในปี 1957 โดยใช้เวลา 24 ชั่วโมง 18 นาที ว่ากันว่า Mr.Thurmond ต้องเข้าห้องอบไอน้ำ เพื่อ dehydrate ตัวเองก่อนทำ Filibuster เพื่อให้ตัวเองสามารถพูดไปดื่มไป โดยไม่ต้องเข้าห้องน้ำ
      กระบวนการทำ Filibuster ที่กินเวลายาวนานที่สุดเป็นของกลุ่มผู้คัดค้าน Civil Rights Act อีกฉบับหนึ่ง ที่ผลัดกันพูดถ่วงเวลาในปี 1964 จนทำให้กฎหมายล่าช้าออกไปถึง 87 วัน
     เมื่อปี 1992 Mr.Alfonse D"Amato แอบมีแก่ใจร้องเพลง Deep in the Heart of Dixie ในห้องประชุมตอนตีห้า ขณะทำ Filibuster
      แก่นของ Filibuster คือการเคารพความเห็นของเสียงส่วนน้อย เพื่อไม่ให้เกิดสภาพพวกลากมากไปในสภา ที่เสียงส่วนใหญ่ชนะทุกเรื่อง โดยที่ไม่ต้องใส่ใจเคารพความเห็นเสียงส่วนน้อยเลย
      การทำ Filibuster ทำให้สมาชิกวุฒิสภาเสียงข้างน้อย แม้เพียงเสียงเดียว สามารถขัดขวางกระบวน การออกกฎหมายหรือให้การรับรองผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญได้ การมี Filibuster เป็นคำขู่ที่น่าเชื่อถือ (credible threat) ของฝ่ายเสียงข้างน้อย ทำให้ฝ่ายเสียงข้างมากต้องประนีประนอมกับฝ่ายเสียงข้างน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Filibuster ไม่ใช่ทำอะไรก็ได้โดยไม่เห็นหัวฝ่ายเสียงข้างน้อยเอาเสียเลย ไม่ใช่สอดไส้เสนอกฎหมายอะไรเข้าสภา หรือเอะอะไม่พอใจก็ยกมือขอปิดอภิปราย รวบรัดให้ลงคะแนน ซึ่งสุดท้ายตนก็ชนะทุกทีไป
      วัฒนธรรมทางการเมืองที่ดูแปลกประหลาดอย่าง Filibuster กลับเป็นเครื่องมือที่บังคับให้นักการเมืองทั้งสองฝ่ายต้องทำงาน "ร่วม" กัน ไม่สามารถหักหาญอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ต้องเห็นหัว แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการประนีประนอม แม้ฝ่ายตนจะมีเสียงข้างมากก็ตาม
      ระบอบประชาธิปไตยมิใช่ระบอบของเสียงข้างมาก หากคือระบอบที่เสียงทุกเสียงควรได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน การเคารพคุณค่าของเสียงข้างน้อยสำคัญไม่แพ้การยอมรับในคำตัดสินของเสียงข้างมาก
      นี่เป็นตัวอย่างของสังคมอเมริกัน แต่สังคมไทยกลับแตกต่างอย่างอเมริกาอย่างตรงกันข้าม
      นักออกแบบรัฐธรรมนูญของไทยจำนวนหนึ่งใฝ่ฝันอยากเห็นระบบพรรคการเมืองสองพรรค ทั้งที่หลงลืมไปว่า ในประเทศตะวันตกที่เราชอบอ้างเขาหนักหนานั้น พรรคการเมืองมีสองพรรคใหญ่จากพัฒนาการที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่จากอคติของกฎหมายที่บั่นทอนพรรคเล็ก และทั้งสองพรรคก็มีความแตกต่างทางอุดมการณ์อย่างค่อนข้างชัดเจน จนยากที่คนพรรคหนึ่งจะย้ายไปอีกพรรคหนึ่งได้ โดยง่าย (ถ้าไม่เป็นเสรีนิยมกะเป็นอนุรักษ์นิยม)
       ทั้งที่หลงลืมไปว่า ในประเทศที่มีพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ ก็ยังเต็มไปด้วยพรรคเล็กพรรคน้อยจำนวนมากมาย (เช่นพรรคชาติไทยพัฒนา พรรครักประเทศไทย ฯลฯ) ที่มีกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งกินความมากไปกว่าเพียงการแข่งกันเพื่อชนะเลือกตั้ง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้สมัครเลือกตั้งลงสมัครอิสระ โดยไม่สังกัดพรรคได้ด้วย
       ทั้งที่หลงลืมไปว่า แม้ ส.ส.ที่สังกัดพรรคก็มีอิสระที่จะแสดงความเห็นและลงคะแนนตาม อุดมการณ์ความเชื่อของตน โดยไม่มีมติพรรคมาครอบงำเจตจำนงเสรี (แต่ความจริงไม่ใช่ สมาชิกรัฐสภาต้องฟังและทำตามมติพรรค ซึ่งมติพรรคย่อมมาจากหัวหน้าของพรรคในขณะนั้น)
       หากกติกาทางการเมืองขีดเส้นให้เกิดระบบพรรคใหญ่สองพรรคแต่พรรคการเมืองทั้งสองหาได้มีความแตกต่างเชิงอุดมการณ์แต่สมาชิกภายในพรรคไร้ซึ่งความเป็นอิสระ แต่อำนาจในพรรคถูกผูกขาดโดยผู้นำสูงสุดเพียงเท่านั้น แต่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่อยากสังกัดพรรคดำเนินการทางการเมืองได้อย่างอิสระ
       แต่ขาดระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เข้มแข็งและจริงจัง แต่รัฐมักบั่นทอนความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน (วัันไหนผมค่อยเขียนเืรื่องภาคประชาสังคมในบันทึก) ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ภาพฝันของการเมืองในอุดมคติจักเกิดขึ้นในโลกแห่งความจริง มิหนำซ้ำ การณ์อาจเลวร้ายลงกว่าเดิม
     ระบบสองพรรค เช่นถ้าไม่ใช่เพื่อไทยก็ต้องประชาธิปัตย์ แวดล้อมอยู่ด้วยพรรคเล็กๆหลายพรรค ภายใต้เงื่อนไขอัปลักษณ์เช่นนี้ อาจกลายร่างเป็นปิศาจร้ายที่ทำลายประชาธิปไตยได้ไม่ยาก อาจก่อให้เกิดทรราชของเสียงข้าง (Tyranny of majority)มากขึ้นกว่าเดิมก็ได้
     แม้เรื่องเสียงข้างน้อยนี้ก็เคยเกิดในสมัยพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งในบุคคลหลายกลุ่มที่แสวงหาความหลุดพ้น (ศาสนาเชนก็เป็นส่วนหนึ่งของในการแสวงหานี้) หากท่านลองคิดดูว่าถ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสังคมในสังคม เพราะในยุคนั้นมีแต่คนที่นับถือศาสนาพราหมณ์หรือไม่ก็ฮินดูกันทั้งสิ้น (ยกเว้นศาสนาพุทธและเชน) คนส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่แต่การบูชายัญ และไม่ก็เพลิดเพลินอยู่แต่ในฌานหรือสมาธิ ลองคิดดูว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงสามารถประกาศพระศาสนาได้ในยุคที่คนยังวนเวียนอยู่แต่ในศาสนาพราหมณ์ พระพุทธเจ้าอาจโชคดีที่คนในยุคโน้นต่างพากันแสวงหาความหลุดพ้นด้วยกัน ใครมีอาจารย์ดีก็มักจะมีการบอกต่อการประกาศศาสนาพุทธจึงมีขึ้นได้ โดยนัยนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเสียงข้างน้อยนี้มีคุณประโยชน์ แม้ว่าจะเป็นเสียงแค่เพียงเสียงหนึ่งก็ตาม
     หากถามว่าว่าการเตะถ่วงของเสียงข้างน้อยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการทำอารยะขัดขืน (โปรดดูเรื่องนี้ในบันทึกของผม http://www.gotoknow.org/posts/539101, http://www.gotoknow.org/posts/539226, http://www.gotoknow.org/posts/539341, ฯลฯ)หรือการประท้วงการเดินขบวนโดยสงบ (โปรดดูเรื่องนี้ในบันทึกของผม http://www.gotoknow.org/posts/544485, http://www.gotoknow.org/posts/544821, http://www.gotoknow.org/posts/544986, ฯลฯ )ใช่หรือไม่ ผมว่ามันจะเป็นอันเดียวกัน เพียงแต่การเตะถ่วงใช้ในรัฐสภาเท่านั้น แต่การทำอารยะขัดขืนและการประท้วงโดยสงบนั้นเป็นการเมืองในท้องถนนเท่านั้น

หนังสืออ้างอิง
ปกป้อง จันวิทย์. Filibuster.
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q2/article2005june16p3.htm
Sen. David. The rules of the filibuster game. http://blog.chron.com/texaspolitics/2013/06/the-rules-of-the-filibuster-game/

 

หมายเลขบันทึก: 546171เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เสียงข้างน้อยที่บริสุทธ์ มีเหตุผลน่าจะได้รับการยอมรับ

เสียงข้างน้อยมีทั้งเสียงที่บริสุทธิ์ มีหลักการและเหตุผลที่ดี น่าเคารพ และมีเสียงข้างน้อยที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม อคติ กล่าวหาไม่อิงข้อเท็จจริง ขาดเหตุผล หยาบคายกักขละ   เสียงข้างน้อยสองแบบนี้คงได้รับการยอมรับฟังต่างกัน และไม่ควรได้รับเหมือนกัน

ขอบคุณมากครับที่อ่านและให้คำวิจารณ์

ขอบคุณที่มาอธิบายข้อเท็จจริงทางวิชาการ  อยากให้คนรู็จักเรื่องนี้เยอะๆ ค่ะ

พี่เคยได้ยินคำ  Filibuster มาบ้าง  ได้เห็นจริงในการประชุมคราวนี้ (ยังแอบนั่งยิ้ม แต่แฝงด้วยความเศร้าลึกๆ)

นักการเมืองฉ้อฉล กับ นักวิชาการแปร่งๆ พยายามโน้มน้าวให้คนทั่วไปคิดว่า ประชาธิปไตยคือเสียงข้างมาก คือ การเลือกตั้งที่ได้คนมานั่งยกมือในสภามากๆ และสามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะนำประเทศไปทางไหน  โดยไม่ต้องฟังเสียงทัดทานจากเสียงข้างน้อย 

ความพยายามอธิบายที่มาของสว.คัดสรร (จากหลากหลายสาขาอาชีพ) ว่าไม่ยึดโยงประชาชน ฟังเผินๆ เหมือนดี  แต่เป็นความพยายามที่มีจุดมุ่งหมายแอบแฝง

พรรคการเมืองเป็นของนายทุนเผด็จการที่ยึดประโยชน์ตนเองและครอบครัว สส.คุณภาพต่ำ  กลไกตรวจสอบถูกซื้อ กฎหมายถูกแก้ให้เอื้อประโยชน์  ประชาชนถูกมอมเมาด้วยประชานิยม ตามไม่ทันเล่ห์นักการเมือง  

สุดท้ายเราจะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลานนอกจากหนี้สินล้นพ้นตัว 

  

ขอบคุณมากครับเกี่ยวกับความคิดเห็น นี่ถ้าผมเก่งเศรษฐศาสตร์กว่านี้อาจช่วยเขียนบันทึกในเชิงเศรษฐศาสตร์ไ้ด้บ้าง อาจช่วยวิเคราะห์ว่าการกู้หนี้ถึง 2 ล้านล้านมาจะเกิดผลอย่างไรกับชีวิตลูกหลานเราบ้างครับ

อ.ต้นช่วยค้นมาเล่าสักนิดได้มั๊ยคะว่า เสียงข้างน้อยประเทศไหนบ้างที่ประสบความสำเร็จในการทักท้่วงกฎหมายสำคัญ คือ ทำให้รัฐบาลที่เป็นเสียงข้างมากเปลี่ยนใจ พี่เคยอ่านเจอว่าเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้น แต่จำไมใ่ได้แล้ว

น่าจะเป็นการแต่งตั้งผู้พิพากษาส่วนกลางในสมัยประธานาธิบดีบุช 1 ระบบการเมืองของสหรัฐอเมริกาถูกออกแบบให้มีการคานและดุลอำนาจ (checks and balances) ระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้งสามฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) และฝ่ายตุลาการอย่างโดดเด่น ขึงขัง และมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเช่น การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลส่วนกลาง ประธานาธิบดีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารเป็น ผู้แต่งตั้ง โดยเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาลงมติให้การรับรอง หากไม่ผ่าน ว่าที่ผู้พิพากษาที่ได้รับการเสนอชื่อก็จะไม่ได้รับการแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลส่วนกลางมีวาระดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต ซึ่งยาวนานกว่าวาระของฝ่ายบริหารและรัฐสภา และการถอดถอนผู้พิพากษา จะกระทำโดยรัฐสภา มิใช่ฝ่ายบริหาร ระบบเช่นนี้เอื้ออำนวยให้ผู้พิพากษาสามารถทำหน้าที่ได้ อย่างอิสระ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตอบแทนทางการเมือง
เรื่องราวของหนังยาวเรื่องนี้มีอยู่ว่า ในช่วงปลายสมัยบุช 1 มีการเสนอชื่อผู้พิพากษาศาลส่วนกลางให้วุฒิสภารับรองจำนวนสูงถึง 218 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้พิพากษาในศาลส่วนกลางระดับเขต (US District Courts) มีจำนวน 46 คน เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนกลาง (US Courts of Appeals) ซึ่งเป็นศาลที่มีความสำคัญสูงสุดเป็นอันดับสอง รองจากศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา (US Supreme Court)
ในขณะนั้น พรรค Democrat คัดค้านผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนกลางจำนวน 10 คน อย่างแข็งขัน ด้วยข้อกล่าวหาว่าคนเหล่านั้นเป็นพวกอนุรักษนิยมสุดขั้ว จนน่ากลัวเกินกว่าที่จะให้อยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต และผลิตคำพิพากษาที่จะเป็น "บรรทัดฐาน" ในการตัดสินคดีในอนาคต
ทีนี้ เมื่อประธานาธิบดีเสนอชื่อเข้าสภา วุฒิสภาต้องลงมติรับรองผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทีละคน ก่อนลงมติก็ต้องมีการอภิปรายกันก่อน ซึ่งการอภิปรายในวุฒิสภานั้น จะให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภาอย่าง เต็มที่ โดยไม่มีการจำกัดเวลาในการอภิปรายของสมาชิก และไม่จำกัดขอบเขตเนื้อหาการอภิปรายของสมาชิกตามกติกานั้น สมาชิกวุฒิสภาจะอภิปรายเรื่องอะไรก็ได้ ใช้เวลานานเท่าใดก็ได้
ทั้งนี้ เนื่องจากวุฒิสภาเป็นองค์กรฝ่ายนิติ บัญญัติที่สำคัญที่สุด 
เมื่อสมาชิกอภิปรายจนพอใจแล้ว หรือมีคะแนนเสียง 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด (60 คน) เสนอปิดอภิปราย กระบวนการอภิปรายก็จะจบสิ้นลง แล้วเข้าสู่กระบวนการลงมติ
คราวนั้นเหล่าสมาชิกวุฒิสภาพรรค Democrat ซึ่งหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อบางคน ได้รับการอนุมัติผ่านรัฐสภา จึงเลือกใช้กลยุทธ์ "Filibuster" หรือการพูดมาราธอน อภิปรายเรื่อยไปไม่ยอมหยุด เพื่อลากยาวไม่ให้มีการลงมติ โดยอาศัยช่องว่างที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ให้สมาชิกวุฒิสภาอภิปรายได้ไม่จำกัดเวลาและหัวข้อ เพราะหากลงมติจริงก็มีแนวโน้มที่จะแพ้สูง เนื่องจาก Republican มีเสียงข้างมากในสภา โดยมี 51 ที่นั่ง
การอภิปรายครั้งประวัติศาสตร์ในสภาเมื่อพฤศจิกายน 2003 สมัยบุช 1 เริ่มต้นตั้งแต่เย็นวันพุธไปจบเอาเช้าวันศุกร์ ถึงกับต้องนำเตียงมาหลับนอนกันในสภาทีเดียว
สงครามการเมืองรอบนั้นจบลงด้วยการต่อรอง จนฝ่ายรัฐบาลต้องยอมถอนชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อบางคนออก ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลส่วนกลางจึงยังว่างอยู่หลายตำแหน่งครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท