โดย นายทองใบ ปัดทำ


สรุปสาระสำคัญในการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๑๕

ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯ  ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖

จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

               ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๑๕ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ โรงแรมเซนทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯ  ที่จัดโดย สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีผู้สนใจร่วมประชุมจำนวนมาก ผู้เขียนได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญที่อยากจะถ่ายทอดให้กับเพื่อนครูและผู้สนใจได้รับรู้ถึงสถานการณ์และความเป็นไปในแวดวงการศึกษา เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางหรือแนวการจัดการเรียนการสอน

                ในการประชุมคราวนี้มีหน่วยงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งระดับชาติและระดับโลกนำผลงานมาเล่าสู่กันฟังในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น UNESCO, OECD หรือแม้กระทั่งงานวิจัยตามแผนยุทธศาสตร์ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้เชิญชวนนักวิจัยทั่วประเทศส่งเข้าร่วมและคัดเลือกนักวิจัยที่มีผลงานดีมานำเสนอตามห้องต่างๆ ซึ่งทาง ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการสภาการศึกษา ได้กล่าวแก่ที่ประชุมว่าเป็นการสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ และตอบสนองนโยบายขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่กล่าวว่า “การศึกษาต้องมาก่อน” และสอดรับกับแนวทางของเอกอัครราชฑูตแห่งประเทศนิวซีแลนด์ที่กล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา การพัฒนาความตระหนักในการเป็นพลโลก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ การเทียบโอนคุณวุฒิให้ทัดเทียมกัน

                อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการ UNESCO ประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่าตั้งแต่มีการประชุมเกี่ยวกับการศึกษาที่จอมเทียนในปี ค.ศ. ๑๙๙๐ ที่ริเริ่มเรื่อง การศึกษาเพื่อปวงชน (Education For All) เป็นต้นมาพบว่าในปี ๒๐๑๐ มีเด็กเข้าเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษามากกว่าร้อยละ ๙๐ แต่ปัญหาคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำ เพราะประเทศไทยยังขาดครูที่มีคุณภาพ ขาดแรงจูงใจ ในการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพเราต้องทำงานกันอย่างหนัก และควรพัฒนาเด็กไทยให้มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                ผู้อำนวยการ OECD วิเคราะห์ว่าการพัฒนาทางการศึกษาต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็น มีการลงทุนทางการศึกษาที่มีความเป็นธรรม พร้อมกับสร้างให้เด็กได้รู้ว่าการศึกษาเป็นหนังสือเดินทางสู่อนาคต มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อร่วมกันสร้างกฎบัตรอาเซียนให้เป็นจริง การศึกษาที่ดีไม่ควรยึดติดที่จำนวนหน่วยกิตในโรงเรียน แต่ควรมองที่ว่า “เขาอุทิศอะไรให้แก่สังคม” บ้าง

                ในส่วนของแนวทางการวิจัย ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วุฒิสภา กล่าวว่าผลงานวิจัยในประเทศเรามีมากมายแต่ไม่ค่อยมีใครนำมาใช้ ควรที่จะนำเอางานวิจัยเก่าๆ มาปรับปรุงและไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤติเรื่องข้าวล้นสต็อกซึ่งบางคนมองว่าเป็นวิกฤติ แต่หากนักวิจัยใช้วิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสนำสิ่งที่เรามีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องในการทำมาหากิน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชาติ และยังเสนอแนะว่านักวิจัยควรที่จะเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักขายด้วยไปด้วยในตัว ในขณะเดียวกันผู้นำประเทศจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นเดียวกัน และทิ้งท้ายว่าเงินแก้ปัญหาทุกอย่างไม่ได้ ต้องแก้ด้วยปัญญา ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ประเทศไทยการเมืองเป็นตัวทำให้การวิจัยด้อยลง

                ทิศทางการวิจัยในอนาคต รัฐจะต้องมีทั้งนโยบาย งบประมาณ และพัฒนาการทางการศึกษา

                สรุปสถานการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้บทสรุปว่าสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการศึกษา ดังนี้

๑.       ด้านประชากร พบว่า

-                   ประชากรในวัยเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีจะลดลงเหลือร้อยละ ๑๔.๔ ในขณะที่ผู้สูงอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป จะเพิ่มเป็นร้อยละ ๒๕.๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ

-                   แนวโน้มประชากรในเขตเมืองจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๓๖.๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

-                   ประเทศไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ๘.๐ ปี ในขณะที่มาเลเซีย อยู่ที่ ๙.๕ ปี

-                   การมีงานทำและการว่างงาน พบว่าประเทศไทยมีผู้มีงานทำร้อยละ ๕๖.๙ มีผู้ว่างงานน้อยคือ ร้อยละ ๐.๗ จากการสำรวจผู้ว่างงานพบว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงานมากที่สุดที่ร้อยละ ๒.๑ หรือ ๑.๔๗ แสนคน

๒.     ด้านคุณภาพชีวิต

-                   UNDP ได้จัดอันดับการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อยู่ลำดับที่ ๑๐๓ จาก ๑๘๗ ประเทศ ต่ำกว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น มาเลเซีย

-                   ด้านความยากจนไทยมีประชากรที่ยากจนมากร้อยละ ๐.๒ และเสี่ยงต่อความยากจนอีกร้อยละ ๙.๙ ซึ่งน้อยกว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน

๓.    ด้านสื่อแลเทคโนโลยี

-                   จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และอินเทอร์ความเร็วสูง มีอัตราค่อน้างน้อย โดยปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีเพียงร้อยละ ๒๑.๒ เทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วมีมากกว่าร้อยละ ๗๐

-                   การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ พบว่าไทยมีการใช้ค่อน้างสูงที่ ๑๑๒ เครื่อง ต่อประชากร ๑๐๐ คน ใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนเวียดนามมีอัตราการใช้อย่างก้าวกระโดดที่ ๑๔๓ เครื่อง ต่อประชากร ๑๐๐ คน

ส่วนทางด้านสภาวการณ์ด้านการศึกษา ได้บทสรุปว่า

๑.     โอกาสทางการศึกษา ในระดับการศึกษาั้นพื้นฐาน ประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียน ๑๐-๑๓ ปี ส่วนประเทศไทยใช้เวลาเรียน ๑๒ ปี

๒.    การศึกษาภาคบังคับประเทศต่างๆ ทั่วโลกร้อยละ ๐ จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการศึกษาภาคบังคับ เช่นเดียวกับประเทศไทย

๓.    อัตราการเ้าเรียน ในระดับก่อนประถมศึกษา ไทยมีอัตราที่ร้อยละ ๑๐๐ ส่วนระดับประถมศึกษามีอัตราการเ้าเรียนสุทธิร้อยละ ๙๐ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ร้อยละ ๙๒ (ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ ๑๐๐ ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ ๖๗ (เป้าหมายร้อยละ ๗๕) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวะ ร้อยละ ๓๖ ระดับอุดมศึกษาร้อยละ ๔ ดีกว่าทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน

๔.    เด็กที่อยู่นอกโรงเรียน สถาบันสถิติแห่งยูเนสโก(UIS) สรุปว่าประเทศไทยมีเด็กที่อยู่นอกโรงเรียนในระดับประถมศึกษา ร้อยละ ๑๐ หรือประมาณ ๖๑๑,๐๐๐ คน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (ประกอบด้วย เด็กที่ออกกลางคัน เด็กที่ไม่เคยเ้าเรียนแต่คาดหวังจะเ้าเรียน และเด็กที่ไม่เคยเ้าเรียนเลย) อินโดนีเซียมี ๒๓๖,๐๐๐ คน เวียดนามมี ๑๒๑,๐๐๐ คนระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ ๙ หรือประมาณ ๒๖,๐๐๐ คนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

๕.    นักศึกษาต่างชาติที่มาเรียนในประเทศไทย จำนวน ๑๙,๐๕๒ คน ส่วนนักศึกษาไทยไปเยนต่างประเทศจำนวน ๒๖,๒๓๓ คน

๖.     ประเทศไทยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเสมอภาคในการเรียน แต่มีแนวโน้มที่หญิงจะเรียนมากกว่าชายในระดับการศึกษาที่สูง

๗.    ภาคเอกชนไทยมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อยมากในทุกระดับการศึกษา

๘.    คุณภาพการศึกษา ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(O-NET/GAT/PAT) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ คะแนนเฉลี่ยทุกวิชาดีึ้น ส่วนความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (GAT) ผลการสอบทุกวิชามีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าครึ่ง

๙.     ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ โครงการ PISA ๒๐๐๙ จำนวน ๖๕ ประเทศ นักเรียนไทยมีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ(OECD)ทุกวิชา

๑๐.การประเมินผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (TIMSS 2011) นักเรียนชั้น ม. ๒ พบว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ๕๐๐ คะแนน (คณิตได้ ๔๒๗ คะแนน วิทย์ ได้ ๔๕๑ คะแนน)

 

๑๑.สถาบันอุดมศึกษานานาชาติ พบว่าปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ ๑๖๙  องโลก อันดับ ๑๕ ในเอเชีย อันดับ ๑ องไทย

คำสำคัญ (Tags): #ประชุมสัมมนา
หมายเลขบันทึก: 545587เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2013 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท