ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๗๖. เรียนรู้ mentoring และ coaching


 

โครงการ คศน. เชิญวิทยากรจากบริษัท APM Group มาให้ความรู้แก่เหล่า mentor ทั้งหลายของโครงการ ตอนสายของวันเสาร์ ที่ ๑๓ ก.ค. ๕๖    ผมขอไปฟังด้วย   ทำให้ได้เรียนรู้เรื่อง mentoring, coaching, และ counseling   ในความหมายสมัยใหม่   และในความหมายของการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาคน

ผมได้เรียนรู้ว่า ตัวร่วมของกิจกรรมทั้ง ๓ อย่าง และเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด คือ การตั้งคำถาม (และฟัง) แบบ Transformational Conversation   แต่ทั้ง ๓ ตัวนี้ก็แตกต่างกันชัดเจน โดยมีส่วนที่ทับซ้อนกัน   ดังรูป

 

 


 

รูปนี้ผมเอามาจากวิทยากร โดยปรับเล็กน้อย    ส่วนที่ทับซ้อนกันทั้ง ๓ กิจกรรมคือ การตั้งคำถาม  การฟัง  และการสร้างความสัมพันธ์    เพื่อให้เกิด transformational conversation   แต่ mentoring กับ coaching เน้นเป้าหมายข้างหน้า    ใช้เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นพลังเดินทางร่วมกันระหว่าง mentor – mentee และระหว่าง coacher – coachee   แต่ counseling เน้นทำความเข้าใจอดีต และเยียวยาหรือลบบาดแผลในอดีต

mentoring & coaching เพื่อสร้างสรรค์เป้าหมายที่ต้องการบรรลุในอนาคต    counseling เพื่อลบบาดแผลในอดีต

 

บทบาทของ mentor

·        Relationship, emphasizing trust

·        Information, emphasizing advice

·        Facilitation, emphasizing alternatives

·        Confrontation, emphasizing challenge

·        Motivation

·        Mentee vision, emphasizing personal initiative

 

ทักษะการเป็นโค้ช

·        Creating a climate of trust and confidence

·        Listen, look, and learn

·        Measure, assess, and plan

·        Guide a dialogue about performance

·        Educate

·        Delegate for development

·        Reinforcing feedback

·        Corrective feedback

·        Deal with difficult situation

·        Guide the development of an action plan

 

วิทยากรยังให้ความแตกต่างระหว่าง mentoring กับ coaching ไว้ดังนี้

 

Mentoring

Coaching

Relationship oriented

Task oriented

Longer term

Shorter term

Development driven

Performance driven

By design

By default

Indirect involvement with superior

Partnering with superior

 

ผมชอบที่วิทยากรทำความเข้าใจกับผู้ฟังด้วย 2x2 table  ที่แบ่งพื้นที่เป็น 4 quadrant ด้วย เส้นแบ่ง ระหว่าง ask – tell  และ problem – solution  ดังนี้

 


 

 

หมายเหตุ

      วันที่ ๒๙ ก.ค. ๕๖ ผมไปบรรยายที่ มรภ. มหาสารคาม   คุยกันเรื่อง coaching  ผมจึงได้รับแจกเอกสารขนาดนามบัตร เรื่อง 12 Practices to the Coach & Mentor ดังนี้

1.               Creates trust  สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น

2.               Has “big ears, small mouth”  ฟังมาก พูดน้อย

3.               Is non-judgemental  ไม่ใช่ผู้ตัดสิน

4.               Asks questions  ใช้คำถามเพิ่มความชัดเจน

5.               Shows empathy  มีความรู้สึกร่วม เห็นอกเห็นใจ

6.               Is a constructive critic  วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

7.               Challenges  สนับสนุนให้ลองวิธีใหม่ๆ (ผมคิดว่าน่าจะใช้คำว่าท้าทาย)

8.               Makes suggestions or Gives advice  มีการให้ข้อเสนอแนะเท่าที่จำเป็น

9.               Invites talk  กระตุ้นให้มีการพูดคุย

10.         Sustained over time  มีความต่อเนื่องยั่งยืน

11.         Sets and monitors targets  แบ่งเป็นช่วง และวางเป้าหมายชัดเจน นัดหมายการโค้ชครั้งต่อไป

12.         Gives ownership to teacher  ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของความคิดและการกระทำนั้น

ทุกครั้งที่คุณให้ ... คุณนั่นแหละที่จะเป็นผู้ได้เสมอ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ก.ค. ๕๖  ปรับปรุง ๒๙ ก.ค. ๕๖

 

 

  

หมายเลขบันทึก: 546074เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 

.... อ่านแล้วได้ความรู้ ที่ลึกซึ่งมากค่ะ .... จะพยายาม นำไปทำให้เกิดรูปธรรม ค่ะ 

ทำไมคนไทย ไม่กล้าหาญที่จะใช้ปรัชญาชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างธรรมมะขึ้นในหัวใจบ้างล่ะ ใช้แต่ของเก่าโบราณๆ มาหลายชั่วอายุคน

นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นสากลมีให้ลอง ก่อน เชื่อ ตั้ง มากมายล้นโลกแล้วนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท