รู้จัก ฯพณฯ ชัชชาติ สิทธิพันธ์


 

ผมได้ยินชื่อ ชัชชาติ สิทธิพันธ์ อยู่บ่อย ก็ไม่ค่อยให้ความสนใจสักเท่าไหร่ แต่วันสองวันมานี้เห็นท่านนั่งรถไฟ หลังจากนั่งรถเมล์ เพื่อศึกษาสภาพจริงด้วยตนเองก็สะดุดใจ และต้องทำความรู้จักท่านสักที  เพราะไม่ค่อยได้ยินชื่อท่านมาก่อน 

 

วันนี้ได้เวลาดีจึงตามหาข้อมูลเกี่ยวกับท่าน  มาทำความรู้จัก  และนำมาฝากท่านทั้งหลายที่สนใจด้วย

 

ผมให้ความสนใจ  ฯพณฯ ชัชชาติ สิทธิพันธ์  ตรงที่ วิธีการที่ติดดิน ศึกษาสภาพจริงด้วยตัวเอง  ที่ไม่ค่อยเห็นนักการเมืองที่ใช้วิธีการง่าย ได้ของจริงมาตัดสินใจได้ทันที เช่น ในกรณีนี้ ท่านไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟ ได้เลย

 

นักการเมืองเท่าที่เห็น เอาแต่พูดว่า ผมยังไม่ได้รับรายงาน  ๆ” แล้วท่านจะรู้ของจริง และตัดสินใจได้เร็วอย่างไร

   

กรณีอย่างนี้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ข้าราชการ  หัวหน้าหน่วยงานทั่วไปได้เห็นวิธีการทำงานระดับรัฐมนตรีที่ถูกใจผม ได้อย่างเห็น ๆ  ถ้าเป็นอย่างนี้กันมาก ๆ ในหมู่นักการเมือง ฝายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ประเทศไทย ก็เจริญก้าวหน้าได้อีกทาง

 

หาเวลาดี ๆ รัฐมนตรี นักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ก็ลองทำตามบ้าง ก็จะได้เห็นอะไรลึก ที่เป็นของจริง  ณ สถานที่จริง เวลาจริง บุคคลตัวจริง โดยไม่ต้องผ่านนายหน้า ที่อาจทำให้เพี้ยนได้เสมอ ฝ่ายค้านก็ทำได้เช่นกัน    

 

หรือหากจะเอาแนวคิดไปใช้ในเรื่องการเมือง การแอบไปดูงาน พบปะเยี่ยมชมฝ่ายที่คิดว่าอยู่ตรงข้ามบ้างว่า เขาคิด เขารู้สึกกันอย่างไรต่อฝ่ายเรา    ซึ่ง กร จาติกาวณิชย์ ก็ได้ทำเป็นตัวอย่างอีกแบบแล้วเช่นกัน  ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับกร      ก็ลองไปทำดูบ้าง  ก็จะได้เพิ่มแนวทาง หรือ ปัญญาใหม่ ๆ อีกด้วย

......................................................

 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
 
 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ชื่อเล่น: ทริป) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัชชาติ เป็นบุตรของ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กับนางจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์[1] มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา คือ

  1. ดร. ปรีชญา สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ - อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พี่น้องฝาแฝด)

ดร.ชัชชาติสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[2] ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้วยทุนอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530[3]

ชัชชาติ สมรสกับนางปิยดา สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานบริษัทการบินไทย  จำกัด (มหาชน) มีบุตรชาย 1 คน[1]

 

การทำงาน[แก้]

ดร.ชัชชาติ เคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจัดการทรัพย์สิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแหล่ง อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด[4]

 

ดร.ชัชชาติในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และ รัฐบาลสมัคร โดยที่ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆ จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์[5] จากนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย[5] แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[6] จาการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด [7] และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[8]

ดร.ชัชชาติ ในฐานะรัฐมนตรีคมนาคม ถือเป็นบุคคลระดับหัวกะทิของรัฐบาลในด้านการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ เขาได้รับการกล่าวถึงในฐานะรัฐมนตรี "ดูโอเศรษฐกิจ" ของรัฐบาล คู่กับ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นโยบายของ ดร. ชัชชาติให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ ซึ่งโครงการในระบบรางสำคัญที่เดินหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาการเป็นรัฐมนตรีของเขา อาทิ รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย,โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

 

คลิ๊กอ่านเพิ่มเติ่ม

    ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วิกิพีเดีย

    'ชัชชาติ'ขึ้นรถเมล์สาย8เช็คปัญหา - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์

    เมื่อนักข่าวเจอ...รมว.ชัชชาติ แอบนั่งรถเมล์คนเดียว - OKNation

    ชัชชาติลุยนั่งรถไฟชั้น 3 ไปสุรินทร์ โพสต์ทูเดย์ ข่าวการเมือง

    "ชัชชาติเล็งปรับปรุงบริการม้าเหล็ก ปัดขึ้นรถเมล์-รถไฟ สร้างภาพ : มติชน ...

    "ชัชชาติ"โพสต์เฟชบุ๊ค นั่งรถไฟไปสุรินทร์ เนชั่นแชนแนลสถานีข่าว 24 ชม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 545766เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จาก 

http://www.oknation.net/blog/darknews/2013/06/28/entry-1

“ที่มานั่งรอรถเมล์ตามนโยบายของตัวเอง เพื่ออยากจะรับรู้ปัญหาของชาวบ้านจริงๆ ว่าระบบขนส่งของ ขสมก. มีปัญหายังไง เพื่อจะได้รู้ว่าถ้าซื้อรถเมล์มาแล้วจะให้บริการประชาชนยังไงให้คุ้มค่าที่สุด ตอนนี้ผมมีรถประจำตำแหน่งจึงไม่รู้ว่าปัญหาจริงๆเป็นอย่างไร”

                                                         ชัชชาติ สิทธิพันธ์

 

ครับ...ปัญหาใด ๆ ในส่วนลึกแล้วก็คือ ความไม่รู้ หรือ อวิชชา ตามภาษาของท่านพุทธทาส  ปัญหาลึก ๆ ทั้งหลายมักมองไม่เห็นด้วยขนตา    มาบัง นี่คือปัญหาของคนทั่วไป

แต่สำหรับนักการเมืองแล้ว ที่ใหญ่กว่าขนตามาก ๆ จะเป็น รถประจำตำแหน่ง ตามที่ ฯพณฯ ท่านพูด  เครื่องบินนั่งฟรี  โรงแรมชั้นดีห้าดาว ก็น่าจะมาช่วยบังตาอีก

อาจเห็นปัญหาตอนที่ยังไม่เข้าสภา พอได้สิ่งของ เงินทองช่วยแก้ปัญหาของตัวเอง จึงถูกบังไปทันที 

ปัญหารถไฟ ส.ส. ต่างจังหวัดน่าจะรู้ดี นับตั้งแต่สถานีหัวลำโพง หาดใหญ่ มีการบุกรุกที่ดินรถไฟมาเนิ่นนาน  แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหน ๆ    ให้ความสนใจ สงสัยกลัวคะแนนเสียงหาย หรือไม่ก็มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝง

ผ่านไปสายใต้แถว ๆ ราชบุรี เห็นมีการขุดดินไปขายใกล้ ๆ ที่ดินรถไฟ สักวันที่ดินทรุด รถไฟจะจมหายลงไปอยู่ใต้ดิน



“ถ้าถามว่าผมนั่งรถเมล์ครั้งสุดท้ายเมื่อไรก็คงเป็นสมัยที่ยังเรียนหนังสือเมื่อ20ปี ที่แล้ว ซึ่งผมก็พบว่ารถเมล์สาย 47 ที่ผมเคยนั่งเรียนพิเศษสมัยที่เรียนเตรียมอุดมฯก็ยังอยู่ ตอนนั้นรถเมล์เป็นสภาพไหนตอนนี้ก็ยังสภาพนั้น"

                                                                   ชัชชาติ สิทธิพันธ์

 

ครับ...ท่านอาจจะยังไม่เคยยนั่งรถไฟแลกคะแนนเสียงที่นิยมทำกันมาทุกพรรค     ชั้น 3 นี่ ขึ้นไปนั่งทุกที นาน ๆ ครั้ง  ตัวรถสกปรก ในรถแออัด ในส้วม ไม่มีน้ำ บางโบกี้ไม่มีประตู ใช้เชื้อกมัดเอา พออ้้นไม่ไหวต้องกลั้นใจ รีบเข้ารีบออก หลายสิบปีก่อนเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น 

รถไฟชั้ัน 2 เดินทางไกลดีัขึ้นมาหน่อย แต่เสียเวลาตลอดกาล อย่างน้อย ก็สามขั่วโมงขึ้นไป สายที่สภาพรถไฟดีที่สุด คือสายเหนือ ด่วนนครพิงค์ แต่ก็เสียเวลาเช่นกัน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท