Timeline สไตล์ อ.ต๋อย


วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ผมคิดเครื่องมือการเขียน Timeline แบบนี้ขึ้นและทดลองใช้เป็นครั้งแรกในวันถัดมา ปรากฎว่าได้ผลดี ได้รับการสะท้อนว่าเข้าใจง่าย เลยอยากบันทึกไว้แลกเปลี่ยนที่นี่ครับ เผื่อมีประโยชน์ต่อไปครับ 

 

 

 

ความ จริงแค่ท่านพิจารณารูป ก็เข้าใจแล้ว คำอธิบายต่อไปนี้อาจทำให้เข้าใจยากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากท่านรูปไม่เข้าใจ อาจลองอ่านดูได้ครับ 

  • ขีดเส้นตามขวางหนึ่งเส้นเรียก "เส้นปัจจุบัน" แทนเวลา "ปัจจุบัน" หน้าเส้นนี้คือ "อดีต" ล่างเส้นนี้ลงไปคือ "อนาคต" 
  • ขีดเส้นตรงแนวดิ่งจากบนลงล่างกลางหน้ากระดาษ วางปลายเส้นเป็นหัวลูกศร  จรดตรง "เส้นปัจจุบัน" พอดี เรียกว่า "เส้นอดีต" จาก"เส้นปัจจุบัน" ไปสู่อนาคตด้วยเส้นที่ลักษณะแตกต่างไป เช่น เส้นประ ดังรูป เรียก "เส้นอนาคต" เส้นดิ่งนี้อาจเรียกว่า "เส้นเวลา"
  • บริเวณด้านซ้ายมือของเส้นแนวดิ่ง เป็นพื้นที่ของ กิจกรรม/โครงการ/ผลลัพธ์ ที่โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ 
    • โดยใช้ลูกศรพุ่งไปหา "เส้นเวลา" และเติมรายละเอียดของเวลาที่เหมาะสมไว้บนเส้นนั้น เช่น บอกเดือนและปี เป็นต้น 
    • ใช้ลูกศรพุ่งออกจาก "เส้นเวลา" เพื่อแสดงผลผลิต/ผลลัพธ์/ความสำเร็จ ที่เกิดขึ้น 
  • พื้นบริเวณขวามือของ "เส้นเวลา" นี้ ใช้สำหรับการ "เติม" จากภายนอก หรือการ "ให้" สู่ภายนอก 
    • ใช้ลูกศรพุ่งเข้าหา "เส้นเวลา" แสดง กิจกรรม/โครงการ ที่ทางโรงเรียนได้เรียนรู้หรือได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก
    • ใช้ ลูกศรพุ่งออกจาก "เส้นเวลา" ไปทางขวามือ สำหรับกิจกรรม/โครงการ ที่ทางโรงเรียนได้ช่วยเหลือ แบ่งปัน ขยายผลไปสู่ชุมชน หรือโรงเรียนอื่นๆ 
  • เขียนกิจกรรม/หรือโครงการต่างๆ  เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินการไว้ บริเวณ "เส้นอนาคต" 
  • ใช้เครื่องหมาย + วางไว้บนเส้น แสดงจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้นณะเวลานั้นๆ เพื่อนำไปเขียนเล่าเรื่องต่อไป
  • ใช้เครื่องหมายกากบาท x ลงบน "เส้นเวลา" เพื่อสื่อสารถึงจุดที่เกิดปัญหาสำคัญขึ้น อาจเขียนปัญหาไว้ในส่วนอื่นๆ ต่อไป

ผมขออนุญาตเสนอตัวอย่าง Timeline ของโรงเรียนชุมชนบ้านดอนหัน หนึ่งในน้องใหม่ที่เข้ามาร่วมโครงการได้เพียง 1 ปีครับ

 

 

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม 

 

 

 

 

Timeline ของโรงเรียนเชียงยืน ควรจะเติมคำสำคัญของการ "เติม" จากภายนอกด้วยจะดีมากครับ 

Timeline ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ครับ

  1. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ว่าชัดว่า โรงเรียนทำอะไร เมื่อไหร่ ไปแล้วบ้าง
  2. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ชัดว่า โรงเรียนมีโครงการที่ "เติม" จากภายนอกเช่น ฝึกอบรม ดูงาน ฯลฯ เรื่ออะไร เมื่อไหร่ จากใคร ส่งใครไปร่วม ได้อะไรมา ฯลฯ
  3. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ว่าชัดว่า มีผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่สำคัญอะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร่
  4. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการวิเคราะห์ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น น่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ ก่อนหน้านั้น
  5. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการสังเคราะห์ว่า ขั้นตอนในการดำเนินการของโรงเรียนเป็นอย่างไร
  6. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการประเมินค่า ว่าสิ่งที่โรงเรียนดำเนินการนั้น ถูกทางหรือไม่ เหมาะสมที่จะศึกษาในรายละเอียดเพื่อนำไปปรับใช้หรือไม่
  7. ผู้ดูๆ แล้ว รู้ชัดว่า โรงเรียนมีแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการต่อไปอย่างไร

 

ท่านลองเอาไปใช้ดูครับ เราจะได้เรียนรู้จากตนเองมากทีเดียว......

 

 

หมายเลขบันทึก: 545609เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 00:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท