การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้


    การเรียนการสอนแบบบูรณาการ  เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะในวิชาต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป  เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด  แระสบการณ์  ความสามารถ  และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน  ทำให้ได้รับความรู้  
ความเข้าใจลักษณะองค์รวม

รูปแบบการบูรณาการ
1. การบูรณาการภายในวิชา  เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน
2. บูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ
    2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก  เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชา
อื่น ๆ ในการสอนของตน
    2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไป  วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน
   2.3 การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ  เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน
   2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา  หรือสอนเป็นคณะ  เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  มีการวางแผน  ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด  หรือปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

     1. กำหนดเรื่องที่จะสอน  โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน  เพื่อนำมากำหนดเป็นเรื่องหรือปัญหาหรือความคิดรวบยอดในการสอน
     2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้  โดยการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ  และกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน  สำหรับหัวเรื่องนั้น ๆ เพื่อการวัดและประเมินผล
     3. กำหนดเนื้อหาย่อย  เป็นการกำหนดเนื้อหาหรือหัวเรื่องย่อย ๆ สำหรับการเรียนการสอนให้สนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้      4. วางแผนการสอน  เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ  โดยการเขียนแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับแผนการสอนทั่วไป คือ สาระสำคัญ  จุดประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  การ
วัดและประเมินผล
     5. ปฏิบัติการสอน  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน  รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  ความสอดคล้องสัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ ฯลฯ  โดยมีการบันทึกจุดเด่น  จุดด้อย  ไว้สำหรับการปรับปรุง  หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
    6. การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน  เป็นการนำผลที่ได้บันทึก  รวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอน  มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
        การเขียนแผนภูมิเนื้อหาแบบบูรณาการ   
 

 
ที่มา http://www.geocities.com/jackypoll2/bulanakran.html

หมายเลขบันทึก: 545806เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท